Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36383
Title: | การสื่อสารผ่านกิจกรรมพิเศษของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ |
Other Titles: | Communication through special event of alcohol beverage companies |
Authors: | นัดดาว ชัยรัต |
Advisors: | ปาริชาต สถาปิตานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Parichart.S@chula.ac.th |
Subjects: | เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ -- การประชาสัมพันธ์ เหตุการณ์พิเศษ ทัศนคติ การรู้เท่าทันสื่อ Alcoholic beverages -- Public relations Special events Attitude (Psychology) Media literacy |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษากระบวนการสื่อสารของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านการจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อการประชาสัมพันธ์ และทัศนคติของผู้รับสาร โดยใช้วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ในแนวทางการศึกษาเอกสาร (Content analysis) และการสนทนากลุ่มกับผู้รับสาร (Focus group) ผลการวิจัยพบว่า (1) บริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 4 ตราสินค้าจัดกิจกรรมพิเศษรวมทั้งหมด 96 กิจกรรม โดยตราสินค้าที่จัดกิจกรรมพิเศษมากที่สุดคือ ลีโอ ประเภทของกิจกรรมพิเศษที่มีการจัดมากที่สุดคือ กิจกรรมเดินสายเพื่อแสดงผลงาน (Road show) ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรมพิเศษมากที่สุดคือเดือน ตุลาคม รูปแบบของความต่อเนื่องของการจัดกิจกรรมพิเศษที่พบบ่อยที่สุดคือ แบบจัดต่อเนื่องภายในปี ประเภทเนื้อหาที่ถูกพบมากที่สุดคือ เสน่ห์ทางเพศ วัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมพิเศษที่ถูกพบมากที่สุดคือ เพื่อผลทางการตลาด เครื่องมือสื่อสารที่ใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์กิจกรรมพิเศษที่ใช้มากที่สุดคือ ปฏิทินข่าว (News calendar) นอกจากนั้นยังพบว่ากิจกรรมพิเศษของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประกอบด้วย (ก) การจัดงานใหญ่ ในช่วงเวลาสั้นๆ และจัดเพียงครั้งเดียว โดยเน้นความแปลกใหม่เป็นที่สนใจของประชาชน ใช้เครื่องมือสื่อสารหลายประเภทเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมให้เป็นที่รู้จัก และสามารถช่วงชิงพื้นที่ข่าวในสื่อมวลชนได้มาก เป็นการจัดกิจกรรมเพื่ออาศัยพื้นที่สื่อมวลชนในการประชาสัมพันธ์ (ข) การจัดงานเล็ก แต่จัดบ่อยๆ ต่อเนื่องอย่างมีแบบแผน โดยเน้นเรื่องซ้าๆ ใช้เครื่องมือสื่อสารเพื่อประชาสัมพันธ์ในวงแคบ ไม่เน้นการเป็นข่าวในสื่อมวลชน (2) ในด้านทัศนคติของผู้รับสาร ผลการวิจัยพบว่า เยาวชนกลุ่มดื่มหนัก มีทัศนคติในเชิงบวก ต่อกิจกรรมพิเศษของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษกับบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาก ส่วนเยาวชน กลุ่มดื่มน้อย และไม่ดื่ม มีทัศนคติในเชิงบวก ต่อกิจกรรมพิเศษของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษกับบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์น้อย อย่างไรก็ตามพบว่าเยาวชนยังไม่มีความรู้เท่าทันกิจกรรมพิเศษของบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ |
Other Abstract: | To study the communication process through special event of alcohol beverage companies and the attitude of receivers. Qualitative research was implemented with the research techniques of content analysis and focus group discussion. The research result are as follow: (1) Manufacturer of four brands alcoholic beverages organized 96 activities of special event in 2009. The brand that ran special events at the highest rate was Leo. The most popular special event was Road show. The most popular month for setting special events was October. The special events were continuously organized in a similar theme throughout the year. The sex appeal was the most popular key massage. The most objective of special events reflected as marketing profit. News calendar was the most popular communication tool used to promote the event. Moreover, the research revealed two types of special events. Firstly, a special event that was arranged by a big campaign in a short period. The style and the content were created for public attention by using variety of the communication tools, including making news agenda. Secondly, a package of continuous event, which promote the same theme at non-mass level. (2) The result from the focus group discussion shows that youth’s attitude was divided into 2 groups. The first group, hard drinker had positive attitude toward the special event of the alcohol beverage companies. They were also so much interested in joining the special events. The second group, less drinker and non drinker had positive attitude toward the special event of the alcohol beverage companies. But they joined these special events less than the first group. However, it was found that young people have less literacy for special events of alcoholic beverages. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การประชาสัมพันธ์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36383 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.606 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.606 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
naddao_ch.pdf | 3.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.