Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36386
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย-
dc.contributor.authorธฤษิดา เอี่ยมสุขแสง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-10-26T06:26:42Z-
dc.date.available2013-10-26T06:26:42Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36386-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en_US
dc.description.abstractจากการศึกษาระบบการระงับข้อพิพาททางภาษีโดยปกติของประเทศไทยนั้น จะเห็นว่ายังมีข้อบกพร่องบางประการ เช่น กระบวนการมีความยุ่งยาก ล่าช้า มีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ผู้เสียภาษีซึ่งนับวันจะตระหนักถึงสิทธิของตนเองมากขึ้นเห็นว่าระบบการระงับข้อพิพาททางภาษีแบบเดิม ยังไม่สามารถคุ้มครองสิทธิและรักษาผลประโยชน์ของตนเองได้อย่างเพียงพอ จึงจำเป็นต้องมีการพิจารณาแนวคิดการระงับข้อพิพาททางเลือกอย่างเช่น วิธีการไกล่เกลี่ยมาใช้ในการระงับข้อพิพาททางภาษีอากร การนำวิธีการไกล่เกลี่ยมาใช้ในการระงับข้อพิพาททางภาษีในชั้นก่อนฟ้องคดีมีข้อดีหลายประการ เช่น ช่วยให้สามารถระงับข้อพิพาททางภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น กล่าวคือ กระบวนการไกล่เกลี่ยช่วยให้ผู้เสียภาษีระงับข้อพิพาททางภาษีได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย ช่วยลดจำนวนคดีที่จะขึ้นสู่การพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และศาล อีกทั้งเป็นการเพิ่มทางเลือกในการระงับข้อพิพาททางภาษีให้แก่ประชาชน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมในการนำวิธีการไกล่เกลี่ยมาใช้ในการระงับข้อพิพาททางภาษีในชั้นก่อนฟ้องคดีแล้ว เห็นว่าในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะนำวิธีการไกล่เกลี่ยมาใช้ในการระงับข้อพิพาททางภาษีในชั้นก่อนฟ้องคดี เนื่องจากปัญหาสำคัญคือการใช้วิธีการไกล่เกลี่ยมาระงับข้อพิพาททางภาษีเป็นการระงับข้อพิพาท โดยอาศัยพื้นฐานของการตกลงใจของทั้งสองฝ่าย จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้ดุลพินิจในการเจรจาตกลงเป็นรายกรณี ซึ่งอาจเป็นช่องทางนำไปสู่การใช้อำนาจโดยมิชอบได้ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังขาดกฎหมายรองรับให้กระบวนการไกล่เกลี่ยมีความเป็นธรรม อันจะสร้างความมั่นใจให้ผู้เสียภาษีในการเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย รวมไปถึงประเทศไทยยังขาดองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ที่รองรับในการให้บริการด้านการไกล่เกลี่ย และจัดหลักสูตรอบรมผู้ไกล่เกลี่ยทำให้ในทางปฏิบัติ อาจจะประสบปัญหาในการหาบุคคลที่มีคุณสมบัติมาทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางภาษีได้อย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตาม จากการที่ศาลภาษีอากรกลางมีระเบียบศาลภาษีอากรกลางว่าด้วยการไกล่เกลี่ย เพื่อยังให้เกิดการประนีประนอมยอมความ พ.ศ. 2545 ใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่พบว่าที่ผ่านมายังไม่ค่อยมีการนำไปใช้มากเท่าที่ควร จึงเห็นควรที่น่าจะมีการพัฒนาระเบียบดังกล่าวต่อไปเพื่อให้มีขอบเขตการใช้ที่กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการไกล่เกลี่ยก่อนการพิจารณาคดีได้en_US
dc.description.abstractalternativeThe study reveals that there are flaws in the current tax dispute resolution process in Thailand; namely, complication, procedural delay, and expensive cost. Taxpayers, gradually becoming aware of their rights, view that traditional tax dispute resolution cannot provide sufficient protection for their rights and interests. Therefore, it is necessary to take into consideration the alternative dispute resolution, such as mediation in tax disputes. An introduction of mediation in resolving disputes under the Revenue Code before trial offers several advantages. For instance, it helps resolve tax disputes more effectively, in other words, mediation will facilitate timely and cost-effective tax disputes resolution. Furthermore, it helps reduce backlog of cases in administrative process and in Tax Court, and increase options to resolve tax disputes for taxpayers. However, Thailand currently is not ready for the application of mediation before trial. This is because mediation in tax disputes is fundamentally based on mutual agreement of the parties, and thus it is inevitable that the tax officers need to be granted discretion to make a decision on a case-by-case basis, which may easily lead to abuse of power. Moreover, Thailand has no legislation that specifically addresses mediation to ensure a fair procedure. Also, the lack of professional mediation organizations that provide mediation services and mediation training will lead to insufficiency of qualified tax mediators. The Central Tax Court has issued Rules regarding Mediation for the Dispute Settlement since 2002. Nevertheless, there were only a few requests for mediation. Therefore, the said rules should be further improved for wider application, which may pave the way for mediation in tax disputes before hearing in the future.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1167-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการไกล่เกลี่ยen_US
dc.subjectการระงับข้อพิพาทen_US
dc.subjectรัษฎากรen_US
dc.subjectภาษีen_US
dc.subjectMediationen_US
dc.subjectDispute resolution ‪(Law)‬en_US
dc.subjectRevenueen_US
dc.subjectTaxationen_US
dc.titleการนำวิธีการไกล่เกลี่ยมาใช้ในการระงับข้อพิพาททางภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรในชั้นก่อนฟ้องคดีen_US
dc.title.alternativeAn introduction of mediation in resolving disputes under the revenue code before trialen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTithiphan.C@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1167-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
taruesida_ea.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.