Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36392
Title: การพัฒนาระบบบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การสำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
Other Titles: Development of a total quality management system for educational service area offices
Authors: สมเกียรติ ชิดไธสง
Advisors: นันทรัตน์ เจริญกุล
ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Nantarat.C@chula.ac.th
Duangkamol.T@Chula.ac.th
Subjects: การบริหารคุณภาพโดยรวมทางการศึกษา
เขตพื้นที่การศึกษา
โรงเรียน -- การบริหาร
Total quality management in education
Educational service area
School management and organization
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารคุณภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 2) ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารคุณภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ 3 ) พัฒนาระบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การสำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดำเนินการวิจัยโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ประชุมสนทนากลุ่ม และประเมินระบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารคุณภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยเฉลี่ยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีการปฏิบัติ 63.33% ไม่มีการปฏิบัติ 36.77% ปัญหาการบริหารคุณภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50 ด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยของระดับปัญหาสูงสุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.63 2) แนวทางการแก้ไขปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ การอบรมพัฒนาบุคลากร การจัดสรรและระดมทรัพยากร การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม การปรับโครงสร้างองค์การ การจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการบริหาร การจัดตั้งทีมคุณภาพ การใช้เครื่องมือคุณภาพ การจัดตั้งกลุ่มพัฒนาระบบบริหารในสำนักงานเขตพื้นที่ การประเมินผล การรายงาน การรับรองผล การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ การสร้างขวัญและกำลังใจ และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า 3) ระบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การสำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาคือ ระบบการบริหารคุณภาพที่เน้นกระบวนการ มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 หลักการและแนวคิด ส่วนที่ 2 องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ และส่วนที่ 3 แนวทาง และเงื่อนไขความสำเร็จของการใช้ระบบ หลักการและแนวคิดประกอบด้วย หลักการและแนวคิด และวัตถุประสงค์ของระบบ องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 17 องค์ประกอบย่อยคือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลย้อนกลับ ด้านปัจจัยนำเข้า มี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่วัสดุอุปกรณ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านกระบวนการ มี 9 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ การจัดโครงสร้างองค์การ การกำหนดนโยบายคุณภาพ การวางแผน การดำเนินการตามแผน การทำงานเป็นทีม การใช้เครื่องมือคุณภาพ การกำกับติดตามและประเมินผล การรายงานผล และการรับรองผลการปฏิบัติงาน ด้านผลผลิต มี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ ความสำเร็จของการดำเนินงานตามเป้าหมายของแผน ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ขวัญและกำลังใจของบุคลากร และความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร ส่วนที่ 3 แนวทางและเงื่อนไขความสำเร็จของการใช้ระบบประกอบด้วยแนวทางการนำระบบไปใช้ 4 ระยะคือ ระยะเตรียมการ ระยะดำเนินการ ระยะประเมินผล และระยะสรุปและรายงานผล เงื่อนไขความสำเร็จ 10 ประการได้แก่ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การฝึกอบรม การทำงานเป็นทีม การอำนวยความสะดวก การมีส่วนร่วม การให้คำปรึกษา การใช้เครื่องมือคุณภาพ การจัดทำพันธะสัญญา การวัดและประเมินผล และการรายงานผล
Other Abstract: To 1) investigate the implementation stats and problem of quality management for educational service area offices, 2) find a strategy for problem solution of quality management for educational service area offices and 3) develop a total quality management system for educational service area offices. Data were collected using questionnaires, interviews of experts, a focus group discussion, and system evaluation by experts. The key findings were as follows: 1) 63.33% of educational service area offices implemented the quality management system while 36.77% did not. Overall, the problem for implementation were scored high, with the average value of 3.50. The highest score of 3.63 was found for “implementation process”. 2) the strategy to solve the problems covered 14 items. 3) The total quality management system for educational service area offices was “process focused” consisting of three parts: 1) principle and concept; 2) basic components of a systems, and 3) guideline and conditions towards success. The principle and concept included the system’s principle, concepts and its objectives. The basic component of system included 4 main components and 17 subcomponents. The 4 main components were input, process, product and feedback. The “input” had 4 subcomponents: staff, budget, office and materials, and information technology. The “process” had 9 subcomponents: an arrangement of institutional structure, determination of a quality policy, planning, plan implementation, teamwork, quality tool adoption, monitoring and evaluation, reporting, and verifying. For the “product”, there were 4 subcomponents: the success in implementation of the plan, satisfaction of customers, will and courage of staff, effectiveness of resource utilization. The 3rd part, guidelines and conditions of success for system implementation, consisted of 4 stages: preparation, execution, evaluation, and result summary and reporting. The conditions of success consisted of 10 items: leadership of the leaders, training, teamworking, facilitation, participation, provision of advice, quality tool adoption, binding to the agreed commitments, measuring and evaluation, as well as reporting.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36392
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1139
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1139
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
somkiat_ch.pdf4.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.