Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36409
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรทิพย์ แข็งขัน-
dc.contributor.authorเฉลิมลาภ ทองอาจ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-10-26T10:52:10Z-
dc.date.available2013-10-26T10:52:10Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36409-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ การเรียนรู้หลักการใช้ภาษาไทยและความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้หลักการใช้ภาษาไทยและความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2550 สถานศึกษาโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม จำนวน 71 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองซึ่งจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์ จำนวน 36 คน และกลุ่มควบคุมซึ่งจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้หลักการใช้ภาษาไทยและแบบวัดความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์ และเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้หลักการใช้ภาษาไทย ใช้เวลาดำเนินการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบ รวมทั้งสิ้น 16 คาบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต ([x-bar]) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) ทดสอบค่า t (t-test) และความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์มีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้หลักการใช้ภาษาไทยสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์มีความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์มีความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study effects of a concept attainment model of instruction on learning achievement of Thai language principles and usage and conceptual thinking ability of eighth grade students and to compare learning achievement of Thai language principles and usage and conceptual thinking ability of eighth grade students between the group learning by a concept attainment model and the group learning by conventional teaching method. The subjects were 71 eighth grade students of Chulalongkorn University Demonstration Secondary School in Bangkok, 36 students were experimental group and 35 students were controlled group. There were two catagories of the research instruments. The data collection instruments were Thai language principles and usage learning achievement test and conceptual thinking ability test. The experimental instruments were Thai language principles and usage lesson plans. The duration of experiment was eight weeks, two periods per week, total of sixteen periods. The collected data were analyzed by arithmetic means ([x-bar]), standard deviation (s), t-test, and ANCOVA. The research findings were summarized as follows: 1. Students learning by a concept attainment model had the learning achievement of Thai language principles and usage higher than students learning by conventional teaching method at .05 level of significance. 2. Students learning by a concept attainment model had conceptual thinking ability higher than before experiment at .05 level of significance. 3. Students learning by a concept attainment model had conceptual thinking ability higher than students learning by conventional teaching method at .05 level of significance.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.790-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษาไทย -- การศึกษาและการสอนen_US
dc.subjectภาษาไทย -- การใช้ภาษาen_US
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen_US
dc.subjectความคิดรวบยอดen_US
dc.subjectThai language -- Study and teachingen_US
dc.subjectThai language -- Usageen_US
dc.subjectAcademic achievementen_US
dc.subjectConceptsen_US
dc.titleผลของการใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้หลักการใช้ภาษาไทยและความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2en_US
dc.title.alternativeEffects of a concept attainment model on learning achievement of Thai language principles and usage and conceptual thinking ability of eighth grade studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการสอนภาษาไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.790-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chalermlahp_to.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.