Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36413
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริเพ็ญ ศุภกาญจนกันติ-
dc.contributor.authorชัชชัย ทวีทรัพย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-10-26T12:02:05Z-
dc.date.available2013-10-26T12:02:05Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36413-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ วิเคราะห์โครงสร้างอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ของจังหวัดสุพรรณบุรี วิเคราะห์มาตรการควบคุมไข้หวัดนกและต้นทุนของการดำเนินมาตรการควบคุมไข้หวัดนกของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุพรรณบุรีจำแนกตามกิจกรรมในแต่ละมาตรการควบคุมไข้หวักนก และวิเคราะห์ผลประโยชน์ของมาตรการควบคุมไข้หวัดนกต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่จังหวัดสุพรรณบุรี ขอบเขตของการศึกษา คือ ปศุสัตว์จังหวัดสุพรรณบุรี ปีงบประมาณพ.ศ. 2548 เป็นการวิเคราะห์ต้นทุนทางตรงภายในองค์กรและผลประโยชน์ของมาตรการควบคุมไข้หวัดนกต่อการเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจระดับจังหวัดของจังหวัดสุพรรณบุรี ผลการศึกษาพบว่าปศุสัตว์จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นการบริหารงานแบบบนลงล่างโดยมีต้นทุนของมาตรการควบคุมไข้หวัดนกเท่ากับ 10,713,403.93 บาท คิดเป็นร้อยละ 33.33 ของต้นทุนทั้งหมดของปศุสัตว์จังหวัดสุพรรณบุรีจำนวน 33,636,864.08 บาท สัดส่วนของต้นทุนค่าลงทุนต่อต้นทุนค่าดำเนินการ คือ 0.95: 0.05 และภาระงานของมาตรการควบคุมไข้หวัดนก คือ ร้อยละ 46 ต่อภาระงานทั้งหมด และเมื่อจำแนกตามมาตรการควบคุมไข้หวัดนก ได้แก่ มาตรการการเฝ้าระวังโรค มาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายและกักกัน มาตรการทำลายเชื้อโรค มาตรการทำลายสัตว์ป่วยและซากสัตว์ และมาตรการประชาสัมพันธ์ มีสัดส่วนเท่ากับ 0.3902 0.2152 0.1695 0.18890.0363 ตามลำดับ โครงสร้างการเลี้ยงสัตว์ปีกของจังหวัดสุพรรณบุรีมีลักษณะผูกขาดมากขึ้นและมีแนวโน้มเป็นอุตสาหกรรมเลี้ยงไก่ที่มีขนาดใหญ่แบบจ้างเลี้ยง โดยสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 700 ล้านบาท จากการสูญเสียสถานะการผลิตไข่ไก่เพื่อการบริโภคในประเทศไม่ต่ำกว่า 314 ล้านบาท และสูญเสียการผลิตไก่เนื้อไม่ต่ำกว่า 384 ล้านบาท ผลประโยชน์ของมาตรการควบคุมไข้หวัดนกเป็นการลดความน่าจะเป็นของโรคจากไก่สู่คนและคนสู่คนลง และทำให้พฤติกรรมการเฝ้าระวังและการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนกของผู้มีส่วนได้เสียมากยิ่งขึ้น และเป็นการประหยัดทรัพยากรจากการใช้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการวิเคราะห์ต้นทุนของมาตรการควบคุมไข้หวัดนกen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study are to the structure of layer and broiler industry of Suphanburi province, to analysis the measures and cost of highly pathogenic H5N1 Avian Influenza control measures of Suphanburi Provincial Live Stock Office categorized by their activities, and to analysis the benefits of highly pathogenic H5N1 Avian Influenza control measures of Suphanburi Provincial Live Stock Office upon the poultry. The area of this study is on Suphanburi Provincial Live Stock Office at the budget year 2005 in analyzing the internal direct cost allocation and long run non-monetary benefits of highly pathogenic H5N1 Avian Influenza control measures upon the structural change. The result of this study are due to the fact that Suphanburi Provincial Live Stock Office management is top-down approach which the cost of control measure is 10,713,403.93 baht (33.33%) compared to 33,636,864.08 baht, the total cost of Suphanburi Provincial Live Stock, and the ratio of capital cost of control measure to operating cost of control measure is 0.95 to 0.05. Furthermore, the job assignment of control measure is 46 percent of total job assignment in Suphanburi Provincial Live Stock Office, and cost of control measure which are Disease Surveillance and Control Measure, Movement Control Measure, Disinfection Measure, Culling Measure, and Public Relation Measure is 0.3902 0.2152 0.1695 0.18890.0363 respectively. The structural changes of poultry industry in Suphanburi province exists the large poultry industry and trends to be a sub-contract farm with more monopoly in losses not less than 700 million baht of not less than 314 million baht from the structural change in the status of producing egg province to consume in local country and lost not less than 384 million baht from the structural change in broiler producing. In addition, the benefits of control measures are to reduce factor risk, to enchant the stakeholders’ behaviors, and to economize the resources.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.276-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไข้หวัดนก -- การป้องกันและควบคุม -- ต้นทุนและประสิทธิผลen_US
dc.subjectโรค -- การป้องกันและควบคุม -- ต้นทุนและประสิทธิผลen_US
dc.subjectAvian influenza -- Prevention and control -- Cost effectivenessen_US
dc.subjectMedicine, Preventive -- Cost effectivenessen_US
dc.titleการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของมาตรการควบคุมไข้หวัดนกในประเทศไทย : กรณีศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรีen_US
dc.title.alternativeCost and benefit analysis of highly pathogenic H5N1 avian influenza control measure in Thailand : a case study of Suphanburi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSiripen.S@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.276-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chatchai_ta.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.