Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36438
Title: | วิวัฒนาการและสุนทรียภาพของเพลงแปลงไทย |
Other Titles: | Evolution and aesthetics of Thai parody songs |
Authors: | วารุณี โชคเพิ่มพูลสุข |
Advisors: | จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jirayudh.S@Chula.ac.th |
Subjects: | เพลงไทย การวิเคราะห์เพลง Songs, Thai |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิวัฒนาการทางด้านรูปแบบและบริบทด้านต่างๆอันเกี่ยวข้องกับเพลงแปลงไทย รวมทั้งศึกษาถึงสุนทรียภาพของเพลงแปลงไทยในยุคต่างๆ เป็นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ซึ่งใช้แนวทางการศึกษาโดยศึกษาจากเอกสาร (Documentary Research) จากตัวบท (Textual Analysis) ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ นักร้องเพลงแปลงและผู้ฟัง(In-Depth Interview) จากผลการศึกษาพบว่าเราสามารถแบ่งยุคของเพลงแปลงออกเป็น 4 ช่วงเวลาด้วยกัน ได้แก่ ยุคที่ 1 ยุคอิทธิพลตะวันตกเข้ามามีบทบาท (พ.ศ. 2495-2520) เป็นยุคที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผลพวงมาจากภาวะของสงครามต่างๆ ยุคที่ 2 ยุคเพลงสตริงครองเมือง (พ.ศ.2521-2530) ยังคงได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมาโดยต่อเนื่อง วงดนตรีแบบสตริงคอมโบรวมทั้งแนวดนตรีดิสโกรับความนิยมเป็นอย่างมาก ยุคที่ 3 ยุคธุรกิจเทปเพลงและลิขสิทธิ์ทางปัญญา (พ.ศ.2531-2545) เรื่องลิขสิทธิ์เป็นเรื่องที่จริงจังขึ้นมาก ธุรกิจเพลงเป็นระบบมากขึ้นและมุ่งผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นสำคัญ ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบัน (พ.ศ. 2546-2554) เป็นยุคแห่งความผสมผสานและความหลากหลาย สื่ออินเทอร์เนตเข้ามามีบทบาทในสังคมด้านต่างๆมากขึ้น ซึ่งในแต่ละยุคสมัยจะมีการแสดงออกที่แตกต่างกันไป ตามปัจจัย (1)บริบททางสังคมและวัฒนธรรม (2)บริบททางแวดวงดนตรีและสื่อ (3)ศิลปินเพลงแปลงและผลงาน และ(4)แนวเพลงอันเป็นวัฒนธรรมนิยมของยุคสมัย โดยมีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด อีกทั้งประเด็นของสุนทรียภาพที่ปรากฏขึ้นในเพลงแปลงในทุกยุคสมัย ได้เกิดมาจาก(1) สุนทรียภาพจากภาษาในเพลงแปลง อันประกอบไปด้วย (1.1) การเลียนล้อสำเนียงเดิมในงานเพลงต้นฉบับ และ (1.2.) ฉันทลักษณ์หรือลูกเล่นทางภาษา (2) สุนทรียภาพจากรสในเพลงแปลง มีทั้งรสแห่งความขบขัน และรสแห่งความรัก และ(3) สุนทรียภาพที่เกิดจากองค์ประกอบอื่นๆของเพลงแปลง ล้วนแล้วแต่เป็นการเพิ่มสีสันทางดนตรีต่างๆลงไปในทำนองเพลงต้นฉบับเดิม โดยสุนทรียภาพในเพลงแปลงแต่ละยุคมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การล้อเลียนกับงานต้นฉบับ และแสดงออกแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคสมัย |
Other Abstract: | This research aimed to study the evolution of parody music in several forms and contexts, and the aesthetic of parody songs in different eras (during 1952 – 2011). The historical data were elicited from documentary research studies, textual analysis as well as in-depth interviews with specialists, parody singers and listeners. The findings revealed that the parody music era can be divided into 4 periods ; (1)Western Influence Era (1952 – 1977): this era was dominated by Western, especially the U.S, resulted by the wars (2) The pop hits of String Music Era (1978 – 1987): this era was continuously influenced by the Western. String combo and disco music bands enjoyed widespread popularity. (3) Music Industry and Intellectual Property Era (1989 – 2002): in this era, the focus of copyright became significant. More systematic music industry arose and was exploited for business purposes. (4) Current Era (2002 – 2011): this era is a mixture and diversity. Technologies like internet play a bigger role in many social aspects. Nevertheless , the music is presented differently in different periods based on several factors (1) Social and cultural contexts (2) Musical and media contexts (3) Parody artists, and (4) Cultural popularity-based music, which had been continually changing. The rise of the aesthetic of parody music in every era is based on (1) Aesthetic of the song language, which consists of (1.1) Mimic of accent from the original pieces of work, and (1.2) Rhyme and language beauty (2) Aesthetic of parody tastes, including taste of humor and taste of love and (3) Aesthetic from other components of parody music. All these qualities add up extra spices into the original version of music. The aesthetic of parody music in each era ,however, is centered around the mimic of the original pieces of work, which are presented differently in different eras. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36438 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.8 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.8 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
warunee_ch.pdf | 5.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.