Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36439
Title: การพัฒนาสารเจือจางน้ำเชื้อสุนัขแช่เย็นชนิดผงพร้อมใช้
Other Titles: Development of a ready-to-use powdered extender for chilled dog semen
Authors: วรัทยา ประสมทรัพย์
Advisors: เกวลี ฉัตรดรงค์
ศุภวิวัธน์ พงษ์เลาหพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Kaywalee.C@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: สุนัข -- การสืบพันธุ์
สุนัข -- น้ำเชื้อ
อสุจิแช่แข็ง -- การวิเคราะห์
Dogs -- Reproduction
Dogs -- Spermatozoa
Frozen semen -- Analysis
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การขยายตัวของธุรกิจฟาร์มสุนัข ทำให้การเก็บรักษาน้ำเชื้อสุนัขพ่อพันธุ์มีความสำคัญ วัตถุประสงค์ของการทดลองนี้ 1) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ไข่แดงผงแทนการใช้ไข่แดงสดเป็นส่วนประกอบ ในสารเจือจางน้ำเชื้อสุนัขแช่เย็น และ 2) พัฒนาสารเจือจางน้ำเชื้อในรูปแบบผงในการเก็บรักษาน้ำเชื้อสุนัขโดยการแช่เย็น การศึกษานี้ใช้สุนัขทั้งหมด 5 ตัว รีดเก็บน้ำเชื้อจากสุนัขครั้งละ 3 ตัวรวมน้ำเชื้อ แล้วแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ใส่สารเจือจางน้ำเชื้อเพื่อปรับให้มีความเข้มข้น 200 ล้านตัวต่อมิลลิลิตร โดยกลุ่มที่ 1 ใส่สารเจือจางน้ำเชื้อทริสไข่แดงสด กลุ่มที่ 2 ใส่สารเจือจางน้ำเชื้อทริสไข่แดงผง และกลุ่มที่ 3 ใส่สารเจือจางน้ำเชื้อทริสไข่แดงสด แล้วนำมาทำให้เป็นผง โดยผ่านกระบวนการทำแห้งแบบเยือกแข็ง ประเมินคุณภาพอสุจิ ได้แก่ อัตราการเคลื่อนที่ และระดับการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า อัตราการมีชีวิต (สีย้อมไซเบอร์-โพรพิเดียม) ความสมบูรณ์ของอะโครโซม (สีย้อมฟิทซี พีเอ็นเอ-โพรพิเดียม) การทำงานของไมโทคอนเดรีย (สีย้อมเจซี-วัน) และการเกิดอะพ็อพโทซิสของอสุจิ (สีย้อมสนาฟ โยโปร และเอ็ทธิเดียมโฮโมไดเมอร์ ประเมินด้วยเครื่องโฟล์ไซโตมิเตอร์) หลังการแช่เย็น ที่เวลา 3 48 96 ชั่วโมง 7 วัน และ10 วัน ทำการทดลองซ้ำ 9 ครั้ง พบว่าการแช่เย็นอสุจิในสารเจือจางน้ำเชื้อทั้งสามชนิด มีอัตราการเคลื่อนที่ อัตราการมีชีวิต และความสมบูรณ์ของอะโครโซมของอสุจิ ไม่แตกต่างกันในทุกเวลาที่ทำการประเมิน อสุจิในสารเจือจางน้ำเชื้อทริสไข่แดงผง มีระดับการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าต่ำกว่าสารเจือจางน้ำเชื้อทริสไข่แดงสด แต่ไม่ต่างจากสารเจือจางน้ำเชื้อทริสไข่แดงสดที่ผ่านกระบวนการทำแห้งแบบเยือกแข็ง (ที่ 3 ชั่วโมง : 3.9 ± 0.3, 4.6 ± 0.5 และ 4.2 ± 0.4 ตามลำดับ) และ (ที่ 48 ชั่วโมง : 3.2 ± 0.7, 3.8 ± 0.4 และ 3.7 ± 0.5 ตามลำดับ) มีจำนวนอสุจิที่มีผนังหุ้มเซลล์สมบูรณ์ (ไม่เกิดอะพ็อพโทซิส) ต่ำกว่าสารเจือจางน้ำเชื้อทริสไข่แดงสด และสารเจือจางน้ำเชื้อทริสไข่แดงสดที่ผ่านกระบวนการทำแห้งแบบเยือกแข็ง (ที่ 3 ชั่วโมง : 54.3 ± 8.4, 67.5 ± 8.3 และ 63.7 ± 6.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) (ที่ 48 ชั่วโมง : 43.6 ± 9.5, 57.4 ± 5.3 และ 52.5 ± 10.0 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) เพราะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเยื่อหุ้มผนังเซลล์มากกว่า และมีจำนวนอสุจิที่มีการทำงานของไมโทคอนเดรียในระดับสูง สูงกว่าในสารเจือจางน้ำเชื้อทริสไข่แดงสด (ที่ 48 ชั่วโมง : 65.6 ± 3.8 และ 60.4 ± 6.8 ตามลำดับ) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ไข่แดงผงสามารถใช้แทนไข่แดงสดเป็นส่วนประกอบของสารเจือจางน้ำเชื้อสุนัขได้ และการเปลี่ยนรูปสารเจือจางน้ำเชื้อทริสไข่แดงสด โดยการทำแห้งแบบเยือกแข็ง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มความสะดวกของการใช้ และยืดระยะเวลาการเก็บรักษาสารเจือจางน้ำเชื้อได้อีกด้วย
Other Abstract: An increase interest of dog breeding farm business has contributed to a desire to preserve stud dog semen. The present study aimed to; 1) investigate feasibility of replacing fresh egg yolk with powder egg yolk in an extender for chilling of dog semen, and 2) develop tris egg yolk semen extender in a powder form. A total of five dogs were included. Semen were collected from three out of five dogs, pooled and allocated to; Group 1, chilled in tris fresh egg yolk extender, Group 2, chilled in tris powder egg yolk extender, and Group 3, chilled in lyophilized tris fresh egg yolk extender. The sperm in each group was adjusted to 200 million sperm/mL. Sperm qualities; motility, progressive motility, viability (Sybr-14/PI), acrosome integrity (FITC-PNA/PI), mitochondrial activity (JC-1) and apoptosis (SNARF-1/YOPRO-1/ethidium homodimer) were assessed at 3, 48 and 96 hrs, and 7 and 10 days after cooling at 4ºC. Experiments were repeated nine times. The sperm motility, viability and acrosome integrity were similar in all groups at all times of evaluation. However, the progressive motility of sperm in the tris powder egg yolk extender was lower than that in the tris fresh egg yolk extender but similar to the lyophilized tris fresh egg yolk extender (at 3 hrs: 3.9 ± 0.3, 4.6 ± 0.5 and 4.2 ± 0.4, respectively) and (at 48 hrs: 3.2 ± 0.7, 3.8 ± 0.4 and 3.7 ± 0.5, respectively). Moreover, the number of non-apoptotic sperm with intact membrane was lower in the tris powder egg yolk extender compared to the tris fresh egg yolk extender and lyophilized tris fresh egg yolk extender (at 3 hrs: 54.3 ± 8.4, 67.5 ± 8.3 and 63.7 ± 6.5 %, respectively) (at 48 hrs: 43.6 ± 9.5, 57.4 ± 5.3 and 52.5 ± 10.0%, respectively), whereas the number of sperm with high mitochondrial membrane potential in the tris powder egg yolk extender was higher than the tris fresh egg yolk extender (at 48 hrs: 65.6 ± 3.8 and 60.4 ± 6.8%, respectively). In conclusions, powder egg yolk feasibly substitutes fresh egg yolk in the tris extender for chilling of dog semen. The tris fresh egg yolk extender in a lyophilized powder form is as potential as in the liquid form to preserve dog semen for 10 days.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาการสืบพันธุ์สัตว์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36439
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1195
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1195
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
waratthaya_pr.pdf894.35 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.