Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36457
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ | - |
dc.contributor.author | ธีทัต เจริญกาลัญญูตา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-10-29T09:27:01Z | - |
dc.date.available | 2013-10-29T09:27:01Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36457 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | ในปัจจุบัน เทคนิคการรังวัดแบบจลน์ในทันทีโดยอาศัยระบบเครือข่ายสถานีฐานจีพีเอส (Network-Based Real-Time Kinematic; NRTK) กำลังเป็นที่นิยมใช้งานในประเทศไทย โดยเทคนิคการรังวัดดังกล่าวนี้มีข้อดีคือ ใช้เวลาการรังวัดค่อนข้างเร็ว และได้ค่าพิกัดตำแหน่งในทันที แต่เทคนิคการรังวัดฯนี้ ก็มีข้อจำกัดที่ประสิทธิภาพเทคนิคการรังวัดดังกล่าวจะลดลงเมื่อระยะห่างระหว่างสถานีฐานเพิ่มขึ้น โดยน่าจะมีสาเหตุมาจากค่าคลาดเคลื่อนชนิดต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นในระบบเทคนิคการรังวัดดังกล่าว ซึ่งจากงานวิจัยที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า ค่าคลาดเคลื่อนชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์คือสาเหตุหลักที่ทำให้ประสิทธิภาพของเทคนิคการรังวัดชนิดนี้ลดลง ในวิทยานิพนธ์นี้ ได้ศึกษาถึงการใช้โมเดลชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์แบบทั้งโลก (GIM) และ โมเดลฯ ในพื้นที่ประเทศไทย (THIM) สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพเทคนิคการรังวัดแบบจลน์ในทันทีโดยอาศัยระบบเครือข่ายสถานีฐานจีพีเอสในระยะห่างระหว่างสถานีฐานขนาดต่างๆ ได้แก่ ขนาด 10-20, 30-50, 50-60 และ 60-80 กิโลเมตร โดยโมเดล GIM และ THIM นั้นได้จากการประมวลผลด้วยซอฟต์แวร์ Bernese 5.0 ทั้งนี้ในการศึกษาดังกล่าว ใช้ข้อมูลการรับสัญญาณดาวเทียมจีพีเอสที่ต่อเนื่องกันจำนวน 31 วัน จากสถานีฐานจีพีเอสในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล การประเมินประสิทธิภาพของเทคนิคการรังวัดดังกล่าวนี้ ทำได้โดยการวิเคราะห์ผลในสามรูปแบบคือ อัตราของผลสำเร็จจากการหาค่าเลขปริศนา จำนวนของค่าพิกัดกระโดดขนาดใหญ่ และค่า Root Mean Square Error (RMSE) ของตำแหน่ง ผลการประมวลผลชี้ให้เห็นว่า อัตราของผลสำเร็จจากการหาค่าเลขปริศนาของระยะระหว่างสถานีฐานขนาดกลางเพิ่มขึ้น มากกว่า 9 % และ 16 % เมื่อใช้โมเดล GIM และ THIM ในการประมวลผลร่วมด้วย ตามลำดับ ในขณะที่ค่าพิกัดกระโดดขนาดใหญ่ และค่า RMSE ของระยะห่างระหว่างสถานีฐานทุกขนาดไม่มีนัยสำคัญที่แตกต่างกัน สำหรับการใช้โมเดลทั้งสองดังกล่าว ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การใช้โมเดล THIM ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเทคนิคการรังวัดนี้ในประเทศไทยได้มากกว่า การใช้โมเดล GIM โดยเฉพาะในระยะห่างระหว่างสถานีฐานขนาดกลาง | en_US |
dc.description.abstractalternative | Nowadays, the Network-Based Real Time Kinematic GPS (NRTK) becomes more popular in Thailand. The advantages of NRTK positioning are the rover’s observation period become much shorter and the coordinates could be obtained in real-time. However, the NRTK positioning is limited by the distance between the reference stations. The performance of the NRTK usually is degraded when the baseline length between the reference stations becomes longer. This effect may due to the increasing of one of the main error sources in the NRTK system that is the ionospheric delay. In this thesis, the NRTK Virtual Reference Station (VRS) systems in Thailand were simulated in the difference reference station spacings i.e. 10-20, 30-50, 50-60 and 60-80 km. The ionospheric models i.e. the Global Ionospheric Maps (GIM) and the Thai Ionospheric Maps (THIM) that was generated by Bernese 5.0 were studied for the improvement of the NRTK-VRS performance in each reference station spacings. That NRTK-VRS performance were indicated by the three indicators that is the ambiguity fixing rate, the number of the position jump and the Root Mean Square Error (RMSE) of the positions. The results show that the ambiguity fixing rate of the middle spacings were improved more than 9% and 16% when using GIM and THIM respectively. While the number of the position jump and RMSE are no significant difference in overall spacing. Thus, it can conclude that THIM more effective than GIM for the improvement of the NRTK-VRS performance in Thailand especially in the middle spacings. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1583 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | จลนศาสตร์ | en_US |
dc.subject | ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก | en_US |
dc.subject | ไอโอโนสเฟียร์ | en_US |
dc.subject | Kinematics | en_US |
dc.subject | Global Positioning System | en_US |
dc.subject | Ionosphere | en_US |
dc.title | ผลกระทบของค่าคลาดเคลื่อนชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ต่อประสิทธิภาพจากการรังวัดด้วยดาวเทียมจีพีเอสแบบจลน์ในทันทีโดยอาศัยระบบเครือข่ายสถานีฐานจีพีเอสในประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | Effect of ionospheric delay on performance of the Network-Based RTK GPS in Thailand | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมสำรวจ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | chalermchon.s@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1583 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
teetat_ch.pdf | 9.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.