Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36545
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิตรา รู้กิจการพานิช-
dc.contributor.authorจรุพนธ์ สุนทรรักษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-11-04T03:32:57Z-
dc.date.available2013-11-04T03:32:57Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36545-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบข้อกำหนดของกระบวนการตัดผ้าลายริ้วสำหรับป้องกันการเกิดของเสียประเภทลายริ้วของตะเข็บข้างตัวเสื้อไม่ตรงกัน ซึ่งมีของเสียอยู่ 9.92% ของยอดการผลิตเสื้อลายริ้วทั้งหมด การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนหลัก ขั้นตอนที่ 1 เริ่มจากการศึกษาสาเหตุที่มีผลทำให้เกิดของเสียประเภทลายริ้วของตะเข็บข้างตัวเสื้อไม่ตรงกัน โดยใช้การระดมสมอง ขั้นตอนที่ 2 นำสาเหตุที่ได้มาเป็นปัจจัยในการทดลองมีอยู่ด้วยกัน 2 ปัจจัย คือ เวลาที่ใช้ในการรีแล็กซ์ผ้าไม่เหมาะสม และจำนวนแถวของเข็มหมุดที่ใช้ปักล็อคลายริ้วไม่เหมาะสม โดยในขั้นตอนนี้สามารถสรุปการคัดเลือกระดับปัจจัยได้ว่า เวลาที่ใช้ในการรีแล็กซ์ผ้า คือ 4, 7 และ 12 ชั่วโมง จำนวนแถวของเข็มหมุดที่ใช้ปักล็อคลายริ้ว คือ 2, 4 และ 5 แถว ขั้นตอนที่ 3 ทำการทดลองหาความสัมพันธ์ของปัจจัยทั้ง 2 ร่วมกัน โดยแบ่งการทดลองตามสีของเสื้อลายริ้ว ได้แก่ แดง ฟ้า ขาว น้ำเงิน กรมท่า และดำ พบว่า เวลาที่ใช้ในการรีแล็กซ์ผ้า 12 ชั่วโมง และจำนวนแถวของเข็มหมุดปักล็อคลายริ้ว 5 แถว ได้ผลการทดลองที่ดีที่สุด ขั้นตอนที่ 4 ออกแบบข้อกำหนดของกระบวนการตัดผ้าลายริ้ว ประกอบด้วย คู่มือการปฏิบัติงาน (Work Instruction) และขั้นตอนการควบคุม (Control Procedure) ขั้นตอนที่ 5 นำข้อกำหนดของกระบวนการตัดผ้าลายริ้วไปทดลองใช้ผลิตจริง พบว่า ของเสียประเภทลายริ้วของตะเข็บข้างตัวเสื้อลดลง จากการผลิตเสื้อลายริ้ว 10,800 ตัว มีของเสียประเภทนี้อยู่เพียง 578 ตัว คิดเป็น 5.35% โดยหากแยกของเสียออกตามสีของเสื้อลายริ้ว พบว่า จากการผลิตเสื้อลายริ้วสีละ 1,800 ตัว สีดำและกรมท่าเป็นสีที่มีของเสียเกิดขึ้นมากที่สุด 2 อันดับแรก คือ 124 และ 120 ตัว คิดเป็น 6.89% และ 6.67% ตามลำดับ ส่วนสีน้ำเงิน แดง และฟ้า มีของเสีย 109, 102 และ 70 ตัว คิดเป็น 6.06%, 5.67% และ 3.89% ตามลำดับ ส่วนสีที่พบของเสียประเภทนี้น้อยที่สุด คือ สีขาว 53 ตัว คิดเป็น 2.94%en_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research was to design the specification of cutting process in order to prevent missed lines of the striped fabric. The percentage of miss lines were 9.92% of total quantity striped fabric production. There were 5 steps in this study. The first steps, the brainstorming of causes with the missed lines were studied. The second step, the result showed that there were 2 impacts factors including the relax time and pins. The levels of relax time were 4, 7 and 12 hours and the levels of pins were 2, 4 and 5 rows. The third step, there were 6 colors of striped fabric; red, sky blue, white, blue, navy blue and black in this experiment. It could be concluded that the suitable relax time was 12 hours and the number of pins was 5 rows. The fourth step, the specification design of cutting process consisted of work instruction and control procedure. The final step, the result of implement specification design found that the number of missed lines in the cutting process of striped fabric was 578 pieces from 10,800 pieces or 5.35% in all colors. Each color produced 1,800 pieces. The first and second color of missed lines were black (109 pieces, 6.89%) and navy blue (120pieces, 6.67%). While the missed lines of blue, red and sky blue were 109 pieces (6.06%), 102 pieces (5.67%) and 70 pieces (3.89%) respectively. The least defect was white (53 pieces, 2.94%).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1512-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป -- การลดปริมาณของเสียen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมเสื้อผ้า -- การลดปริมาณของเสียen_US
dc.subjectของเสียจากโรงงานen_US
dc.subjectการลดปริมาณของเสียen_US
dc.subjectWaste minimizationen_US
dc.subjectClothing trade -- Waste minimizationen_US
dc.subjectFactory and trade wasteen_US
dc.titleการออกแบบข้อกำหนดของกระบวนการตัดผ้าลายริ้วen_US
dc.title.alternativeThe specification desigh of cutting process for striped fabricen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorJittra.R@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1512-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jarupon_so.pdf6.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.