Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36553
Title: การประเมินสมรรถนะของโครงข่ายไร้สายแบบวิวิธพันธุ์ที่มีการโอนถ่ายของอุปกรณ์ผู้ใช้งาน
Other Titles: Performance evaluation of heterogeneous wireless network with migration of user equipment
Authors: สิงหา ประพจนาภรณ์
Advisors: เชาวน์ดิศ อัศวกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: chaodit.a@chula.ac.th
Subjects: ระบบสื่อสารไร้สาย
ระบบสื่อสารข้อมูล
Wireless communication systems
Data transmission systems
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เสนอการประเมินสมรรถนะของโครงข่ายสื่อสารไร้สายแบบวิวิธพันธุ์ ซึ่งมีเทคโนโลยีระบบใหม่และระบบเดิมอยู่ในพื้นที่ให้บริการบริเวณเดียวกัน เมื่อมีการโอนถ่ายอุปกรณ์ผู้ใช้งานจากอุปกรณ์รุ่นเดิมที่สามารถเข้าถึงโครงข่ายเดิมได้เพียงโครงข่ายเดียว ไปเป็นอุปกรณ์รุ่นใหม่ที่สามารถเข้าถึงโครงข่ายใหม่และโครงข่ายเดิมได้ โดยพิจารณาการปรับค่าอัตราส่วนของปริมาณทราฟฟิกทุกประเภทที่สามารถเข้าถึงทั้งโครงข่ายใหม่และโครงข่ายเดิมได้ เทียบกับปริมาณทราฟฟิกทั้งหมด (ปริมาณทราฟฟิกที่สามารถเข้าถึงทั้งโครงข่ายใหม่และโครงข่ายเดิมได้รวมกับปริมาณทราฟฟิกที่สามารถเข้าถึงโครงข่ายเดิมได้เพียงโครงข่ายเดียว) วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ คำนวณค่าความน่าจะเป็นเฉลี่ยที่การเรียกเข้าใด ๆ ของทราฟฟิกจะถูกปฏิเสธการเข้าใช้จากโครงข่ายใหม่ และค่าความน่าจะเป็นเฉลี่ยที่การเรียกเข้าใด ๆ ของทราฟฟิกจะถูกปฏิเสธการเข้าใช้จากโครงข่ายเดิม เป็นตัวชี้วัดสมรรถนะของโครงข่ายใหม่และโครงข่ายเดิม ตามลำดับ โดยตรรกะแล้ว การโอนถ่ายอุปกรณ์ผู้ใช้งานจากอุปกรณ์รุ่นเดิมที่สามารถเข้าถึงโครงข่ายเดิมได้เพียงโครงข่ายเดียว ไปเป็นอุปกรณ์รุ่นใหม่ที่สามารถเข้าถึงโครงข่ายใหม่และโครงข่ายเดิมได้ คือการเพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดสมดุลย์ของปริมาณทราฟฟิก ควรจะส่งผลให้สมรรถนะของโครงข่ายเดิมดีขึ้น โดยเฉพาะจุดที่มีการโอนถ่ายอย่างสมบูรณ์ ซึ่งเป็นจุดที่อุปกรณ์ผู้ใช้งานทั้งหมดสามารถเข้าถึงโครงข่ายไร้สายทั้งหมดที่มีให้บริการได้ นั่นคือสามารถใช้ประโยชน์ของทรัพยากรทั้งหมดที่มีในโครงข่ายสื่อสารไร้สายแบบวิวิธพันธุ์ที่ให้บริการได้สูงสุด แต่ในวิทยานิพนธ์นี้จะแสดงบทพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ถึงสมรรถนะที่ด้อยลงของโครงข่ายเดิม ณ จุดที่มีการโอนถ่ายของอุปกรณ์ผู้ใช้งานอย่างสมบูรณ์ เมื่อเปรียบเทียบกับจุดที่มีการโอนถ่ายของอุปกรณ์ผู้ใช้งานอย่างไม่สมบูรณ์ รวมถึงแสดงเงื่อนไขเพียงพอที่จะทำให้เกิดปรากฎการณ์ดังกล่าว และสามารถกำหนดช่วงที่สามารถปรับปรุงโครงข่ายใหม่ได้เสมอ และช่วงเข้าสู่ภาวะที่ไม่สามารถคาดเดาการเปลี่ยนแปลงสมรรถนะของโครงข่ายเดิม เมื่อมีการโอนถ่ายของอุปกรณ์ผู้ใช้งานได้ โดยบทพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ทั้งหมดนั้น ตั้งอยู่บนข้อสมมติฐานของคุณสมบัติของเซกเตอร์ที่ให้บริการ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จริงในสถานการณ์ทางปฏิบัติ นั่นคือคุณสมบัติของเซกเตอร์ที่ให้บริการเมื่อมีการติดตั้งโครงข่ายใหม่ซ้อนทับโครงข่ายเดิมในบางเซกเตอร์ให้บริการหรือในบางพื้นที่เท่านั้น (hotspot) นอกจากนี้ วิทยานิพนธ์ได้แสดงผลลัพธ์เชิงตัวเลขและผลการจำลองระบบ พบว่าการโอนถ่ายอุปกรณ์ผู้ใช้งานจากอุปกรณ์รุ่นเดิมไปเป็นอุปกรณ์รุ่นใหม่ อาจจะส่งผลให้สมรรถนะของโครงข่ายใหม่และโครงข่ายเดิมด้อยลงได้ หากปริมาณทราฟฟิกที่ต้องการใช้บริการในเซกเตอร์แต่ละเซกเตอร์มีค่าแตกต่างกันสูง แต่อย่างไรก็ตาม จากผลลัพธ์เชิงตัวเลขเพิ่มเติมพบว่า การโอนถ่ายของอุปกรณ์ผู้ใช้งานจะทำให้สมรรถนะโดยรวมของโครงข่ายสื่อสารไร้สายแบบวิวิธพันธุ์ปรับปรุงดีขึ้นเสมอ
Other Abstract: This thesis presents a performance evaluation of heterogeneous wireless networks based on overlays of new/existing radio access technologies, while old equipments which are compatible with only the existing but not the new networks are gradually replaced by those new user equipments that work with both the existing and new networks. The thesis uses an average probability for call blocking of new network and an average probability for call blocking of the existing network as the main QoS parameter, and varies the percentage of traffic intensity generated from new user equipments to analyze affects from the migration of user equipment. Logically, the migration of user equipment should increase the flexibility of a load balancing in the heterogeneous wireless networks and give an improved QoS on the existing network especially at the full migration point of user equipment which should be the optimum point since all user equipments could access to all available networks and give the best resource utilisation in the heterogeneous wireless networks. But, in this thesis, we will present the mathematical derivation to prove that the efficiency of existing network at the full migration point of user equipment is worse than the efficiency of existing network at the non-full migration point based on the assumptions of the operating sector which accords to the practical situation e.g. hotspot installation type of the new network. And from those mathematical derivations, we could give the sufficient conditions of the occurring paradox phenomenon, and define the guarantee part of the improved QoS on the existing network and the unpredictable part of the QoS on the existing network during the migration of user equipment. Moreover, this thesis also provides numerical and simulation results which show that the migration of user equipment may lead to degraded QoS on both the new and existing networks if the traffic intensity in each sector is largely different. By the way, our additional numerical results show that the migration of user equipment always improves the overall QoS on the heterogeneous wireless.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36553
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1586
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1586
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
singha_pr.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.