Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36575
Title: | Capitation payment method as a policy tool, versus fee for services, for financial sustainability of the national health insurance in Sudan : Algadarif case study |
Other Titles: | การเปรียบเทียบวิธีการจ่ายแบบรายหัวกับการจ่ายแบบค่าธรรมเนียมเพื่อความยั่งยืนทางการเงินของระบบประกันสุขภาพแห่งชาติของซูดาน : กรณีศึกษารัฐอัลกาดาริฟ |
Authors: | Ammar M. A. Alasha Ammar Mohammed Abdalla Alasha |
Advisors: | Siripen Supakanhunti Jiruth Sriratanaban |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Economics |
Advisor's Email: | siripen.s@chula.ac.th jiruth@md.chula.ac.th |
Subjects: | National health insurance -- Sudan -- Administration National health services -- Sudan -- Administration National health insurance -- Sudan -- Cost effectiveness National health services -- Sudan -- Cost effectiveness Medical economics -- Sudan ประกันสุขภาพแห่งชาติ -- ซูดาน -- การบริหาร บริการสาธารณสุขแห่งชาติ -- ซูดาน -- การบริหาร ประกันสุขภาพแห่งชาติ -- ซูดาน -- การวิเคราะห์และประเมินโครงการ บริการสาธารณสุขแห่งชาติ -- ซูดาน -- การวิเคราะห์และประเมินโครงการ |
Issue Date: | 2012 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | Moving away from Fee-For-Services payment method in the National Health Insurance fund- Algadarif State to capitation, is an important step towards averting the financial sustainability problem of the scheme associated with such payment. The objectives of this study are to analyze the cash flow and the financial status of the National Health Insurance –Algadarif State during the last five years (2008-2012) and to evaluate the financial status during the years 2013-2017 if the Fee for Services payment method changes into capitation payment method. The study tries to calculate the per capita rate by using top-down allocation method and then investigates the financial sustainability in three different scenarios; Scenario (A) Total revenues increase according to the trend in the past and the total health expenditures under FFS with the actual outpatient provider's expenditures adjusted to the expected inflation rate 30%, 35% and 40%. Scenario (B) the same as (A) but the outpatient paid under capitation payment method for both NHIF and providers adjusted to the same inflation rates. Scenario (C) revenues increase by 2% and the NHIF perspective under both FFS and capitation adjusted to inflation rate. All scenarios also adjusted to different utilization rate. The methods used by the study are based on cash flow analysis, trend analysis, growth ratio method and per capita calculation method. Data used for analyzing total revenues, total expenditures and calculating per capita rate are obtained from the financial and coverage records of the NHIF-Algadarif State during the year 2008-2012 and the actual outpatient expenditures data are obtained from the providers in the year 2012. The findings indicate that, the financial gap for the years 2008-2012 are negative except in the year 2008 and 2009, therefore the expected financial gap are negative in the three scenarios from NHIF perspective. If the NHIF continue on FFS for outpatient, will incur more loss especially at high inflation and utilization rate, in contrast the providers will gain more profit. Under capitated outpatient the NHIF will decrease the expenditures by 14% for the coming year 2013-2017, but the providers will get loss especially at high inflation and utilization rate so the providers may change their behavior to compensate the loss. For financial sustainability, the scheme should increase its revenues from non-government source such as expand the coverage, investments and increasing the contribution rate during the year 2013-2017. |
Other Abstract: | หลักการเปลี่ยนวิธีการชำระเงินจากการจ่ายแบบค่าธรรมเนียมมาเป็นการจ่ายแบบรายหัวของกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติรัฐอัลกาดาริฟเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญในการดำเนินการต่อไปเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความไม่ยั่งยืนทางการเงินของกองทุนอันเนื่องมาจากวิธีการจ่ายเงินแบบค่าธรรมเนียม วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือการวิเคราะห์กระแสเงินสดและฐานะทางการเงินของระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ ในรัฐอัลกาดาริฟ ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา (2551-2555) และเพื่อประเมินสถานะความยั่งยืนทางการเงินในช่วงปี 2556-2560ในกรณีที่เปลี่ยนแปลงระบบการจ่ายเงินแบบค่าธรรมเนียมที่ใช้อยู่เดิมมาเป็นการจ่ายแบบรายหัว การศึกษานี้พยายามที่จะคำนวณอัตราต่อหัวโดยใช้วิธีการจัดสรรจากบนลงล่างจากนั้นจึงทำการสำรวจความยั่งยืนทางการเงินในสามสถานการณ์ที่แตกต่างกัน; ในสถานการณ์ (A) นั้น รายได้รวมเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มในอดีตและค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพรวมภายใต้ระบบการจ่ายแบบค่าธรรมเนียมกับผู้ป่วยนอกที่เกิดขึ้นจริง โดยค่าใช้จ่ายผู้ให้บริการให้ปรับตามอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ 30%, 35% และ 40%ส่วนในสถานการณ์ (B) นั้นเป็นเช่นเดียวกับสถานการณ์ (A) แต่ผู้ป่วยนอกจ่ายภายใต้วิธีการจ่ายแบบรายหัว โดยปรับอัตราเงินเฟ้อเดียวกัน และในสถานการณ์ (C) เช่นเดียวกับสถานการณ์ (B) แต่รายได้เพิ่มขึ้น 2% ในแต่ละปีที่จะมาถึง (2556-2560) อ้างอิงจากสถานการณ์ของระบบประกันสุขภาพแห่งชาติโดยปรับค่าตัวแปรต่างๆ ตามอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้จะใช้การปรับค่าด้วยอัตราการใช้บริการกับทุกสถานการณ์จำลองในการศึกษา วิธีการที่ใช้ในการศึกษานี้ จะใช้การวิเคราะห์กระแสเงินสด วิธีการวิเคราะห์แนวโน้ม วิธีอัตราการเจริญเติบโตและวิธีการคำนวณอัตรารายหัว ซึ่งข้อมูลที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ มีดังนี้คือ รายได้รวม ค่าใช้จ่ายทั้งหมดและการคำนวณอัตรารายหัวได้ทำการรวบรวมมาจากบันทึกทางการเงินและรายงาน ของระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ – รัฐอัลกาดาริฟ ในช่วงปี 2551-2555 และข้อมูลที่แท้จริงของผู้ป่วยนอกได้รับข้อมูลจากผู้ให้บริการในปี 2555 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าช่องว่างทางการเงินสำหรับปี 2551-2555 นั้น เป็นลบ ยกเว้นในปี 2551 และ 2552 ดังนั้นระดับช่องว่างทางการเงินที่คาดการณ์จะติดลบในสถานการณ์สมมติทั้งสามสถานการณ์ ซึ่งหากระบบการจ่ายเงินของกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติยังคงใช้ระบบการจ่ายเงินแบบค่าธรรมเนียมกับผู้ป่วยนอกต่อไป จะเกิดภาระทางการเงินสูงขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่อัตราเงินเฟ้อและอัตราการใช้บริการอยู่ในระดับสูง แต่ผู้ให้บริการจะได้รับกำไรที่สูงขึ้น แต่หากใช้ระบบการจ่ายเงินต่อหัว กองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติจะสามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ถึง 14 เปอร์เซ็นต์ในระหว่างช่วงปี 2556 – 2560 แต่ผู้ให้บริการจะขาดทุนมากขึ้น โดยเฉพาะในกรณีอัตราเงินเฟ้อและอัตราการใช้บริการสูง ดังนั้นอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ให้บริการได้เพื่อชดเชยผลกระทบดังกล่าว สำหรับในแง่ของความยั่งยืนทางการเงินนั้น การดำเนินนโยบายควรเพิ่มรายรับให้มากขึ้นจากภาคส่วนที่มิใช่ของรัฐบาล เช่น ผ่านการใช้การเพิ่มความครอบคลุม การลงทุนที่เกี่ยวข้องและเพิ่มอัตราการอุดหนุน ในระหว่างช่วงปี 2556 – 2560 ที่ทำการศึกษา |
Description: | Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2012 |
Degree Name: | Master of Science |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Health Economics and Health Care Management |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36575 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.871 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.871 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ammar Mhammed Abdalla_ al.pdf | 2.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.