Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36615
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปวีณา เชาวลิตวงศ์-
dc.contributor.authorนิติพงษ์ เล็กสุพรรณโรจน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-11-08T04:46:14Z-
dc.date.available2013-11-08T04:46:14Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36615-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractในกระบวนการตัดกระจกแผ่นเรียบของโรงงานตัวอย่างได้พบการสูญเสียจากรอยการตัดซึ่งทำให้เกิดของเสียขึ้นในกระบวนการผลิต เนื่องจากกระบวนการตัดในปัจจุบันไม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานการใช้งานใบมีดตัดกระจก และระบบการทำงานของพนักงานที่ควบคุมการตัด ส่งผลให้เกิดการใช้งานใบมีดตัดที่หมดสภาพในกระบวนการตัด ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบมาตรฐานการใช้งานใบมีดตัดกระจก และระบบการควบคุมกระบวนการทำงานของพนักงานควบคุมการตัดในกระบวนการตัดกระจกแผ่นเรียบ โดยได้ทำการศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อคุณภาพกระจกที่ตัด ได้แก่ ระยะทางการใช้งานของใบมีดตัด ความดันกดตัด และขนาดของใบมีดตัด และสร้างสมการความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้ง 3 เพื่อใช้ทำนายระยะทางการใช้งานใบมีดตัดที่เหมาะสมก่อนที่จะเกิดการสูญเสียขึ้นในการตัดกระจกความหนา 2.0 มิลลิเมตร ที่มีความเร็วในการไหล 890 เมตรต่อชั่วโมง ผลการวิจัยพบว่าความดันกดตัดที่เหมาะสมกับขนาดของใบมีดตัดที่ให้ระยะทางการใช้งานใบมีดสูงที่สุด คือใบมีดตัดขนาด 4.0 – 4.3 มิลลิเมตร ควรใช้ความดันกดตัดที่ 0.50 kgf/cm2 ใบมีดตัดขนาด 4.4 – 4.7 มิลลิเมตร ควรใช้ความดันกดตัดที่ 0.52 kgf/cm2 และใบมีดตัดขนาด 4.8 – 5.0 มิลลิเมตร ควรใช้ความดันกดตัดที่ 0.55 kgf/cm2 ต่อจากนั้นได้ทำการสร้างแบบจำลองผลของสมการโดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel 2010 เพื่อทดสอบผลที่ได้จากสมการเทียบกับการทำงานในสภาพปัจจุบัน จากผลการประยุกต์ใช้กระบวนการป้องกันพบว่าจะสามารถลดปริมาณการสูญเสียที่เกิดขึ้นได้ 65 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับสภาวะก่อนการใช้มาตรฐาน นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถใช้งานใบมีดตัดทั้งหมดใน 1 ใบ เป็นระยะทางที่เพิ่มขึ้นจากวิธีการเดิม 40 เปอร์เซ็นต์ ในการตัดตามแนวขวางการไหล ซึ่งเป็นการใช้งานใบมีดตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeIn-process cutting losses are usually occurred in flat glass manufacturing of the case study company. Since the standard for cutter wheel usage has not been done, the over-worn cutter wheels are often used. The objective of this research is to set the standard of cutter wheel usage. The variables related to cutting quality are studied such as cut distant, pressure, and cutting wheel diameters. The regression model is applied to show the relationship of the three variables in order to estimate the appropriate use of cutting wheel before it is worn off for 2-millimeters glass thickness with 890 meters per hour of speed. The result found that the appropriate pressures are 0.50 kgf/cm2, 0.52 kgf/cm2, and 0.55 kgf/cm2 for cutting wheel diameter ranges of 4.0-4.3 millimeters, 4.4-4.7 millimeters, and 4.8-5.0 millimeters respectively. The simulation model using Microsoft Excel 2010 was used to compare the result from regression model and actual data. After the proposed standard usage is implemented, the results show that the cutting losses can be reduced by 65%. Moreover, distant cut by the cutter wheel is increased by 40% when following the suggested standard usage developed by the regression model which can enhance the usage efficiency of cutter wheel.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1529-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมกระจก -- การลดปริมาณของเสียen_US
dc.subjectกระจกen_US
dc.subjectของเสียจากโรงงานen_US
dc.subjectการลดปริมาณของเสียen_US
dc.subjectGlassen_US
dc.subjectFactory and trade wasteen_US
dc.subjectWaste minimizationen_US
dc.titleการลดความสูญเสียจากการผลิต แผนกกระบวนการตัด ในอุตสาหกรรมการผลิตกระจกแผ่นเรียบen_US
dc.title.alternativeLoss reduction in cutting section of flat glass industryen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorpaveena.c@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1529-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nitipong_le.pdf6.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.