Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36683
Title: | ความรับผิดทางละเมิดในการให้คำแนะนำโดยประมาท |
Other Titles: | Tort liability for negligent misstatements |
Authors: | ปวรา โพธิพิพิธ |
Advisors: | ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sanunkorn.S@Chula.ac.th |
Subjects: | กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ละเมิด ละเมิด Torts |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีความมุ่งหมายในการศึกษาหลักความรับผิดทางละเมิดในการให้คำแนะนำโดยประมาท อันเป็นหลักกฎหมายที่ถือกำเนิดและวิวัฒนาการมาจากคำพิพากษาของศาลในระบบ Common Law ว่ามีหลักเกณฑ์อย่างไร จนกระทั่งประเทศในระบบ Civil Law ได้นำหลักกฎหมายนี้มาศึกษาและสร้างหลักเกณฑ์ในการปรับใช้ขึ้นมาซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะปัญหาช่องว่างทางกฎหมายซึ่งไม่สามารถค้นหากฎหมายใดๆที่นำมาใช้ครอบคลุมข้อเท็จจริงได้ทุกกรณี หลักความรับผิดทางละเมิดในการให้คำแนะนำโดยประมาทเกิดขึ้นจากคำพิพากษาของศาลอังกฤษ โดยวัตถุประสงค์ที่ต้องการคุ้มครองความไว้เนื้อเชื่อใจของบุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการให้คำแนะนำโดยประมาทของบุคคลอื่น ดังนั้นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของหลักนี้คือ ผู้เสียหายและผู้ให้คำแนะนำต้องมีความสัมพันธ์พิเศษต่อกัน ความสัมพันธ์พิเศษนั้นจะก่อให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจที่ผู้เสียหายมีต่อความรู้ความเชี่ยวชาญของผู้ให้คำแนะนำอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งเมื่อผู้ให้คำแนะนำทราบถึงความไว้เนื้อเชื่อใจดังกล่าว จะสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ให้คำแนะนำมีความรับผิดชอบในคุณภาพของคำแนะนำที่จะให้แก่ผู้เสียหายและจะมีหน้าที่ใช้ความระมัดระวังในการให้คำแนะนำด้วยความไม่ประมาท หากผู้ให้คำแนะนำฝ่าฝืนหน้าที่นั้นและส่งผลให้ผู้รับคำแนะนำได้รับความเสียหาย ผู้ให้คำแนะนำจำต้องรับผิดต่อผู้รับคำแนะนำในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่ตนให้คำแนะนำไปโดยประมาทตามหลักความรับผิดทางละเมิดในการให้คำแนะนำโดยประมาทนี้ จากลักษณะของความรับผิดทางละเมิดนี้ สิทธิของผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหาย คือ สิทธิทางเศรษฐกิจโดยแท้ อันมิใช่สิทธิเด็ดขาดที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายละเมิดไทย ดังนั้นหากเกิดข้อเท็จจริงที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากการให้คำแนะนำโดยประมาทขึ้นในประเทศไทยแล้ว ผู้เสียหายย่อมไม่อาจได้รับการเยียวยาค่าสินไหมทดแทนจากกฎหมายละเมิดได้ จึงก่อให้เกิดปัญหาช่องว่างทางกฎหมายที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข นอกจากนี้การจะรับหลักความรับผิดทางละเมิดจากการให้คำแนะนำโดยประมาทซึ่งเป็นหลักกฎหมายในระบบ Common Law มาปรับใช้เลยก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากนิติวิธีในการบังคับใช้กฎหมายของระบบ Common Law และ Civil Law แตกต่างกัน ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาที่มีแนวโน้มจะเป็นไปได้ คือ การนำหลักกฎหมายสัญญามาปรับใช้ โดยเริ่มให้ความคุ้มครองผู้เสียหายที่มีความสัมพันธ์ทางสัญญากับผู้ให้คำแนะนำในการเยียวยาความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยแท้อันเกิดเนื่องมาจากการให้คำแนะนำใดๆได้ ซึ่งการเริ่มต้นเช่นนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการพัฒนาความคุ้มครองผู้เสียหายจากการให้คำแนะนำโดยประมาทเกิดขึ้นในกฎหมายไทยต่อไป |
Other Abstract: | This thesis aims to study the doctrine of Negligent Misstatements established and developed by the Judgments of the Court in Common Law system in terms of its origin, development, applications, approaching to Civil Law system, as well as how it leads to the legal problems especially on the gap of law that the law provision cannot be sought to apply to any situation. Negligent Misstatements was established by the Judgment of the Court in United Kingdom for the purpose of protecting the claimant’s reliance in the statement given from advisor’s negligence. The basis of this doctrine is the special relationship between claimant and advisor that results in the reasonable reliance by the claimant on the advisor specialist skill and judgment. Therefore, the Assumption of Responsibility in the quality of advice will be arisen on behalf of the advisor, either explicit or implicit, of awareness of the claimant’s reliance. The duty of care is owned by the advisor to the claimant. The advisor is liable for giving negligent advice when the advisor breaches the duty and causes the claimant damage on the ground of Negligent Misstatements. Since the nature of this tort liability, the injured right of claimant is the right of pure economic which is excluded from absolute rights in tort law of Thailand. Therefore, the claimant injured from negligent advice cannot sue the advisor based on tort law. This leads to unsolved legal gap problem. Furthermore, the application of Negligent Misstatements doctrine in Thai tort law is not possible because of its distinction between Common Law and Civil Law system. However, the solution possibly tends to apply contract law approach to this field as well. Protecting the claimant who has contractual relationship with the advisor for recovery the pure economic loss is the beginning of the protection of the claimant damage resulted from Negligent Misstatements, in Thai Law. However, this protection may be further developed in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36683 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1551 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1551 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pavara_ph.pdf | 2.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.