Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36707
Title: เภสัชจลนศาสตร์ของสาร capsaicin ในพริกขี้หนูสดและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพริกขี้หนูสดต่อน้ำตาลในเลือดในอาสาสมัครสุขภาพดี
Other Titles: Pharmacokinetic of capsaicin in capsicum frutescens and pharmacological effect of capsicum frutescens on plasma glucose in healthy volunteers
Authors: กมล ไชยสิทธิ์
Advisors: สุพีชา วิทยเลิศปัญญา
วีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Supeecha.W@Chula.ac.th
Weerapan.K@Chula.ac.th
Subjects: เภสัชวิทยา -- การทดลอง
แคปไซซิน
พริกขี้หนู
น้ำตาลในเลือด
Pharmacology -- Experiments
Capsaicin
Capsicum
Blood sugar
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พริกขี้หนูสดเป็นพืชผักสวนครัวที่บริโภคกันมาช้านาน และได้มีการค้นพบสารสำคัญในพริกขี้หนูที่ทำให้เกิดความเผ็ดร้อนคือ capsaicin และพบว่า capsaicin ส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆในร่างกายได้หลายระบบ โดยการศึกษานี้จะทำการศึกษาฤทธิ์ของพริกขี้หนูสดต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือด และหาค่าเภสัชจลนศาสตร์ของ capsaicin ในพริกขี้หนู โดยศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 12 คน ให้อาสาสมัครทำ OGTT ร่วมกับการได้รับ placebo และพริกขี้หนูสดขนาด 5 กรัม จากนั้นให้อาสาสมัครกลุ่มเดิมได้รับ placebo และ พริกขี้หนูสดขนาดเดียวกัน เพื่อศึกษาการกระตุ้นการหลั่งอินสุลินและวัดระดับของ capsaicin ในเลือดโดยใช้เครื่อง HPLC ผลการศึกษาพบว่าอาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับพริกขี้หนูสดร่วมกับการทำ OGTT มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับ placebo โดยที่เวลา 30 และ 45 นาทีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) และอาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับพริกขี้หนูสดมีระดับอินสุลินสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับ placebo โดยที่เวลา 1 ชั่วโมง 1ชั่วโมง 15 นาที 1 ชั่วโมง 45 นาที และ 2 ชั่วโมง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) และระดับอินสุลินเมื่อเทียบกับเวลาก่อนได้รับสารทดสอบ กลุ่มที่ได้รับพริกขี้หนูสดไม่มีความเปลี่ยนแปลง แต่ในกลุ่มที่ได้รับ placebo มีระดับอินสุลินลดลง และค่าเภสัชจลนศาสตร์ของ capsaicin ได้แก่ ค่า C[subscript max] เท่ากับ 2.47 ±0.46 นาโนกรัม/มิลลิลิตร ค่า T[subscript max] เท่ากับ 47.08 ±6.89 นาที ค่า AUC[subscript 0-alpha] เท่ากับ 103.6 ±38.99 นาโนกรัม.นาที/ มิลลิลิตร K[subscript el] เท่ากับ 0.4 ± 0.4 นาที[super script -1] และค่า T[subscript ½] เท่ากับ 24.87 ±17.2 นาที จากการศึกษาพบว่าพริกขี้หนูสดขนาด 5 กรัมมีคุณสมบัติในการลดระดับน้ำตาลในเลือดและสามารถรักษาระดับอินสุลินไม่ให้ลดลงเมื่อเวลาผ่านไปได้ โดยผลที่ได้น่าจะมาจากสาร capsaicin ที่เข้าสู่ร่างกายด้วยค่าเภสัชจลนศาสตร์ดังกล่าว
Other Abstract: Capsicum is a household vegetable which has been consumed for a long time. The active substance that gives hot and spicy flavour was found as capsaicin which has many effects on many organs. This research was conducted to study the effect of capsicum on plasma glucose level and find the pharmacokinetic of capsaicin in Capsicum frutescens. The study was performed in 12 healthy volunteers by having the OGTT as well as receiving the placebo and 5 grams of capsicum. Then the same volunteers were given placebo and the same amount of capsicum to study the insulin secretion and measure the capsaicin level in plasma by using the HPLC method. The results show that the volunteers who were given capsicum with OGTT have the tendency of the plasma glucose level lower than the placebo group with finding statistically significant different at 30 and 45 minutes ( P<0.05). The group given the capsicum has the tendency of insulin level higher than the placebo group with also finding statistically significant different at 1 hr.,1 hr. 15 minutes,1 hr. 45 minutes and 2 hrs ( P<0.05). When comparing insulin level at time before to after receiving capsicum and placebo, capsicum group have not any change in insulin level. On the other hand, placebo group showed insulin level significantly gradually decreased. The pharmacokinetic parameters of capsaicin shown as C[subscript max], T [subscript max], AUC[subscript 0-alpha] , K[subscript el], T[subscript ½] are 2.47 ±0.46 ng/ml, 47.08 ±6.89 min, 103.6 ±38.99 ng.min/ml, 0.4 ±0.4 min[supescript -1] and 24.87 ±17.2 min, respectively. The study found that 5 grams of capsicum has the effect to decrease plasma glucose level and maintain insulin level. This result could be caused by capsaicin in capsicum which is absorbed and distributed to the body with PK parameters as mention.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยา (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36707
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.164
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.164
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kamon_ch.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.