Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36764
Title: | ฤทธิ์ขับปัสสาวะของชากระเจี๊ยบและหญ้าหวานเทียบกับยาไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
Other Titles: | Comparison of diuretic effect of roselle (hibiscus sabdariffa) and stevia (stevia rebaudiana) tea with hydrochlorothiazide in diabetic patients with hypertension at King Chulalongkorn Memorial Hospital |
Authors: | ศศิธร แสงเนตร |
Advisors: | ธิติมา วัฒนวิจิตรกุล สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Advisor's Email: | Thitima.W@Chula.ac.th |
Subjects: | เบาหวาน -- การรักษาด้วยยา เบาหวาน -- ผู้ป่วย ความดันเลือดสูง -- การรักษาด้วยยา กระเจี๊ยบ หญ้าหวาน Diabetes Diabetics Hypertension Roselle Stevia |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบฤทธิ์ขับปัสสาวะและผลการลดความดันโลหิตของชากระเจี๊ยบ-หญ้าหวานกับ ยาไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ (Hydrochlorothiazide: HCTZ) ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะความดันโลหิตสูง วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบข้ามกลุ่มการรักษา เชิงสุ่มและไม่ปกปิดการรักษาทั้งสองข้าง ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 22 คน ถูกแบ่งกลุ่มการรักษาด้วยการสุ่มแบบปกปิด ให้ได้รับชากระเจี๊ยบ-หญ้าหวาน (ซองละ 2/0.2 กรัม) 2 ซองต่อวัน หรือ ยา HCTZ 25 มก. วันละ 1 ครั้ง นาน 30 วัน จากนั้นหยุดให้การรักษา 7 วัน แล้วสลับการรักษาในแต่ละกลุ่มต่ออีก 30 วันมีการประเมินฤทธิ์ขับปัสสาวะจากปริมาณโซเดียมที่ขับออกทางปัสสาวะและจากปริมาตรปัสสาวะภายใน 24 ชม.และประเมินผลการลดความดันโลหิตจากความดันโลหิตขณะวัดที่บ้านหลังได้รับการรักษาแต่ละช่วง ผลการศึกษา เมื่อได้รับการรักษานาน 30 วันพบว่าทั้งชากระเจี๊ยบ-หญ้าหวานกับยา HCTZ ลดปริมาณโซเดียมที่ขับออกทางปัสสาวะอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) (จาก 157.1±87.5 เป็น 151.8±58.5 มิลลิอิควิวาเลนท์/วัน หลังดื่มชากระเจี๊ยบ-หญ้าหวาน; เป็น 135.9±88.1 มิลลิอิควิวาเลนท์/วัน หลังได้รับยา HCTZ) และลดปริมาตรปัสสาวะภายใน 24 ชม.อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) (จาก 1,709.5±935.6 เป็น 1,608.2±721.7มล.หลังดื่มชากระเจี๊ยบ-หญ้าหวาน; เป็น1669.1 ± 732.8 มล.หลังได้รับยา HCTZ ) เมื่อเปรียบเทียบผลขับปัสสาวะของชากระเจี๊ยบ-หญ้าหวานกับยา HCTZ พบว่าไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าความดันโลหิตเฉลี่ยทั้งขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัวหลังได้รับชากระเจี๊ยบ-หญ้าหวานและยา HCTZ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับค่าเริ่มต้น โดยลดจาก 144.5±7.6/81.3±8.9 เป็น 139.2±9.8/78.5±9.6 และ 129.0±10.9/74.4±8.5 มม.ปรอท ตามลำดับ (p<0.05) ความดันโลหิตที่ลดลงหลังการดื่มชากระเจี๊ยบ-หญ้าหวานน้อยกว่าหลังการกินยา HCTZ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (-5.2±8.6/-2.8±8.6 และ -15.5±9.1/-6.9±5.7 มม.ปรอท; p<0.05) ไม่มีผู้ป่วยออกจากการศึกษาเนื่องจากอาการไม่พึงประสงค์จากชากระเจี๊ยบ-หญ้าหวานหรือยา HCTZ สรุปการศึกษา การศึกษาครั้งนี้ไม่พบผลการขับปัสสาวะของทั้งชากระเจี๊ยบ-หญ้าหวานและยา HCTZ หลังให้นาน 30 วัน ชากระเจี๊ยบ-หญ้าหวานสามารถลดความดันโลหิตในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะความดันโลหิตสูงแต่ลดได้น้อยกว่ายา HCTZ ความดันโลหิตที่ลดลงหลังจากการได้รับชากระเจี๊ยบ-หญ้าหวานและยา HCTZ อาจมีกลไกอย่างอื่นนอกจากฤทธิ์การขับปัสสาวะ |
Other Abstract: | Objectives: To compare diuretic and antihypertensive effects of Roselle-Stevia (R-S) tea with hydrochlorothiazide (HCTZ) in diabetic patients with hypertension. Methods: This study was a prospective, randomized, open label, two-way crossover study. Twenty two diabetic patients with hypertension were randomly assigned with concealed allocation to receive either R-S tea (each sachet 2/0.2 g) 2 sachets daily or HCTZ 25 mg once daily for 30 days. Then there was a 7-day washout period followed by crossover to the other treatment. Diuretic effects (24-hour urinary sodium excretion and urine volume) and antihypertensive effects (home blood pressure monitoring) were assessed at the end of each 30-day treatment period. Results: Compared with baseline, both treatments slightly reduced 24-hour urinary sodium excretion (R-S tea from 157.1±87.5 to 151.8±58.5 mEq, p>0.05; HCTZ to 135.9±88.1 mEq, p>0.05) and urine volume (R-S tea from 1,709.5±935.6 to 1,608.2±721.7 mL, p>0.05; HCTZ to 1,669.1±732.8 mL, p>0.05). No significant difference was found in urinary sodium excretion and urine volume for R-S tea versus HCTZ (p > 0.05). We found that both R-S tea and HCTZ significantly reduced systolic/diastolic blood pressures from baseline (R-S tea from 144.5±7.6/81.3±8.9 to 139.2±9.8/78.5, p<0.05; HCTZ to 129.0±10.9/74.4±8.5 mmHg, p<0.05). The blood pressure reduction after R-S tea administration was -5.2±8.6/-2.8±8.6 mmHg, significantly less than after HCTZ (-15.5±9.1/-6.9±5.7 mmHg; p<0.05). No patient dropped out due to adverse events. Conclusions: Neither R-S tea nor HCTZ showed diuretic effect at 30th day of treatment in diabetic patients with hypertension. R-S tea decrease blood pressure less than HCTZ in hypertensive diabetic patients. Our findings suggest other mechanisms of action for the blood pressure lowering effect of R-S tea and HCTZ. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เภสัชกรรมคลินิก |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36764 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.792 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.792 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sasithorn_sa.pdf | 2.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.