Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36785
Title: | ภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตคานามัยซินโดยสายพันธุ์กลายของ Streptomyces kanamyceticus |
Other Titles: | Optimal condition for the production of Kanaychin by Streptomyces kanamyceticus |
Authors: | อรอนงค์ พริ้งศุลกะ |
Advisors: | สุรีนา ชวนิชย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จากการผลิตคานามัยซินโดยสายพันธุ์กลายของ Streptomyces kanamyceticus K1 จำนวน 3 สายพันธุ์คือ UUNK15, UUNNK1 และ UUNNK25 พบว่าสายพันธุ์กลาย UUNNK1 สามารถผลิตคานามัยซินได้สูงสุด เป็น 70 ไมโครกรัมต่อมิลลิตร ดังนั้นจึงนำสายพันธ์ดังกล่าวมาเลี้ยในอาหารเหลวเคพีเอ็มบี พบว่าภาวที่เหมาะสมต่อการผลิตคานามัยซินของสายพันธุ์ UUNNK1 ในระดับขวดเขย่า คืออาหารเลี้ยงเชื้อที่ประกอบด้วย แป้ง 15 กรัม ซอยโทน 8 กรัม แคโต-เปปโทน 1 กรัม MgSo4. 7H2O 0.5 กรัม K2HPO4 1 กรัม CaCO3 5 กรัม NaCl 3 กรัม และ KCl 0.5 กรัม ในอาหาร 1 ลิตร โดยปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง เริ่มต้นที่ 8.0-8.6 ณ อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส บนเครื่องเขย่าชินดโรตารี ด้วยภาวการณ์เพาะเลี้ยงดังกล่าว สายพันธ์ UUNNK 1 สามารถผลิตคานามัยซินได้ 200 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ในเวลา 3 วัน เมื่อเปรียบเทียบการเลี้ยงสายพันธุ์ UUNNK1 ในสูตรอาหารเดิมที่ใช้กับสายพันธุ์ตั้งต้น K1 แล้ว สายพันธุ์ UUNNK1 สามารถผลิตคานามัยซินได้มากกว่าสายพันธุตั้งต้นถึง 14 เท่า จาการทดลองการผลิตคานามัยซินโดยสายพันธุ์กลาย UUNNK1 ในถังหมักขนาด 5 ลิตร ใช้ภาวะเดียวกับระดับขวดเขย่า โดยให้อัตราการกวนเป็น 200 รอบต่อนาที พบว่าสายพันธุ์ UUNNK1 สามารถผลิตคานามัยซินได้เพียง 70 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ในเวลา 4 วัน แต่เมื่อใช้อัตราการกวนเป็น 300 รอบต่อนาที จะให้ปริมาณคานามัยซินสูงถึง 350 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ครั้นเมื่อเปลี่ยนแหล่งไนโตรเจนหลักจากซอยโทนเป็นกากถั่วเหลืองย่อยด้วยกรด สายพันธุ์ UUNNK1 จะผลิตคานามัยซินได้ 64 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ในภาวะที่ควบคุมค่าความเป็นกรด-ด่าง และเป็น 16 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรในภาวะที่ไม่ควบคุมค่าความเป็นกรด-ด่าง |
Other Abstract: | The productions of kanamycin by Streptomyces kanamyceticus K1 mutants, UUNK15, UUNNK1 and UUNNK25 were investigated. The mutant UUNNK1, which capable to produce highest amounts of 70 ug/ml of kanamycin, was selected. The optimal conditions for the production of kanamycin by this mutant in shaking cultures were studied. It was found that the KPMB medium, which providing the highest amount of kanamycin, was composed of : 15 g starch, 8 g soytone, 1 g bacto-peptone, 0.5 g MgSO4. 7H2O, 1 g K2HPO4, 5 g CaCO3, 3 g NaCl and 0.5 g KCl in a litre of medium. Optimal cultivation conditions were at pH ranging from 8.0 to 8.6, temperature at 30 ℃ and on a rotary shaker. Under conditions, UUNNK1 could produce 200 ug/ml of kanamycin within 3 days of cultivation. In comparison to the original strain K1, the UUNNK1 produced higher amounts of kanamycin for 14 folds. The production of kanamycin in a 5 litre fermentor was also investigated. Using the same conditions as in shaking flask culture, with an agitation speed of 200 rpm, the UUNNK1 gave 70 ug/ml yields of kanamycin in 4 days of cultivation. However, with an agitation speed of 300 rpm, it yielded highest amounts of 350 ug/ml of kanamycin. When the nitrogen source in KPMB medium was changed from soytone to soybean hydrolysate, the productions of kanamycin were 64 ug/ml and 16 ug/ml under controlled pH and uncontrolled pH conditions, respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36785 |
ISBN: | 9746388053 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Onanong_pr_front.pdf | 6.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Onanong_pr_ch1.pdf | 15.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Onanong_pr_ch2.pdf | 6.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Onanong_pr_ch3.pdf | 23.83 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Onanong_pr_ch4.pdf | 9.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Onanong_pr_back.pdf | 10.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.