Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3718
Title: องค์ประกอบที่มีผลต่อการรับสาร ในบทกลอนถวายความอาลัย แด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
Other Titles: Audience receptiveness of poetic messages in loving memory of the princess Mother's passaway
Authors: รติยา วิรุฬห์ลือชา, 2520-
Advisors: อวยพร พานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Uayporn.P@chula.ac.th
Subjects: วาทวิทยา
การสื่อสาร
การอ่าน
การฟัง
การสื่อทางภาษา
กวีนิพนธ์
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาถึงองค์ประกอบที่มีผลต่อการรับสาร โดยนำบทกลอนถวายความอาลัยแด่สมเด็จพระศรีนครินทร์ทราบรมราชชนนี มาใช้เป็นกรณีศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดลองคือ นิสิตจำนวน 30 คน รับสารจากบทกลอน 12 สำนวน ด้วยวิธีการอ่านและการฟัง 4 รูปแบบ คือ การอ่านในใจ การอ่านออกเสียง การฟังเสียงอ่านที่ระบุชื่อผู้ส่งสารที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ และการฟังเสียงอ่านที่ไม่ระบุชื่อผู้ส่งสาร จากการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า คำกลอนที่ผู้รับสารระบุว่าทำให้เกิดความสะเทือนใจ เป็นคำกลอนที่มีจินตนาภาพมากกว่าคำกลอนที่ไม่มีจิตนภาพภาพ ประเภทของคำกลอนที่มีจินตนาภาพ ที่ผู้รับสารระบุว่าทำให้เกิดความสะเทือนใจมากที่สุด คือ อุปมาอุปไมยและอธิพจน์ ในส่วนของการทดลองโดยใช้ค่าทางสถิติ (ค่าที) ทดสอบความแตกต่างรายคู่ระหว่างค่าเฉลี่ยความสะเทือนใจ พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างช่องทางการสื่อสาร คือ การอ่านกับการฟัง การอ่านในใจกับการอ่านออกเสียง และการฟังเสียงอ่านทำนองเสนาะกับการฟังเสียงอ่านปกติ อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ระหว่างผู้ส่งสารและระหว่างตัวแปรส่วนบุคคล คือ การฟังเสียงอ่านที่ระบุชื่อผู้ส่งสารที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ กับการฟังเสียงอ่านที่ไม่ระบุชื่อผู้ส่งสาร และผู้รับสารเพศชายกับผู้รับสารเพศหญิง
Other Abstract: This research applies experimental method aiming at studying factors which affected audience receptiveness. The study used as case study poetic messages in loving memory of the Princess Mother's passaway. The subjects selected for the experiment were 30 students who were exposed to 12 poetic messages through reading and listening of 4 types: silent reading, oral reading, listening to identified well-known senders and listening to unidentified senders. Content analysis revealed that the poems with more figures of speech created more sentiment as reported by the subjects than the ones without them. Those figures of speech comprised simile and hyperbole. T-test used to analyze the mean value of sentiment showed that differences in communication channels were statistically significant, namely, reading versus listening, silent reading versus oral reading and listening to rhythmic reading versus listening to ordinary reading. Nonetheless, no statistically significant differences were found between listening to identified well-known senders versus listening to unidentified senders and between male versus female message receivers
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3718
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.132
ISBN: 9743343172
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.132
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ratiya.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.