Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3727
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิภา อุตมฉันท์ | - |
dc.contributor.author | ศุภางค์ นันตา, 2516- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2007-07-20T03:52:47Z | - |
dc.date.available | 2007-07-20T03:52:47Z | - |
dc.date.issued | 2542 | - |
dc.identifier.isbn | 9743346872 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3727 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพของสัญญาณวิทยุ-โทรทัศน์จากสปป.ลาวที่ข้ามเข้ามายังชายแดนไทยและเพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อจากสปป.ลาวของผู้รับสาร ตลอดจนปัจจัยที่มีผลต่อความสนใจรายการวิทยุ-โทรทัศน์ลาว โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การบันทึกเทปรายการวิทยุ-รายการโทรทัศน์ลาว ประกอบกับการวิธีวิจัยเชิงสำรวจสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จ.หนองคาย, จ.มุกดาหาร, จ.อุบลราชธานี รวมทั้งหมด 1,200 คน และใช้วิธีสัมภาษณ์เจาะลึกกลุ่มตัวอย่างที่แท้จริงที่เปิดรับสื่อลาว เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ผล ผลการวิจัยพบว่า 1. สัญญาณวิทยุ-โทรทัศน์ของสปป.ลาวที่ข้ามมายังชายแดนไทยได้แก่ สัญญาณจากสถานีส่งนครเวียงจันทน์ ที่ข้ามเข้ามายัง จ.หนองคาย สัญญาณจากสถานีส่งแขวงสะหวันนะเขต ข้ามเข้ามายัง จ.มุกดาหาร สัญญาณจากสถานีส่งแขวงจำปาสัก ข้ามเข้ามายัง จ.อุบลราชธานี 2. ลักษณะเด่นของรายการวิทยุ-โทรทัศน์ลาว คือ ไม่มีโฆษณา และเนื้อหามุ่งให้ความรู้แก่ผู้ฟังผู้ชม แต่มีจุดด้อยคือ เทคนิคการนำเสนอภาพและเสียง รูปแบบรายการที่ยังไม่พัฒนา 3. ผู้รับสารตามแนวชายแดนไทยส่วนใหญ่เปิดรับรายการลาวโดยไม่ได้ตั้งใจเปิดรับมีจำนวน 76.92% ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงในการเปิดรับสื่อลาว มีจำนวนน้อยมากเพียง 3.41% และกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เปิดรับสื่อลาวมี 19.6% 4. ปัจจัยที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างตั้งใจเปิดรับสื่อลาว ได้แก่ ปัจจัยด้านภาษา เนื้อหารายการของลาวบางรายการที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของคนไทย ปัจจัยด้านเทคนิคของสถานีวิทยุ-โทรทัศน์ไทย และความต้องการของผู้รับสารเอง | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to study the situation of spillover signals from Laos over Thai border; media exposure of Thai audiences to Laos spillover signals and the factors effected audiences' interests. Data were collected from the recorded programs of Laos radio and television spillover signals, together with the survey research of 1,200 samples from Nongkai, Mukdaharn and Ubonrachthani province. True audiences from the sampling were asked to give in-depth interview for further analysis. Finding of the research were: 1. Laos spillover signals reaching Thai audience along the borders programs were programs from station in Vientian to Nongkai, Sawannaket to Mukdaharn and Champasak to Ubonrachthani. 2. Lao broadcasting programs without commercial advertising attracted Thai audiences. Another of the characteristics of Laos programs was their being mostly educational. However technical quality of the programs was poor and the program formats were not interesting. 3. 76.92% of the Thai audience exposed to Laos spillover signals unintentionally; only 3.41% said they watched Laos television programs with intention, and 19.67% never exposed to them. 4. The factors effected the real target group to expose to Laos spillover signals were language, cultural similarity, technical problems and personal interest of the audience themselves | en |
dc.format.extent | 9924530 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.293 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม | en |
dc.subject | รายการวิทยุ | en |
dc.subject | รายการโทรทัศน์ | en |
dc.subject | การเปิดรับสื่อมวลชน | en |
dc.title | การเปิดรับสื่อวิทยุ-โทรทัศน์จากสปป.ลาว ของผู้รับสารตามแนวชายแดนไทย | en |
dc.title.alternative | Thai-Laos border audience's exposure to the radio & television spillover signals from Laos | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | การสื่อสารมวลชน | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Vipha.U@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.1999.293 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
supang.pdf | 6.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.