Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3736
Title: | การใช้ภาพถ่ายสติ๊กเกอร์เพื่อประโยชน์ทางสังคมของเยาวชนในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | The use of sticker photos for social benefits among Bangkok teenagers |
Authors: | นันทวัน อรุโณทัย, 2516- |
Advisors: | ศิริชัย ศิริกายะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sirichai.S@chula.ac.th |
Subjects: | ภาพถ่ายสติ๊กเกอร์ วัยรุ่น เยาวชน |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงพฤติกรรมในการใช้ภาพถ่ายสติ๊กเกอร์ของเยาวชนในลักษณะต่างๆ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้เพื่อประโยชน์ทางสังคม ซึ่งจากการศึกษาพบว่า 1. การออกแบบงานสร้างสรรค์ภาพถ่ายสติ๊กเกอร์และกระบวนการถ่ายภาพเป็นกระบวนการสื่อสารที่เยาวชนเป็นผู้เลือกและสร้างความหมายจากการบริโภคสื่อชนิดนี้ให้เหมาะสมกับตนเอง กล่าวคือเยาวชนจะมีการบริโภคภาพถ่ายสติ๊กเกอร์เป็นกลุ่ม ดังนั้น การสร้างและผลิตความหมายจึงมีความเกี่ยวโยงกับวัฒนธรรมของกลุ่ม 2. บริบททางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในภาพถ่ายสติ๊กเกอร์สามารถจำแนกได้ 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ บริบทที่เกี่ยวกับการแต่งกาย/แฟชั่น บริบทที่เกี่ยวกับกิจกรรมความบันเทิง และบริบททางการศึกษาเสริมหลักสูตร 3. ภาพถ่ายสติ๊กเกอร์เป็นสินค้าที่แสดงถึงสถานภาพ หรือ status symbols ได้เป็นอย่างดี เพราะทำให้เยาวชนที่ได้ใช้บริการถ่ายภาพรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม เป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อน ตลอดจนถึงการใช้เพื่อก่อให้เกิดการกระทำทางสังคมโดยเฉพาะการใช้เพื่อหาเพื่อนใหม่ๆ ด้วยข้อดีเหล่านี้จึงทำให้เยาวชนมีแนวโน้มที่จะใช้ภาพถ่ายสติ๊กเกอร์มากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นแฟนคนหนึ่งของสื่อชนิดนี้ |
Other Abstract: | The objectives of this qualitative research were to study the use of sticker photos among Bangkok teengers, especially for social benefits. The results were as follows: 1. The process design for shooting sticker photos is considered as a way of communication chosen and created by teenagers in order to fulfill their group expectations. Therefore, most of them like to shoot sticker photos with their friends. 2. There are three main cultural context relating to sticker photos, that is, clothing/fashion, entertainment, and tuition. 3. The sticker photo is one of the status symbols making teenagers feel that they belong to their group. Moreover, the use of sticker photos is so beneficial that teenagers tend to spend more on this media and become a fan |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3736 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.278 |
ISBN: | 9743345523 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1999.278 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nantawan.pdf | 9.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.