Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3737
Title: การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ และทัศนคติของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐ
Other Titles: A study of media exposure, perception and attitude of Internet users on public relations program of Thai government offices on the internet
Authors: จรัสศรี ปักกัดตัง
Advisors: อุบลวรรณ ปิติพัฒนะโฆษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Ubolwan.P@chula.ac.th
Subjects: การเปิดรับข่าวสาร
การรับรู้
ทัศนคติ
ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต
การประชาสัมพันธ์
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความแตกต่างและความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากร การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ และทัศนคติของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐ การวิจัยเป็นเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล มีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 470 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความแตกต่างระหว่างตัวแปร และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน นำมาประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows95 ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1. ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่มี อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์ในการใช้อินเตอร์เน็ตแตกต่างกัน จะมีการรับรู้ในเรื่องการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต ของหน่วยงานภาครัฐในระดับที่ต่างกัน 2. ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่มี อายุ และระดับการศึกษา แตกต่างกัน จะมีทัศนคติต่อการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต ของหน่วยงานภาครัฐในระดับที่ต่างกัน 3.ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่มี ประสบการณ์ในการใช้อินเตอร์เน็ต แตกต่างกัน จะมีการเปิดรับข่าวสารในเรื่องการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต ของหน่วยงานภาครัฐในระดับที่ต่างกัน 4. อายุของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ ในเรื่องการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐ ส่วนตัวแปรอื่นๆ ได้แก่ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์ในการใช้อินเตอร์เน็ต มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ในเรื่องการประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐ แต่ไม่พบความสัมพันธ์นี้ในตัวแปรเพศและอาชีพ 5. อายุและอาชีพของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติในเรื่องการประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่ออินเตอรเน็ตของหน่วยงานภาครัฐ แต่ไม่พบความสัมพันธ์นี้ในตัวแปรเพศ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์ในการใช้อินเตอร์เน็ต 6. การเปิดรับข่าวสารเพื่อรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ในเรื่องการประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐ 7. การเปิดรับข่าวสารเพื่อรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ผ่าน สื่ออินเตอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐ จากการสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ในเรื่องของการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐในอนาคต พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 99.4 เห็นด้วยกับการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเพื่อการประชาสัมพันธ์ เนื่องจากเห็นว่ามีประโยชน์ ทันสมัย สะดวก และสามารถให้ข้อมูลได้รวดเร็ว
Other Abstract: To examine the different and the relationship between demographic characteristics, media exposure, attitude and perception of Internet users toward the public relations through Internet of the Thai government offices. Questionaires were used to collect data from a t-test and Pearson's product moment correlation coefficient were employed for the analysis of data. SPSS for Window95 program was used for data processing. The results are as follows: 1. The different of age, education, occupation and experience in using the Internet of Internet users are related to perception in the public relations through Internet of the Thai government offices. 2. The different of sex and education of Internet users are related to attitude in the public relations through Internet of the Thai government offices. 3. The different of experience in using the Internet of Internet users are related to media exposure in the public relations through Internet of Thai government offices. 4. There is a significant positive correlation between perception concerning public relations through Internet of the Thai government offices and age, education, income, experience in using the Internet. 5. There is a significant positive correlation between attitude toward public relations through Internet of the Thai government offices and sex, education, income, experience in using the Internet. 6. Significant positive correlation was found between media exposure of Internet users and perception concerning public relations through Internet of the Thai government offices. 7. Significant positive correlation was found between media exposure of Internet users and attitude toward public relations through Internet of Thai government offices. Moreover, the research found that most of Internet users (around 99.4 percent) agreed with the Thai government offices to use public relations on the Internet. They thought it has many useful for that such as the good image of organization, the more speedy of access system, the modermization and very comfortable to use
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3737
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.283
ISBN: 9743345353
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.283
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jarassri.pdf8.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.