Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37409
Title: การอ้างจารีตประเพณีและวัฒนธรรมกับความรับผิดทางอาญา
Other Titles: The application of tradition and culture on the criminal liability
Authors: ปุณยวีร์ ประจวบลาภ
Advisors: คณพล จันทน์หอม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Kanaphon.C@Chula.ac.th
Subjects: ความรับผิดทางอาญา
วัฒนธรรมกับกฎหมาย
Criminal liability
Culture and law
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จารีตประเพณีและวัฒนธรรมเป็นวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งฝังรากลึกมาแต่กำเนิด โดยเป็นแบบแผนความประพฤติของสมาชิกในสังคม ครอบคลุมความคิดของบุคคล รวมถึงความคิดเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญา จารีตประเพณีและวัฒนธรรมจึงเป็นปัจจัยหนึ่งเกี่ยวกับจำเลย ซึ่งศาลควรนำมาพิเคราะห์ประกอบการวินิจฉัยความรับผิดและโทษทางอาญาด้วย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2451 ซึ่งเป็นปีที่ประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ต่อเนื่องมาถึงการใช้ประมวลกฎหมายอาญาฉบับปัจจุบัน แม้กฎหมายอาญาไม่มีบทบัญญัติโดยตรงเกี่ยวกับการนำจารีตประเพณีและวัฒนธรรมมาวินิจฉัยในคดีอาญา แต่ศาลฎีกานำจารีตประเพณีและวัฒนธรรมของจำเลยมาประกอบการพิจารณาพิพากษาคดีอาญา โดยใช้ในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยตามหลักไม่มีความผิด ไม่มีโทษ โดยไม่มีกฎหมาย (nullum crimen, nulla poena sine lege) กล่าวคือ นำมาใช้วินิจฉัยว่าการกระทำขาดองค์ประกอบภายในที่กฎหมายบัญญัติ จำเลยสำคัญผิดว่ามีอำนาจกระทำได้ วินิจฉัยว่าจารีตประเพณีและวัฒนธรรมเป็นเหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ และกรณีอื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศแล้ว ศาลฎีกานำจารีตประเพณีและวัฒนธรรมของจำเลยมาใช้อย่างหลากหลาย แต่ยังมีประเด็นที่ควรเพิ่มเติมคือ ศาลควรรับรองจารีตประเพณีและวัฒนธรรมของคนต่างชาติ ชนพื้นเมือง และชนกลุ่มน้อย ซึ่งเป็นวัฒนธรรมรอง ทั้งการนำจารีตประเพณีและวัฒนธรรมมาปรับใช้นั้น อาจใช้ได้ทั้งกับความผิดในตัวเอง หรือ mala in se และความผิดเพราะกฎหมายบัญญัติ หรือ mala prohibita แต่ระดับของการยอมรับจารีตประเพณีและวัฒนธรรมนั้น ควรให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลในแต่ละกรณี โดยศาลพึงพิจารณาความร้ายแรงของการกระทำความผิด เปรียบเทียบกับจารีตประเพณีและวัฒนธรรมที่จำเลยยกขึ้นอ้างว่าจารีตประเพณีและวัฒนธรรมนั้น มีเหตุผลเพียงพอที่จะยกเว้นความรับผิดทางอาญาได้หรือไม่ เพียงใด ตลอดจนควรกระตุ้นให้ศาลนำจารีตประเพณีและวัฒนธรรมของจำเลยมาประกอบการพิจารณาพิพากษามากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาด้วย
Other Abstract: In the field of sociology and anthropology, tradition and culture are human’s ways of life which are learned from the society as enculturation. They are human’s behavior patterns, including the thought of criminal action. Therefore tradition and culture are one of the factors on which the court should take into consideration for judging defendant’s criminal liability and punishment. Since the year 2451 B.E., after the promulgation of the Penal Code of R.S.127 (1908) until the promulgation of the present Criminal Code, although there are not any provisions in the Criminal Code on application of tradition and culture in the criminal cases, the Supreme Court applies tradition and culture as one of the factors in the criminal adjudication. This application is only for the benefit of defendant, according to the doctrine that no crime no punishment without law (nullum crimen, nulla poena sine lege), for example lack of criminal intent, mistake of fact, exception, mitigation and other reliefs. Compared with other countries, the Supreme Court applies tradition and culture in various aspects. Some suggestions are that the court should ensure the subculture, in other words, tradition and culture of foreigners, indigenous people and minorities. Also the court should apply tradition and culture in mala in se cases and in mala prohibita cases. However, the level of application of tradition and culture in criminal cases should be based on discretion of the court in each case, comparing the seriousness of the offense with tradition and culture concerned. At last the court should be urged to apply tradition and culture as one of the factors in the criminal adjudication in accordance with the field of sociology and anthropology.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37409
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1092
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1092
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
punyawee_pr.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.