Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3747
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เลอสรวง เมฆสุต | - |
dc.contributor.author | จารุวรรณ บัติปัน, 2523- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2007-07-20T11:40:47Z | - |
dc.date.available | 2007-07-20T11:40:47Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9745313076 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3747 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาผลของปริมาณอากาศที่ตำแหน่งช่องเติมอากาศ 3 ตำแหน่งคือ ตำแหน่ง Supply chamber, Recycle chamber และ Vertical aeration และศึกษาอัตราส่วนของการผสมกันของทรายกับชีวมวล ที่มีผลต่ออัตราการไหลย้อนกลับของของผสมระหว่างทรายกับชีวมวล ซึ่งทรายที่ศึกษามีขนาด 425-1180 ไมโครเมตร ความหนาแน่น 2588 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และชีวมวลที่ใช้ศึกษาได้แก่ แกลบ ซังข้าวโพดและขี้เลื่อย ขนาด 658, 1770 และ 699 ไมโครเมตร ความหนาแน่น 1500, 1162 และ 1451 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ จากการศึกษาพบว่า ปริมาณอากาศที่ตำแหน่ง Recycle chamber มีความจำเป็นต่อการไหลย้อนกลับของของแข็ง ที่มีความหนาแน่นต่ำผ่านลูปซีล เนื่องจากเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการฟลูอิไดซ์จึงทำให้เกิดความดันสูง ซึ่งสามารถเอาชนะแรงต้านทานการไหลของอากาศปฐมภูมิในท่อไรเซอร์ ส่วนปริมาณอากาศที่บริเวณ Supply chamber เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการขยายตัวของของผสม และลดแรงเสียดทานระหว่างอนุภาค ทำให้เกิดการไหลในแนวนอน เพื่อให้สามารถไหลเข้าสู่ส่วนที่ทำให้เกิดฟลูอิไดซ์ของลูปซีลได้ง่ายขึ้น และเมื่อศึกษาปริมาณอากาศบริเวณ Vertical aeration พบว่า เมื่อเพิ่มปริมาณอากาศ Vertical aeration จะทำให้อัตราการไหลย้อนกลับของของผสมมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อศึกษาผลของอัตราส่วนของทรายกับชีวมวล พบว่าเมื่อเพิ่มอัตราส่วนของทรายในของผสม จะทำให้อัตราการไหลย้อนกลับมีค่าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า ค่าอัตราการไหลย้อนกลับของของผสมที่มีความหนาแน่นต่ำ จะไม่มีผลต่อความดันคร่อมลูปซีล | en |
dc.description.abstractalternative | In this research, the effects of aeration rate at recycle chamber, supply chamber, vertical aeration section position and the effect of the ratio of sand and biomass were studied by measuring the solid circulation rate. Sand which used in this work has density 2588 kg/sq.m. particle size distribution between 425 and 1180 micrometre, average particle size 658 micrometre. Biomass are used in this study rice husk, corncob and saw dust with particle size 658, 1770 and 699 micrometre, and density 1500, 1162 and 1451 kg/sq.m., respectively. From this study, aeration rate at recycle chamber is necessary for low density solid recycle rate through loop seal because it causes high pressure inside loop seal which is higher than riser. Aeration rate at supply chamber is the main factor that extends solid volume and reduce particle-particle friction which causes easier horizontal flow into fluidized section of loop seal. When considering aeration rate at vertical aeration, the higher aeration rate, the higher solid recycle rate. For the effect of sand and biomass ratio, when ratio of sand in the mixture increased, the solid recycle rate also increased. Furthermore, solid recycle rate with low density has no effect on pressure drop across loop seal | en |
dc.format.extent | 5802826 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ฟลูอิไดเซชัน | en |
dc.subject | การไหลของก๊าซ | en |
dc.subject | การไหลแบบสองเฟส | en |
dc.title | พฤติกรรมการไหลของแก๊สและของแข็งในฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียนที่มีลูปซีล | en |
dc.title.alternative | Behavior of gas and solid flow in circulating fluidized bed with loop seal | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | เคมีเทคนิค | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Lursuang.M@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jaruwan.pdf | 3.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.