Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3752
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปาริชาต สถาปิตานนท์ สโรบล | - |
dc.contributor.author | ชิตาพร กันหลง, 2518- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2007-07-23T09:20:10Z | - |
dc.date.available | 2007-07-23T09:20:10Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9741307934 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3752 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540, กลยุทธ์การสื่อสารของกลุ่มองค์กรต่างๆ ในการผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 และปัจจัยที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า 1. พัฒนาการของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ 2540 แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะจุดประเด็น ระยะพัฒนาเครือข่าย ระยะจัดเวทีเชิงรุก และระยะสร้างกระแสกดดันให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่าน 2. กลุ่มองค์กรที่เข้าร่วมผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มแกนนำ ได้แก่ กลุ่มนักคิดหัวก้าวหน้า, กลุ่มเคลื่อนไหวด้านการเมือง การปกครอง และรัฐธรรมนูญ กลุ่มที่ต้องการให้ร่างรัฐธรรมนูญบรรจุเนื้อหาต่างๆ อันจะนำมาซึ่งการคลี่คลายปัญหาและผลประโยชน์ของกลุ่ม และกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐที่มีหน้าที่โดยตรง (2) กลุ่มสนับสนุน ได้แก่ กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนที่ประสานงานร่วมกันภายใต้คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน และนักวิชาการสถานศึกษา (3) กลุ่มตามกระแส ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจ และพรรคการเมือง โดยมีการใช้กลยุทธ์การสื่อสาร ได้แก่ (1) การจุดประเด็นโดยผู้มีชื่อเสียง (2) การประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรเพื่อเพิ่มพลังในการเคลื่อนไหว (3) การหาแนวร่วมในการนำเสนอเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มน้ำหนัก (4) การใช้เครือข่าย (5) การแทรกตัวเข้าเป็นคณะทำงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญ (6) การลอบบี้ (7) การใช้สื่อบุคคล (8) การใช้สื่อและกิจกรรมประชาสัมพันธ์ (9) การทำตัวให้เป็นข่าว (10) การแชร์เนื้อที่ข่าว (11) การใช้สัญลักษณ์สีเขียวตองอ่อน (12) การสร้างภาพศัตรูที่ชัดเจน (13) การเผยแพร่ข้อมูลตรงสู่ประชาชน (14) การไม่ทำตัวแข่งกับสื่อ (15) การสร้างความมีส่วนร่วมให้กับประชาชน 3. ปัจจัยที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ สื่อมวลชน บริบททางสังคม การที่สภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นตัวแทนของประชาชน ลักษณะการนำเสนอข้อมูล ภาพของประชาชนที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อบ่อยครั้ง การเข้าไปรับฟังความคิดเห็นและจัดเวทีในพื้นที่ และการจัดกิจกรรมรณรงค์อย่างต่อเนื่อง | en |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research is to study the development of the constitution of 1997 issues, the communication strategies employed by various different organizations in advocating public support for the constitution of 1997 issues, and the factors which had successfully popularized public participation. In-dept interview with key informants were used to complete this study. The results are as follows: 1. The development of the constitution of 1997 issues can be divided into 4 stages ; (1) setting issue (2) network development (3) offensive action (4) enforcement. 2. Organizations which participated in exerting can be defined in 3 groups; (1) The core leadership group (2) The supportive group (3) Groups of trend followers. The communication strategies which used in pressuring are (1) highlight importance issue by the social figure (2) coordinate with other groups to produce force and momentum backup (3) made alliance with other groups to seek for agendas to be incorporated into the draft constitution whichwould lend weight to their cause (4) use network (5) implanted themselves into the working group of the constitution drafting committee (6) lobby (7) use personal contact (8) using themselves as news-worthy material (9) sharing news space (10) used the 'Light Green Sign" (11) conjuring a "Clear Picture of Enemy" (12) use media and activities (13) direct dissemination of information to the public (14) not competing with the mass media (15)creating the public participation. 3. The factors which formed the public participation are the mass media, social environment, the drafters were representatives of the public, the public exposure by the mass media, the continuity of the campaign, the method which the pressure groups had presented, and the setting up venue for hearings of public opinion | en |
dc.format.extent | 6600882 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.309 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | รัฐธรรมนูญ -- ไทย | en |
dc.subject | การสื่อสาร -- แง่สังคม | en |
dc.title | กระบวนการสื่อสารในการผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 | en |
dc.title.alternative | Communication process in mobilizing the constitution of 1997 issues | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตรพัฒนาการ | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Parichart.S@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2000.309 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chitaporn.pdf | 3.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.