Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3753
Title: การรับรู้ ความคาดหวัง ความพึงพอใจและการยอมรับของประชาชนต่อการปฏิบัติของนักพัฒนาชุมชนในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Perception, expectation, satisfaction and acceptance upon the performance of community development officers Bangkok Metropolitan Administration
Authors: วรรณวิสา คำแฝง, 2519-
Advisors: ธนวดี บุญลือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Tanawadee.B@chula.ac.th
Subjects: พัฒนากร
การพัฒนาชุมชน
การสื่อสารในการพัฒนาชุมชน
บทบาทที่คาดหวัง
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ ความคาดหวัง ความพึงพอใจ และการยอมรับ บทบาทในการพัฒนาชุมชนของนักพัฒนาที่มีต่อการรับรู้ และการยอมรับในบทบาทของนักพัฒนา โดยทดสอบความสัมพันธ์ด้วย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ซึ่งประมวลผลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/FW ผลใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นชาวชุมชนในเขตต่างๆ 20 เขต จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบความแตกต่าง (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดีวยว (One-way ANOVA) การทดสอบความแตกต่างรายคู่ ตามวิธีของ Scheffe และการวิจัยพบว่า ชาวชุมชนมีการรับรู้บทบาทที่ปฏิบัติจริงของนักพัฒนาในระดับปานกลาง มีความคาดหวังในบทบาทการพัฒนาชุมชนของนักพัฒนาในระดับสูง มีความพึงพอใจใน บทบาทของนักพัฒนาในระดับปานกลางและมีการยอมรับในความเป็นผู้ชี้นำแนวทางพัฒนาชุมชนของนักพัฒนาในระดับต่ำ จากการทดสอบสมมติฐาน ปรากฏผลดังนี้ 1) ประชาชนในชุมชนที่มีลักษณะทางประชากรต่างกัน มีการรับรู้บทบาทในการพัฒนาชุมชนแตกต่างกัน ยกเว้นเพศชายและเพศหญิงที่มีการรับรู้ในบทบาทที่ปฏิบัติจริง ความบ่อยครั้งในการพบปะกับนักพัฒนาและความบ่อยครั้งในการได้รับข่าวจากนักพัฒนาไม่แตกต่างกัน 2) ประชาชนในชุมชนที่มีลักษณะทางประชากรต่างกัน มีความคาดหวังในบทบาทของนักพัฒนาต่างกัน ยกเว้นกลุ่มคนที่มีสถานภาพทางสังคม แตกต่างกัน มีความคาดหวังในบทบาทในการพัฒนาชุมชนของนักพัฒนาไม่แตกต่างกัน 3) ประชาชนที่มีลักษณะทางประชากรต่างกัน มีความพึงพอใจในบทบาทในการพัฒนาชุมชนของนักพัฒนาแตกต่างกัน ยกเว้นเพศชายและเพศหญิงที่มีความพึงพอใจในเรื่องดังกล่าวไม่แตกต่างกัน 4) ประชาชนในชุมชนที่มีลักษณะทางประชากรต่างกัน มีการยอมรับในความเป็นผู้ชี้นำแนวทางพัฒนาชุมชนของนักพัฒนาไม่แตกต่างกัน 5) การรับรู้บทบาทในการพัฒนาชุมชนของนักพัฒนา มีความสัมพันธ์กับการยอมรับในความเป็นผู้ชี้นำแนวทางพัฒนาชุมชนของนักพัฒนา 6) ความพึงพอใจในบทบาทที่ปฏิบัติจริงของนักพัฒนา มีความสัมพันธ์กับการยอมรับในความเป็นผู้ชี้แนวทางพัฒนาชุมชนของนักพัฒนา 7) ความคาดหวังในบทบาทการพัฒนาชุมชนของนักพัฒนาไม่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับในความเป็นผู้ชี้นำแนวทางพัฒนาชุมชนของนักพัฒนา 8) การติดต่อสื่อสารของนักพัฒนากับประชาชนในชุมชนมีความสัมพันธ์กับการรับรู้บทบาทในการพัฒนาชุมชน 9) การติดต่อสื่อสารของนักพัฒนาชุมชนมีความสัมพันธ์กับการยอมรับในความเป็นผู้ชี้นำแนวทางการพัฒนาชุมชนของนักพัฒนา
Other Abstract: The purpose of this research was to study the relations between the perception, expectation, satisfaction and acceptance up on the performance of community development officers and the relationship between contact with development officers and perception and acceptance upon the performance. A total of 400 dwellers from 20 different districts were interviewed. Findings: 1. Community dwellers perception on the role of the development officers as leaders in community development is at moderate level, while the expectation to development workers' performance is high. The satisfaction upon the development officers performance is also at moderate level, while the acceptance of the development officers as the leaders in community development is low. 2. People with different socio-demographic characteristics except sex have different perception upon devleopment officer's role in community development. 3. People in communities with different socio-demographic characteristics except social status have different expectation to the development officers' role and duties. Those with different social status have similar role expectation. 4. People with different socio-demographic characteristics except sex are satisfied with the performance of those development officers. 5. People with different socio-economic characteristics are not different in acceptance of development officer as development leaders. 6. Development officers' role perception is significantly correlated with the acceptance of the development officers' role. 7. Satisfaction with the officers' role is significantly correlated with the role acceptance 8. Contact with development officers' in significantly correlated with the perception of the development workers' role 9. Development officer's contact with the community is significantly correlated with their role as development leaders
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3753
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.292
ISBN: 9741311435
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.292
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanwisa.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.