Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37538
Title: | การปรับตัวของโครงการอสังหาริมทรัพย์แนวราบ ภายหลังเหตุการณ์อุทกภัยปี พ.ศ. 2554 : กรณีศึกษา โครงการเพอร์เฟค พาร์ค บางบัวทอง และโครงการเดอะ ลีฟวิ่ง บ้านกล้วย – ไทรน้อย |
Other Titles: | Improvements for low rise real estate projects after flood crisis in Thailand of 2011 : case studies of The Perfect Park Bangbuathong Housing Project and The Living Bankluay – Sai Noi Housing Project |
Authors: | รุจิรา ยมศรีเคน |
Advisors: | ไตรรัตน์ จารุทัศน์ สมบัติ วนิชประภา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Trirat.j@chula.ac.th Sombat@ieee.org |
Subjects: | อุทกภัย -- ไทย -- 2554 การจัดการอสังหาริมทรัพย์ -- ไทย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ -- ไทย การจัดการภาวะฉุกเฉิน Floods -- Thailand -- 2011 Real estate management -- Thailand Real estate business -- Thailand Emergency management |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในปี พ.ศ. 2554 ประเทศไทยได้เกิดปรากฏการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ ในพื้นที่ภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ ก่อให้เกิดผลกระทบในทุกๆด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และที่อยู่อาศัย ทำให้ในส่วนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบตามมา โดยพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ได้รับความเสียหายมากที่สุด ซึ่งเป็นโครงการจัดสรรถึง 540,000 หน่วย และเนื่องจากพื้นที่จังหวัดนนทบุรีมีโครงการอสังหาริมทรัพย์แนวราบจำนวนมาก และอยู่ในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมในบริเวณกว้าง ทำให้โครงการอสังหาริมทรัพย์แนวราบส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ การศึกษาในครั้งนี้ได้ทำการศึกษาโครงการในพื้นที่ประสบอุทกภัยปี พ.ศ. 2554 ในเขตอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี โดยมีเกณฑ์การเลือกโครงการศึกษา คือ เป็นโครงการถูกน้ำท่วม เป็นโครงการที่ยังอยู่ในการดูแลของผู้ประกอบการ เป็นโครงการที่มีขนาดของผู้ประกอบที่ต่างกัน คือผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการปรับปรุงโครงการจัดสรรแนวราบ หลังเหตุการณ์อุทกภัยปี พ.ศ. 2554 และเพื่อศึกษาการเตรียมการแนวทางป้องกันน้ำท่วมโครงการจัดสรรแนวราบ จากการศึกษาสรุปการปรับตัวของโครงการอสังหาริมทรัพย์แนวราบ โดยแบ่งเป็น 3 แนวทาง แนวทางแรก คือ การป้องกันน้ำท่วมด้านกายภาพบนดิน ซึ่งกายภาพบนดินประกอบไปด้วย การป้องกันในแนวรั้วรอบโครงการ การป้องกันบริเวณถนนทางเข้า – ออกโครงการ การป้องกันส่วนของระบบไฟฟ้า และการป้องกันโดยการถมดิน แนวทางที่สอง คือ การป้องกันน้ำท่วมด้านกายภาพใต้ดิน ในระบบสุขาภิบาลใต้ดิน และระบบไฟฟ้าใต้ดิน และแนวทางสุดท้าย คือ การป้องกันน้ำท่วมด้านการบริหารจัดการโครงการ การจัดเตรียมอุปกรณ์ และด้านนโยบาย มาตรการ และความช่วยเหลือของผู้ประกอบการ ในการให้ความร่วมมือในการป้องกันน้ำท่วมของโครงการ ข้อเสนอแนะสำหรับโครงการเดิมที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ควรตรวจสอบสภาพแวดล้อมของโครงการ สังเกตจุดเสี่ยงภัยน้ำเข้าโครงการ แล้วทำการแก้ไข จากนั้นก็ทำงานปรับปรุงโครงการ โดยมี 2 ส่วน คือ ส่วนบนดิน และใต้ดิน เพื่อทำให้โครงการเป็นพื้นที่ปิด กันไม่ให้น้ำเข้า และสำหรับโครงการก่อสร้างใหม่ ควรปรับสภาพกายภาพโครงการให้เป็นระบบปิดทั้งบนดินและใต้ดิน และดูสภาพแวดล้อมโดยรอบโครงการ โดยเฉพาะจุดเสี่ยงน้ำเข้า รั้วของโครงการต้องเป็นรั้วที่มีโครงสร้างใต้ดินที่สามารถป้องกันน้ำได้ส่วนบนของรั้วจะเป็นรั้วทึบ หรือรั้วโปร่ง ที่มีการติดตั้งระบบป้องกันน้ำท่วมชั่วคราว ระบบสุขาภิบาลใต้ดิน ต้องสามารถเปิด – ปิด ได้ โดยมีการวางแผนไว้ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างโครงการ ซึ่งในด้านงบประมาณที่เพิ่มขึ้น จากข้อมูลโครงการที่มีการทำระบบป้องกันน้ำท่วมดังกล่าวจริง งบประมาณที่ใช้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.1 ของมูลค่าโครงการเดิม |
Other Abstract: | In the year 2011, Thailand has flooded crisis, damage to the economy and society in the central region. Make the real estate business was affected by the Bangkok metropolitan area. The housing project of losses to 540,000 units. In Nonthaburi have many low-rise housing projects in areas of flood victims. It is mainly affected by the floods, physical, economic and social. This study was conducted in Bang Bua Thong district, Nonthaburi. The selection criteria for the study was flooded. The project is still in the custody of the operator. Is a project of a different size, the company on the Stock Exchange and non on Stock Exchange company. The purpose is to study the low-rise housing projects after the flood and study the preparation of the flood protection. The study concluded that the physical protection. The first is the physical side of the flood, a physical fence around the project, main entrance, electrical system and landfills. The second is to prevent flooding of the physical ground, underground sanitary systems and underground electrical system. The third is to flood protection project management, device provisioning policies, measures to help entrepreneurs and cooperation. Suggestions for housing projects in risk of flood are, check the environment around the project, there is any risk of flooding. Improvement the project area is closed, do not water ingress. And for new projects, physical conditioning project should be a closed system, both on-ground and underground. Fence is protect underground water. Underground sanitary systems can open to maintenance. For the new planned from the start of new project in the budget increase of about 0.1 percent of the value of the not improvement. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37538 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1137 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1137 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
rujira_yo.pdf | 10.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.