Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37545
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมบัติ ตรีประเสริฐสุข | - |
dc.contributor.author | ศุภรัตน์ เข็มนาค | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-12-19T02:11:30Z | - |
dc.date.available | 2013-12-19T02:11:30Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37545 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | ความสำคัญและที่มาของปัญหางานวิจัย ปัจจุบันการตรวจพังผืดตับด้วยวิธีการดูผลเลือดค่าการทำงานตับและค่าที่เกิดจากการคำนวณ (AST/ALT, APRI และ FIB-4) รวมไปถึงค่าที่ได้จากไฟโบรสแกนสามารถใช้บอกภาวะพังผืดตับได้ดีในกลุ่มผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อดูอัตราการเพิ่มของภาวะพังผืดตับในกลุ่มผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีแบบเรื้อรังที่ยังไม่ได้รับการรักษาทั้งที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อเอชไอวีรวมถึงหาปัจจัยที่มีผลต่อกลุ่มที่พังผืดตับแบบรุนแรงที่ 1 ปี ระเบียบวิธีการวิจัย ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีแบบเรื้อรังทั้งที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อเอชไอวีเข้าร่วมการศึกษา โดยมีการตรวจเลือดและตรวจค่าพังผืดตับโดยเครื่องไฟโบรสแกนหลังจากนั้นมีการตามผู้ป่วยมาตรวจซ้ำที่ 1 ปี โดยใช้ค่าพังผืดตับที่มากกว่าหรือเท่ากับ 9.5 กิโลปาสคาล หมายถึงมีพังผืดตับแบบรุนแรง ผลเลือดนำมาคำนวณหาค่า AST/ALT, APRI และ FIB-4 จากนั้นดูค่าเปรียบเทียบกันว่ามีอัตราการเพิ่มของพังผืดตับเป็นเช่นไรในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม รวมถึงหาปัจจัยที่มีผลต่อการมีภาวะพังผืดตับแบบรุนแรง ผลการวิจัย ผู้ป่วยทั้งหมด 107 ราย เป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย 52 ราย อายุเฉลี่ย 40.8±8.3 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 72 มีพังผืดตับไม่รุนแรง ค่าพังผืดตับในกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วยมีค่ามากกว่ากลุ่มที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ย (8.1 พิสัย (5.7-14.1) และ ค่าเฉลี่ย 6.4 พิสัย (4.9-8.7) กิโลปาสคาล , p=0.02) อัตราการเพิ่มของค่าพังผืดตับต่อปีเท่ากับ 0.2 กิโลปาสคาล หากดูเฉพาะกลุ่มที่ค่าพังผืดตับรุนแรงจะพบว่ามีอัตราการเพิ่มของค่าพังผืดตับ 4.4 กิโลปาสคาลต่อปี และถ้าพิจารณากลุ่มที่มีค่าความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้นจะพบว่ากลุ่มที่ ติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วยมีค่าเพิ่มมากกว่ากลุ่มที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี (2.3 และ 1.4 ตามลำดับ) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีเกือบทั้งหมดรับประทานยาต้านไวรัส (ร้อยละ 96) ปัจจัยที่มีผลให้มีภาวะพังผืดตับแบบรุนแรงที่ 1 ปี คือการมีภาวะพังผืดตับแบบรุนแรงอยู่เดิมและผู้ป่วยที่ค่า FIB-4 มากกว่าหรือเท่ากับ 1.45 (OR 9.1, 95%CI=2.8-29.6, p<0.001 และ OR 13.8, 95% CI=4.1-64.4, p<0.001 ตามลำดับ) สรุป อัตราการเพิ่มของค่าพังผืดตับในกลุ่มไวรัสตับอักเสบซีแบบเรื้อรังที่มีค่าพังผืดตับแบบรุนแรงตั้งแต่แรกเพิ่มขึ้นเท่ากับ 4.4 กิโลปาสคาลต่อปี และในกลุ่มที่มีค่าความยืดหยุ่นตับเพิ่มขึ้นพบว่าในกลุ่มที่ติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี การมีค่าพังผืดตับแบบรุนแรงที่มีอยู่เดิมและค่า FIB-4 มากกว่าหรือเท่ากับ 1.45 เป็นปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดพังผืดตับแบบรุนแรงในอนาคต | en_US |
dc.description.abstractalternative | Background and Aim: AST/ALT ratio, aspartate aminotranferase: platelet ratio index (APRI) and FIB4 score as well as Liver stiffness (LS) measurement by FibroScan are current noninvasive tools to determine the rate of progression and any predictors of advanced fibrosis in untreated chronic hepatitis C (CHC) patients with and without HIV infection by AST/ALT ratio, APRI, FIB4 score and FibroScan over 1-year of follow-up. Methods: CHC patients with and without HIV infection,were prospectively enrolled in this cohort study between January 1, 2011 and December 31, 2011. LS is measured at baseline and at 1 year of follow-up (range 10-14 months).LS cut-offs for advanced liver fibrosis or F3-F4 was LS ≥9.5 KPa. Other non-invasive tools including AST/ALT ratio, APRI and FIB4 score were calculated. Logistic regression analysis was used to predict the advanced liver fibrosis at 1 year of follow-up. Results: Among 107 untreated CHC patients (55 CHC patients and 52 CHC patients with HIV) with mean age of 40.8±8.3 years were enrolled. At baseline, 72% of patients were non advanced liver fibrosis by LS criteria. CHC patients with HIV had more male and had higher median LS level than those without HIV infection significantly (8.1 vs 6.4 KPa, p< 0.05). The median rate of fibrosis progression of the overall untreated CHC patients was 0.2KPa/year but in group of advanced fibrosis at baseline, the median rate of fibrosis progression was 4.4(3.9-9.6)KPa/year. Untreated CHC patients with and without HIV infection had no significant difference in the rate of fibrosis progression (2.3 vs 1.4 KPa, p=0.11). Almost CHC patients with HIV co-infection received HAART (96%; 50/52) with achieving HIV suppression at baseline. By using multivariate analysis, the predictors for advanced liver fibrosis among untreated CHC patients over 1-year of follow-up were the baseline FIB4 score with cut off≥1.45 and the baseline LS with cut off≥9.5 kPa (OR 9.1, 95%CI=2.8-29.6, p<0.001 and OR=13.8,95%CI=4.1-64.4,p <0.001, respectively) Conclusion: Untreated CHC patients with advanced fibrosis at baseline had the median rate of fibrosis progression of 4.4(3.9-9.6) KPa/year by using FibroScan. The predictors for advanced fibrosis among untreated CHC patients over 1-year of follow-up were the baseline FIB4 score with cut off≥1.45 and the baseline LS with cut off≥9.5 kPa | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1141 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ตับ -- การเกิดพังผืด | en_US |
dc.subject | ตับอักเสบซี | en_US |
dc.subject | ผู้ติดเชื้อเอชไอวี | en_US |
dc.subject | Liver -- Fibrosis | en_US |
dc.subject | Hepatitis C | en_US |
dc.subject | HIV-positive persons | en_US |
dc.title | การติดตามการเปลี่ยนแปลงของค่าพังผืดตับโดยอาศัยค่าที่วัดได้จากเครื่องไฟโบรสแกน ในกลุ่มผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีแบบเรื้อรังทั้งที่ติดเชื้อเอชไอวีและไม่ติดเชื้อเอชไอวีในช่วงเวลา 1 ปี | en_US |
dc.title.alternative | One-year follow up of liver fibrosis progression by FibroScan in chronic hepatitis C patients with and without HIV infection, a prospective study | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | battan5410@gmail.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1141 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
suparat_kh.pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.