Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37550
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนระเกณฑ์ พุ่มชูศรี-
dc.contributor.authorธนิต ปัญญาไวย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-12-19T03:44:50Z-
dc.date.available2013-12-19T03:44:50Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37550-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractโรงงานผลิตซีลยางในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง ใช้ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just In Time) ซึ่งการผลิตต้องมีประสิทธิภาพ มีความแม่นยำ โดยมีความสูญเปล่าในกระบวนการน้อยที่สุด ปัจจุบันการจัดการการผลิตยังพึ่งพาทักษะและความชำนาญของพนักงานในการตัดสินใจปฏิบัติงาน จึงมักก่อความผิดพลาดขึ้น ในปีพ.ศ.2554 เกิดปัญหาการส่งยางไปทำการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ไม่ทันเวลาถึง 699 ครั้ง หรือร้อยละ 1.72 ของการจัดเตรียมยางทั้งหมด โดยจำนวน 525 ครั้งหรือร้อยละ 75.11 ของการจัดเตรียมยางล่าช้านี้เกิดจากขั้นตอนการจัดเตรียมยางและขั้นตอนรับ-ส่งคำสั่งการจัดเตรียมยาง ที่มีการส่งคำสั่งการทำงานในเวลาไม่เหมาะสม ทำให้เกิดความล่าช้าในการเริ่มเตรียมยาง งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงระบบการจัดเตรียมยางให้สามารถส่งยางไปทำการขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้ทันเวลา โดยทำการออกแบบระบบคัมบังแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการดำเนินงานแต่ละขั้นตอนของกระบวนการจัดเตรียมยาง พร้อมทั้งออกแบบการจัดการข้อมูลของกระบวนการจัดเตรียมยางด้วยระบบคัมบังแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและครบถ้วน จากการทดลองและติดตามผลการใช้ระบบคัมบังแบบอิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการจัดเตรียมยางของโรงงานกรณีศึกษาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม ปีพ.ศ.2555 พบปัญหาการส่งยางไปทำการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ไม่ทันเวลาทั้งหมด 86 ครั้ง หรือร้อยละ 0.57 ของการจัดเตรียมยางทั้งหมด โดยเกิดจากขั้นตอนการจัดเตรียมยางและขั้นตอนรับ-ส่งคำสั่งการจัดเตรียมยาง เหลือเพียง 11 ครั้งหรือร้อยละ 12.79 ของการจัดเตรียมยางล่าช้าen_US
dc.description.abstractalternativeA rubber seal factory in the automotive industry is applying Just in Time (JIT) technique which requires accurate and efficient processes. Currently, the majority of processes still rely on workers’ expertise that sometimes causes production errors. In 2011 there were 699 events of rubber supplying delay which account for 1.72% of the total processing. From the record, 525 events or 75.11% of these production delays are caused by inappropriate ordering system of the rubber preparation process. Therefore, the objective of this research is to improve the rubber preparation process so that the rubbers are ready for the next process (the curing line) by the time they are needed. We propose a design of Electronic Kanban System (E-Kanban) with a method to identify suitable times in each step of the preparation process. Also, we develop a design of the information management for this Electronic Kanban System that can increase the system effectiveness and accuracy. From our on-site experiment using this new E-Kanban system from July to October 2012, the number of rubber supplying delays was reduced to 86 events or 0.57% of the total preparation processes and only 11 events or 12.79% of these delays are caused by the ordering system of the rubber preparation process.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1122-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectระบบการผลิตแบบทันเวลา -- การออกแบบen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมยางพาราen_US
dc.subjectJust-in-time systems -- Designen_US
dc.subjectRubber industry and tradeen_US
dc.titleการออกแบบระบบคัมบังแบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกระบวนการจัดเตรียมการผลิตซีลยางen_US
dc.title.alternativeDesign of Electronic Kanban System for the preparation process of rubber seal manufacturingen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisornaragain.p@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1122-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanit_pa.pdf29.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.