Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37554
Title: การบำบัดน้ำเสียซีโอดีต่ำด้วยระบบแอนแอโรบิกฟลูอิดไดซ์เบดที่ใช้เม็ดยางเป็นวัสดุตัวกลางโดยไม่มีการหมุนเวียนน้ำภายใน
Other Titles: Low COD concentration wastewater treatment by anaerobic fluidized bed reactor using rubber granule as a media without internal recirculation
Authors: ธิภาพร ศิรินุกุลวัฒนา
Advisors: ชัยพร ภู่ประเสริฐ
วิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fencpp@eng.chula.ac.th
wiboonluk@hotmail.com
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีแบบไร้ออกซิเจน
Sewage -- Purification -- Anaerobic treatment
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียและการผลิตก๊าซชีวภาพของถังปฏิกรณ์แอนแอโรบิกฟลูอิดไดซ์เบดจำนวน 2 ถังที่ใช้เม็ดยางเป็นวัสดุตัวกลาง ภายใต้สภาวะการเดินระบบที่ไม่มีการหมุนเวียนน้ำภายใน แบ่งงานวิจัยออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเริ่มเดินระบบ ซึ่งทำการบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ที่มีค่าซีโอดีประมาณ 1,045 มก./ล. (เทียบเท่ากับอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 30 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน) และควบคุมระยะเวลากักน้ำคงที่ 0.84 ชม. พบว่า หลังจากระบบเข้าสู่สภาวะคงตัวถังปฏิกรณ์แอนแอโรบิกฟลูอิดไดซ์เบดมีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีประมาณร้อยละ 81.45 และ 96.49 และมีอัตราการผลิตก๊าซชีวภาพ 0.17 และ 0.08 ล./ก.ซีโอดีที่ถูกกำจัด ตามลำดับ จากนั้นแปรค่าอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ที่เข้าระบบในการทดลองช่วงที่สอง โดยทำการเดินระบบต่อเนื่องจากช่วงแรก แต่ลดค่าอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์เป็น 15 และ 2 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ในถังปฏิกรณ์ที่ 1 (คิดเป็นค่าซีโอดีประมาณ 522 และ 70 มก./ล.) และลดค่าอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์เป็น 5 และ 2 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ในถังปฏิกรณ์ที่ 2 (คิดเป็นค่าซีโอดีประมาณ 174 และ 70 มก./ล.) ทำการควบคุมระยะเวลากักน้ำเช่นเดียวกับช่วงแรก ผลการทดลองพบว่า ในถังปฏิกรณ์ที่ 1 ที่อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 15 และ 2 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีประมาณร้อยละ 88.44 และ 81.18 และมีอัตราการผลิตก๊าซชีวภาพ 0.28 และ 0.18 ล./ก.ซีโอดีที่ถูกกำจัด ตามลำดับ ส่วนในถังปฏิกรณ์ที่ 2 ที่อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 5 และ 2 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีประมาณร้อยละ 91.40 และ 91.02 และมีอัตราการผลิตก๊าซชีวภาพ 0.18 และ 0.05 ล./ก.ซีโอดีที่ถูกกำจัด ตามลำดับ ซึ่งประสิทธิภาพการบำบัดดังกล่าวมีค่าใกล้เคียงกับระบบแอนแอโรบิกฟลูอิดไดซ์เบดทั่วไปที่มีการหมุนเวียนน้ำเสีย ผลการศึกษาชนิดและปริมาณจุลินทรีย์บนวัสดุตัวกลางด้วยเทคนิค Fluorescent In Situ Hybridization (FISH) พบว่า แบคทีเรียทั่วไปและอาร์เคียมีปริมาณใกล้เคียงกัน โดยอาร์เคียที่พบจะมีลักษณะคล้ายเมทาโนเจนชนิด Methanosarcina sp. และ Methanosaeta sp.
Other Abstract: In this research, the efficiency of wastewater treatment and biogas production by the Anaerobic Fluidized Bed (AFB) reactors using rubber granule as a media were performed under condition of no internal recirculation. A low density rubber granule is easy to form a fluidization state which beneficial conserves more energy for the process. The experiment was divided into two parts, first is a system startup, which the synthetic wastewater with a COD of 1,045 mg/L (equivalent to Organic Loading Rate (OLR) of 30 kg COD/m³-d) was continuously feed into two AFB reactors at a constant rate of 46.8 L/day and hydraulic retention time as 0.84 hrs. The result showed that the COD removal efficiency was 81.45% and 96.49%, whereas the biogas production was about 0.17 and 0.08 L/g COD removed, respectively. After those two reactors reached steady state, the step up OLR variation was performed. The OLR loading for the 1st reactor was changed to 15 and 2 kg COD/m³-d (equivalent to COD of 522 and 70 mg/L), whereas the OLR loading for the 2nd reactor was changed to 5 and 2 kg COD/m³-d (equivalent to COD of 174 and 70 mg/L), respectively. The result showed that COD removal efficiency of the 1st reactor was achieved to 88.44% and 81.18%, while the amount of biogas was 0.28 and 0.18 L/g COD removed. Besides for the 2nd reactor, the efficiency for COD removal was 91.40% and 91.02%, together with 0.18 and 0.05 L/g COD removed for biogas production. It could be clearly concluded that the AFB without internal recirculation in this research has the comparable efficiency to other general AFB reactors with internal recirculation. Moreover, the results of Fluorescent In Situ Hybridization (FISH) analysis indicated that the amount of bacteria and archaea on the rubber granule media were close together. While the methanogens found in the reactors were Methanosarcina-like cells and Methanosaeta-like cells.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37554
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.215
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.215
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thipaporn_si.pdf7.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.