Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3755
Title: การเปิดรับ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจสื่อมวลชนประเภทสิ่งพิมพ์ที่ให้ความรู้ในการพัฒนาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมปลายในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Media exposure, uses and gratifications of printed media for improving english knowledge among high school students in Bangkok metropolitan
Authors: แสงรพี ภัทรกิจกุลธร, 2516-
Advisors: อุบลวรรณ ปิติพัฒนะโฆษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Ubolwan.P@chula.ac.th
Subjects: สื่อมวลชนกับการศึกษา
ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการเปิดรับ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจสื่อมวลชนประเภทสิ่งพิมพ์ที่ให้ความรู้ในการพัฒนาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมปลายในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบการเปิดรับ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจสื่อมวลชนประเภทสิ่งพิมพ์ที่ให้ความรู้ในการพัฒนาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมปลายในเขตกรุงเทพมหานครที่มีลักษณะประชากรต่างกัน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การเปิดรับ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจสื่อมวลชนประเภทสิ่งพิมพ์ที่ให้ความรู้ในการพัฒนาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมปลายในเขตกรุงเทพมหานคร รูปแบบของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจำนวนทั้งสิ้น 430 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ซึ่งประมวลผลโดยโปรแกรม SPSS ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. นักเรียนชั้นมัธยมปลายในเขตกรุงเทพมหานครมีการเปิดรับสื่อมวลชนประเภทสิ่งพิมพ์ที่ให้ความรู้ในการพัฒนาภาษาอังกฤษในระดับต่ำมาก โดยรูปแบบการเปิดรับคือ การซื้อมาอ่านเองหรือเป็นสมาชิกมากที่สุด ลักษณะการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมปลายในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่เป็นการอ่านเฉพาะส่วนที่สนใจ รองลงมาคือ อ่านอย่างคร่าวๆ เพื่อให้รู้ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร 2. สิ่งพิมพ์ที่นักเรียนชั้นมัธยมปลายในเขตกรุงเทพมหานครเปิดรับมากที่สุด 3 อันดับคือ หนังสือสติวเด้นท์ วีคลี่ นิตยสาร เนชั่นจูเนียร์ และคอลัมน์ Learn English ในหนังสือพิมพ์ เดอะเนชั่น ตามลำดับ โดยเนื้อหาที่นักเรียนชั้นมัธยมปลายในเขตกรุงเทพมหานครสนใจเปิดรับมากที่สุด คือเนื้อหาเกี่ยวกับเพลง/ภาพยนตร์ต่างประเทศ รองลงมาคือเนื้อหาเกี่ยวกับข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ส่วนอันดับสามได้แก่การทำนายโชคชะตา 3. เพศ อายุ และระดับการศึกษาต่างกัน มีการเปิดรับสื่อสิ่งพิมพ์ที่ให้ความรู้ในการพัฒนาภาษาอังกฤษไม่แตกต่างกัน ส่วนสังกัดโรงเรียน แผนการศึกษา และเงินที่ได้รับจากผู้ปกครองโดยเฉลี่ยต่อเดือนต่างกันมีการเปิดรับสื่อมวลชนประเภทสิ่งพิมพ์ที่ให้ความรู้ในการพัฒนาภาษาอังกฤษต่างกัน 4. การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจสื่อมวลชนประเภทสิ่งพิมพ์ที่ให้ความรู้ในการพัฒนาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมปลายในเขตกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับปานกลาง 5. การเปิดรับสื่อมวลชนประเภทสิ่งพิมพ์ที่ให้ความรู้ในการพัฒนาภาษาอังกฤษมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจ แต่เป็นความสัมพันธ์ในระดับต่ำ6. การใช้ประโยชน์จากสื่อมวลชนประเภทสิ่งพิมพ์ที่ให้ความรู้ในการพัฒนาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมปลายในเขตกรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความพึงพอใจ โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่ในระดับสูงมาก
Other Abstract: The objectives of this research were to investigate and compare media exposure, uses and gratifications of printed media for improving English among high school students in Bangkok Metropolitan and also to study correlation among these variables, namely; media exposure, uses and gratifications. This survey research was conducted through multi-stage sampling techniques. Out of 450 questionnaires distributed, data from 430 high school students were collected. Frequencies, percentages, mean value, standard deviation, Pearson product moment correlation coefficient were used to analyze in the statistical procedure. The data processing was run by SPSS program. Result of the study are as follows : 1. Respondents expose to printed media for improving English at the very low level. Most of respondents buy printed media or are the subscribers. They only read on particular section which interesting. The first three printed media which respondents read the most are Student Weekly, Nation Junior, Learn English with theNation. Contents which iterest them model most are songs and movies, Entrance Exam Test and Horosoopf respectively. 2. Type of school, program of study and income are significantly related to the printed media exposure for improving English while sex, age and educational level are not significantly related to media exposure. 3. Respondents' uses and gratifications are at moderate level. 4. Exposure to printed media for improving English is positively and significantly correlated with uses of printed media for improving English but the correlation is at the low level. 5. Exposure to printed media for improving English is positively and significantly correlated with gratifications obtained from printed media for improving English but the correlation is at the low level. 6. Uses of printed media for improving English is positively and significantly correlated with gratifications of printed media for improving English. The correlation is at the high level
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3755
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.317
ISBN: 9741311893
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.317
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saengrapee.pdf5.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.