Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37568
Title: การคัดกรองราที่มีความสามารถในการสลายสารผสมพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนสี่ชนิด
Other Titles: Screening for fungi capable of degrading 4-mixed polycyclic aromatic hydrocarbons
Authors: กนกพรรณ จักรเพชร
Advisors: ปาหนัน เริงสำราญ
อรฤทัย ภิญญาคง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Panan.R@Chula.ac.th
onruthai@sc.chula.ac.th
Subjects: เชื้อรา
โพลิไซคลิกอะโรมาติคไฮโดรคาร์บอน -- การย่อยสลายทางชีวภาพ
Fungi
Polycyclic aromatic hydrocarbons -- Biodegradation
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสายพันธุ์ราที่สามารถย่อยสลายพีเอเอชแบบผสมได้เนื่องจากในธรรมชาติมักปนเปื้อนพีเอเอชรวมกันหลายชนิด โดยแยกราจากธรรมชาติได้ 52 สายพันธุ์ แล้วนำมาทดสอบการสร้างเอนไซม์เพอร์ออกซิเดสเบื้องต้นโดยการย่อยสี พบรา 5 สายพันธุ์ที่ย่อยสลายสีทดสอบได้ครบทั้ง 3 ชนิด คือ guaiacol azureB และ phenol red เมื่อนำราทั้ง 5 สายพันธุ์และราอีก 3 สายพันธุ์จากดวงเดือน (2548) และสิริรัตน์ (2548) ไปทดสอบการเจริญบนอาหารแข็งที่มีพีเอเอชแบบผสมของฟลูออรีน ฟีแนนทรีน ฟลูออแรนธีน และไพรีน พบว่าราทั้ง 8 สายพันธุ์สามารถเจริญได้ จึงนำไปทดสอบการย่อยสลายพีเอเอชแบบผสมในอาหารเหลว พบว่ามีรา 4 สายพันธุ์ที่สามารถย่อยสารผสมพีเอเอชทั้ง 4 ชนิดได้ เมื่อนำราทั้ง 4 สายพันธุ์มาทดสอบประสิทธิภาพการย่อยพีเอเอชแบบแยกเดี่ยวโดยใช้ความเข้มข้น 100 ppm ทดลองเป็นเวลา 15 วัน พบว่าราสายพันธุ์ F18 สามารถย่อยสลายฟลูออรีนได้เพียงชนิดเดียวแต่สามารถย่อยได้ถึง 90% T8 ย่อยสลายฟลูออรีน ฟีแนนทรีน และ ฟลูออแรนธีนได้ 72 95 และ 49.5% ตามลำดับ T20 ย่อยสลายฟลูออรีน ฟีแนนทรีน และ ฟลูออแรนธีนได้ 83 87 และ 31% ตามลำดับ และ S5 สามารถย่อยสลายฟลูออรีน ฟีแนนทรีน และไพรีนได้ 60 86 และ 85% ตามลำดับ จากนั้นได้คัดเลือกราเพียง 2 สายพันธุ์คือ T8 และ T20 ไปทดสอบต่อไปเนื่องจากมีประสิทธิภาพการย่อยสลายที่ดีและเจริญได้รวดเร็ว จากการทดสอบปริมาณสายใยราต่อการลดลงของพีเอเอชพบว่าปริมาณสายใยไม่มีผลอย่างชัดเจนต่อการลดลงของพีเอเอช รา T8 และ T20 สามารถทนความเข้มข้นของพีเอเอชได้ถึง 500 ppm แต่เจริญได้ดีที่สุดที่ 100 ppm เมื่อทดสอบสารมัธยันตร์จากการย่อยสลายฟลูออรีนโดยรา T20 โดยการวิเคราะห์ด้วย TLC HPLC GC-MS และ 1H-NMR พบว่าสารมัธยันตร์หนึ่งที่เกิดขึ้น คือ 9-ฟลูออรีนอล สำหรับการพิสูจน์เอกลักษณ์ของราจากการเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ ITS ของรา 4 สายพันธุ์ที่ทดสอบพบว่า T8 และ T20 มีสายวิวัฒนาการร่วมกับ Phanerochaete sp. S5 มีสายวิวัฒนาการร่วมกับ Lentinus triginus และ F18 คือ Curvularia affinis
Other Abstract: By testing ability of the isolated fungi to decolorize 3 chromogenic substances by the enzyme peroxidase, 52 isolates were obtained. Among these, only 5 isolates could oxidize all chromogenic substances including guaiacol, azureB and phenol red. These 5 isolates along with other 3 isolates from Duangdoan (2548) and Sirirat (2548) were subjected to test for their abilities to grow on agar medium containing 4 polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs); fluorene, phenanthrene, fluoranthene and pyrene. All isolates were able to grow on agar medium and tested further in liquid media containing mixture of these 4 PAHs. It was found that 4 isolates could degrade the mixture of these 4 PAHs. Degradation ability of these 4 fungi in 100 ppm of each PAH were evaluated for a period of 15 days. The result showed that F18 was able to degrade 90% of fluorene; T8 was able to degrade 72% of fluorene, 95% of phenanthrene and 49.5% of fluoranthene; T20 was able to degrade fluorene, phenanthrene and fluoranthene at 83, 87 and 31%, respectively; while, S5 was able to degrade fluorene, phenanthrene and pyrene at 60, 86 and 85%, respectively. T8 and T20 were selected for further analysis due to the rate of degradation and growth of these fungi. The reduction of PAHs by mycelial mass was investigated, however, it was found that the amount of mycelia did not significantly effect to the reduction of PAHs. T8 and T20 could survive upto 500 ppm of each PAH but grew the best in 100 ppm. The analyses of metabolite of fluorene by T20 by TLC, HPLC, GC-MS and 1H-NMR revealed that one of the metabolites was 9-fluorenol. The results from fungal identification suggested that T8 and T20 had co-evolution with Phanerochaete sp., S5 had co-evolution with Lentinus triginus and F18 was Curvularia affinis.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37568
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.81
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.81
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanokpan_ju.pdf4.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.