Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37621
Title: ผลของศิลปะบำบัดต่อการลดระดับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านธรรมปกรณ์ เชียงใหม่
Other Titles: The effect of the therapeutic art on depression of the elderly in Thampakorn Chiangmai
Authors: นฤมล อินทหมื่น
Advisors: ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Siriluck.S@Chula.ac.th
Subjects: ความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
ศิลปกรรมบำบัด
Depression in old age
Art therapy
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านธรรมปกรณ์ จังหวัดเชียงใหม่ ภายในกลุ่มทดลอง ระหว่างก่อนและหลังได้รับศิลปะบำบัด และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับภาวะซึมเศร้า ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 22 คน ถูกแบ่งกลุ่มโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบและจับฉลากเข้าไปยังกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 11 คน โดยกลุ่มทดลองจะได้รับศิลปะบำบัด จำนวน 10 กิจกรรมเป็นเวลา 5 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมเข้าร่วมกิจกรรมของศูนย์ตามปกติ การศึกษานี้ใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย (TGDS) เพื่อประเมินระดับภาวะซึมเศร้าผู้สูงอายุทั้งสองกลุ่มก่อนและหลังการทดลอง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square, Fisher's Exact Test, Wilcoxon Signed Ranks Test และ Mann-Whitney Test ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าผู้สูงอายุกลุ่มทดลองหลังจากได้รับศิลปะบำบัด มีคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าลดลงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กล่าวคือกลุ่มทดลองมีภาวะซึมเศร้าลดลงหลังได้รับศิลปะบำบัด และมีภาวะซึมเศร้าลดลงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับศิลปะบำบัด
Other Abstract: The purpose of this experimental research was to compare levels of depression among the elderly in the experimental group before and after receiving art therapy and to compare levels of depression among the elderly between the experimental group and the control group. Twenty-two elderly in Thampakorn home were randomized by systematic random sampling into experimental group and control group for 11 in each group. The experimental group received art therapy 10 sessions for 5 weeks. For control group, subjects participated the usual activity of Thampakorn home. This study used the general information questionnaire and Thai Geriatric Depression Scale (TGDS) to assess the depression level of both groups including before and after the experiment. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, Chi-square test, Fisher's Exact Test, Wilcoxon Signed Ranks Test and Mann-Whitney Test. The findings of this study were the experimental group after receiving art therapy had mean scores of depression lower than before the experiment which was statistically significant (P<0.01) and had statistically significant lower depression scores than the control group (P<0.01). The experimental group had depression level lower than before receiving art therapy and lower than control group that not receiving art therapy.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37621
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1174
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1174
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
naruemon_in.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.