Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37622
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนินทร์ ทินนโชติ-
dc.contributor.authorพิชญา นิมิตรกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคกลาง)-
dc.coverage.spatialสุพรรณบุรี-
dc.date.accessioned2014-01-01T08:13:56Z-
dc.date.available2014-01-01T08:13:56Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37622-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractข้อมูลประชากรนับเป็นข้อมูลสำคัญที่ถูกใช้เป็นตัวแทนปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมในแบบจำลองการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ แต่เนื่องจากข้อมูลประชากรที่ใช้กันอยู่นั้นได้จากการสำรวจจัดเก็บเป็นรายพื้นที่เขตการปกครอง จึงมีรายละเอียดของการกระจายตัวเชิงพื้นที่ค่อนข้างต่ำ งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลประชากร และข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อจัดทำแบบจำลองการกระจายตัวของประชากรเชิงพื้นที่ ในรูปแบบของสมการความสัมพันธ์เชิงเส้น โดยมีการประยุกต์ใช้วิธีการและโปรแกรมเครื่องมือวิเคราะห์สถิติเชิงพื้นที่ ช่วยในการคัดเลือกตัวแปรประเภทการใช้ที่ดินที่นำมาใช้ในสมการ ผลการศึกษาวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นของความสัมพันธ์ดังกล่าว โดยใช้หน่วยพื้นที่ช่องกริดขนาดต่างๆ กันได้ค่าสัมประสิทธิ์ของการกำหนด (R²) อยู่ในช่วง 0.6-0.9 โดยที่ค่าสัมประสิทธิ์สูงขึ้นเมื่อเพิ่มขนาดของหน่วยพื้นที่ช่องกริดที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล และจากการทดลองปรับปรุงแบบจำลองด้วยวิธีต่างๆ รวมทั้งการใช้เทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยแบบถ่วงน้ำหนักทางภูมิศาสตร์ (GWR) พบว่าไม่สามารถเพิ่มค่าสัมประสิทธิ์ดังกล่าวได้มากนัก ซึ่งบ่งชี้ว่าแบบจำลองการกระจายตัวของประชากรในรูปแบบสมการความสัมพันธ์เชิงเส้น กับข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเพียงปัจจัยเดียวนั้น ถึงแม้จะสามารถนำไปใช้ช่วยให้การประมาณค่าประชากรเชิงพื้นที่มีความผิดพลาดน้อยลง แต่ยังคงมีข้อจำกัดของระดับความละเอียดที่ได้ และการนำไปใช้กับพื้นที่อื่นที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์และสังคมแตกต่างออกไปen_US
dc.description.abstractalternativePopulation data is very important as representation of socio-economic factors in most GIS-based, spatial data analysis modelings. Those population data, being captured per political administration units, provide too less detail spatially. In this study, the correlation between population distribution and land use data in Suphanburi province has been investigated as to develop a spatial population distribution model using linear correlation equation. The spatial statistics analysis method and program tool was applied in the process of selecting land use type variables to be included in the model. The resulted coefficient of determination (R²) obtained from the regression analysis between population distribution and land use type, using different size of grid area unit, ranges from 0.6 to 0.9. It was the larger grid area unit that delivers higher coefficient value. Various experiments including the geographically weighted regression (GWR), aiming on the enhancement of the model, has been conducted but none of them stipulates significant model improvement. This indicates that the population distribution model based on linear correlation with land use factor could be used to support more accurate spatial population interpolation, but still possess limitation on the spatial details of the acquired result and also the model usability in areas with different geographic and social environments.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1175-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความหนาแน่นของประชากร -- ไทย -- สุพรรณบุรีen_US
dc.subjectการใช้ที่ดิน -- ไทย -- สุพรรณบุรีen_US
dc.subjectการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ (สถิติ)en_US
dc.subjectสุพรรณบุรี -- ประชากรen_US
dc.subjectPopulation density -- Thailand -- Suphan Burien_US
dc.subjectLand use -- Thailand -- Suphan Burien_US
dc.subjectSpatial analysis (Statistics)en_US
dc.subjectSuphan Buri -- Populationen_US
dc.titleการศึกษาแบบจำลองการกระจายตัวของประชากรจากข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยวิธีการสถิติเชิงพื้นที่ : กรณีศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรีen_US
dc.title.alternativeStudy of population distribution model using land use data by spatial statistical method : case study of Suphanburi provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineระบบสารสนเทศปริภูมิทางวิศวกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorchanin.ti@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1175-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pitchaya_ni.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.