Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3783
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์-
dc.contributor.authorชาญณรงค์ รุจิระชาติกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-07-26T07:42:40Z-
dc.date.available2007-07-26T07:42:40Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9745329576-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3783-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractการปลูกถ่ายไตเป็นวิธีการรักษาที่มาตรฐานและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ปัจจุบันยังไม่มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการวิธีใดที่สามารถทำนายการเกิดภาวะต่อต้านไตเฉียบพลันภาวะต่อต้านไตเรื้อรัง และภาวะการทำงานของไตยืนยาวได้ โซลูเบิลอินเตอร์ลิวคินทูรีเซ็บเตอร์ถูกหลั่งออกมาในกระแสเลือดในระหว่างที่มีการกระตุ้นทีลิมโฟไซท์ ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการเกิดภาวะต่อต้านอวัยวะที่ปลูกถ่าย นำไปสู่สมมติฐานที่ว่าการตรวจวัดระดับโซลูเบิลอินเตอร์ลิวคินทูรีเซ็บเตอร์ในเลือดของผู้ป่วยที่ปลูกถ่ายไตจะสามารถทำนายผลการปลูกถ่ายไตได้ ทำการศึกษาผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไต 198 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยที่เกิดภาวะต่อต้านไตเฉียบพลัน 17 ราย ภาวะต่อต้านไตเรื้อรัง 11 ราย ผู้ป่วยที่เกิดทั้งภาวะต่อต้านไตเฉียบพลันและเรื้อรัง 5 ราย ภาวะการทำงานของไตยืนยาว 27 ราย นอกจากนี้ยังทำการศึกษาในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ทำการฟอกเลือด 40 ราย และประชากรทั่วไป 30 ราย โดยทำการวัดระดับโซลูเบิลอินเตอร์ลิวคินทูรีเซ็บเตอร์ในเลือดด้วยวิธี ELISA (DuoSet ELISA, R&D System) ผลการศึกษาพบว่า ระดับโซลูเบิลอินเตอร์ลิวคินทูรีเซ็บเตอร์ในเลือดของผู้ป่วยที่เกิดภาวะต่อต้านไตเฉียบพลัน (785.34+-320.08 pg/ml) ภาวะต่อต้านไตเรื้อรัง (600.84 +- 167.22 pg/ml) และเกิดทั้งสองภาวะร่วมกัน (770.86 +- 339.84 pg/ml) มีค่าสูงกว่า ผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตยืนยาว (351.82 +- 124.36 pg/ml) และผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไตอื่นๆ (388.27 +- 166.30 pg/ml) อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.01) ผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตยืนยาวมีระดับโซลูเบิลอินเตอร์ลิวคินทูรีเซ็บเตอร์ในเลือดไม่แตกต่างจากผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไตอื่น (p = 0.94) ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ทำการฟอกเลือดมีระดับโซลูเบิลอินเตอร์ลิวคินทูรีเซ็บเตอร์ในเลือด (477.94 +- 40.25 pg/ml) สูงกว่าผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตยืนยาวและผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไตอื่นๆ แต่มีค่าต่ำกว่าผู้ป่วยที่เกิดภาวะต่อต้านไตเฉียบพลัน และผู้ป่วยที่เกิดทั้งภาวะต่อต้านไตเฉียบพลันและเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ระดับโซลูเบิลอินเตอร์ลิวคินทูรีเซ็บเตอร์ในเลือดของประชาชนทั่วไป (176.09 +- 114.62 pg/ml) มีค่าต่ำกว่าผู้ป่วยทุกกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) กล่าวโดยสรุป ระดับโซลูเบิลอินเตอร์ลิวคินทูรีเซ็บเตอร์ในเลือดที่สูงมีความสัมพันธ์กับการเกิด ภาวะต่อต้านไตเฉียบพลัน ภาวะต่อต้านไตเรื้อรัง ในผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไต ซึ่งในอนาคตน่าจะนำมาใช้ในการทำนายผลของการปลูกถ่ายไตและเป็นแนวทางในการเลือกใช้ยากดภูมิคุ้มกันต่อไปen
dc.description.abstractalternativeBlackground: Renal transplantation is a standard and most effective treatment of end stage renal disease (ESRD) patients. In a present day, there is no laboratory method to predict outcome of transplantation. T cell activation leads to secretion of soluble interleukin-2 receptor (s IL-2R) and elevated serum s IL-2R. However the clinical implication of individual elevated s IL-2R level is unclear. We determine s IL-2R level in post rental transplant recipients to predict outcome of renal transplantation. Methods: s IL-2R level were measured in samples of serum from 198 post renal transplant recipients (17 acuete allograft rejection patients, 11 chronic allograft nephropathy (CAN) patients, 5 both acute allograft rejection and CAN patients, 27 long term graft survival patients), 40 ESRD patients on chronic hemodialysis, 30 normal population by enzyme linked immunosorbent assay (ELISA) method (Duoset ELISA, R&D System) Results: s IL-2R level in acute allograft rejection (785.34 +- 320.08 pg/ml), CAN (600.84 +-167.22 pg/ml), both acute allograft rejection and CAN (770.86 +- 339.84 pg/ml) were significant higher than long term graft survival (351.82 +- 124.36 pg/ml) and other renal transplant recipients (388.27 +- 166.30 pg/ml) (p < 0.01). No significant difference between s IL-2R level in long term graft survival and other renal transplant recipients (p = 0.94). ESRD patients on chronic hemodialysis have significant higher level of s IL-2R (477.94 +- 40.25 pg/ml) than long term graft survival and other renal transplant recipients (p < 0.05) but significant lower than acute allograft rejection, both acute allograft rejection and CAN patients (p < 0.05). No significant difference between s IL-2R level in ESRD and CAN patients (p = 0.29). General population have lowest s IL-2R level (176.09 +- 114.62 pg/ml) compared to other groups (p < 0.01). Conclusion: High s IL-2R level are associated with acute allograft rejection and chronic allograft nephropathy. In the future, s IL-2R level maybe used to predict outcome of renal transplantation and choice of immunosuppressive drugsen
dc.format.extent1600875 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1019-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectไต -- การปลูกถ่ายen
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบระดับโซลูเบิลอินเตอร์ลิวคินทูรีเซ็บเตอร์ในผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไตที่เกิดภาวะต่อต้านไตเฉียบพลันภาวะต่อต้านไตเรื้อรังและผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตยืนยาวen
dc.title.alternativeStudy of soluble interleukin-2 receptor (slL-2R) in aute allograft rejection, chronic allograft nephropathy and long term graft survival of post renal transplant recipientsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorkearkiet@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2005.1019-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanarong.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.