Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37901
Title: ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองและการออกกำลังกายแบบรำไม้พลองต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2
Other Titles: The effects of self-management program and Ram Mai Plong exercise on HbA1C and quality of life in older persons with type 2 diabetes mellitus
Authors: สุชาดา คงหาญ
Advisors: ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Tassana.C@Chula.ac.th
Subjects: การออกกำลังกาย
ผู้สูงอายุ
เบาหวาน
คุณภาพชีวิต
Exercise
Older people
Diabetes
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการ จัดการตนเองและการออกกำลังกายแบบรำไม้พลองต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลระนอง จังหวัดระนอง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 48 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 24 ราย จัดกลุ่มตัวอย่างเป็นคู่ โดยให้มีลักษณะเหมือนกันด้านเพศและมีความคล้ายคลึงกันด้านอายุ ระยะเวลาที่เป็นโรค ชนิดของยาที่ใช้ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองและการออกกำลังกายแบบรำไม้พลอง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือโปรแกรมการจัดการตนเองและการออกกำลังกายแบบรำไม้พลองและแบบสอบถามคุณภาพชีวิต โดยผ่านการตรวจสอบควา เหมาะสม ความตรงตามเนื้อหาและความถูกต้องของภาษาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองและการออกกำลังกายแบบรำไม้พลองลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( X̅ pre = 8.65, SD = 1.53 ; X̅ post = 8.07, SD = 1.58, [d-bar] = .58, Sd = 1.13) 2. ค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองและการออกกำลังกายแบบรำไม้พลองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 X̅ pre = 55.67, SD = 5.05; X̅ post = 65.33, SD = 3.10, [d-bar] = -9.67, Sd = 4.40) 3. ค่าเฉลี่ยระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองและการออกกำลังกายแบบรำไม้พลองลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (X̅ experimental = 8.07, SD = 1.58; X̅ control = 8.90, SD = 1.51, t = -1.88) 4. ค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองและการออกกำลังกายแบบรำไม้พลองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (X̅ experimental = 65.33, SD = 3.10; (X̅ control = 61.00, SD = 3.27, t = 4.71)
Other Abstract: This quasi – experimental research aimed to test the effects of self-management program and ram mai plong exercise on HbA1C and quality of life in older persons with type 2 diabetes mellitus. The study sample were 48 patients, Diabetes Clinic out-patient department Ranong hospital, Ranong province. The experimental group and the compare groups were matched in term of sex, type of medications and duration of illness. The compare group received the eight weeks self-management program and ram mai plong exercise, while the control group received a conventional nursing care. The experimental group instruments were the self-management program and ram mai plong exercise and Quality of Life Questionnaire. The instruments were tested to the content validity by experts. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test. The research finding were as follows: 1. The mean HbA1C in older persons with type 2 diabetes mellitus after received the self-management program and ram mai plong exercise was significant lower than before received program at level of .05. (X̅ pre = 8.65, SD = 1.53 ; X̅ post = 8.07, SD = 1.58, [d-bar] = .58, Sd = 1.13). 2.The mean quality of life in older persons with type 2 diabetes mellitus after received the self-management program and ram mai plong exercise was significant higher than before received program at level of .05. (X̅ pre = 55.67, SD = 5.05; X̅ post = 65.33, SD = 3.10, [d-bar] = -9.67, Sd = 4.40). 3.The mean HbA1C in older persons with type 2 diabetes mellitus in experimental group and control group was not significant different at level of .05. (X̅ experimental = 8.07, SD = 1.58; X̅ control = 8.90, SD = 1.51, t = -1.88). 4.The mean quality of life in older persons with type 2 diabetes mellitus in experimental group and control group was significant at level of .05. (X̅ experimental = 65.33, SD = 3.10; (X̅ control = 61.00, SD = 3.27, t = 4.71).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37901
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1250
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1250
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchada_ko.pdf17.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.