Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37909
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวิมล ว่องวาณิช-
dc.contributor.authorอุษณีย์ รองพินิจ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-01-09T03:56:03Z-
dc.date.available2014-01-09T03:56:03Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37909-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ระดับการยึดมั่นผูกพันกับงานของครูและระดับการคงอยู่ในงานอาชีพครู และเปรียบเทียบการยึดมั่นผูกพันกับงานของครูและการคงอยู่ในอาชีพครูตามประสบการณ์สอนที่แตกต่างกัน 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการคงอยู่ในงานอาชีพครูโดยมีปัจจัยเชิงสาเหตุมาจากทรัพยากรในงานและทรัพยากรในตัวบุคคล และส่งผ่านการยึดมั่นผูกพันกับงานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์และศึกษารูปแบบอิทธิพลทางตรงของทรัพยากรในงานและทรัพยากรในตัวบุคคลของครูต่อระดับการคงอยู่ในงานอาชีพครู และอิทธิพลทางอ้อมที่มีการส่งผ่านการยึดมั่นผูกพันกับงานของครูไปยังระดับการคงอยู่ในงานอาชีพครู ตัวอย่างการวิจัย คือ ครูระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังกัด สพฐ. ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 753 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอน บาคอยู่ระหว่าง 0.720-0.909 และค่าความเที่ยงของตัวบ่งชี้ R² อยู่ระหว่าง 0.210-0.918 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ครูมีระดับการยึดมั่นผูกพันกับงานและระดับการคงอยู่ในงานอาชีพครูในระดับสูง โดยครูที่มีประสบการณ์สอนมากกว่า 15 ปีขึ้นไปมีการยึดมั่นผูกพันกับงานสอนสูงกว่าครูที่มีประสบการณ์สอนน้อยกว่า 5 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และครูที่มีประสบการณ์สอนแตกต่างกัน มีระดับการคงอยู่ในงานอาชีพครูไม่แตกต่างกัน 2. โมเดลเชิงสาเหตุของการคงอยู่ในงานอาชีพครูผ่านการยึดมั่นผูกพันกับงานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าสถิติ Chi-square=22.790, df=23, p-value = 0.473, GFI=0.995, AGFI=0.982, RMR=0.006, RMSEA=0.000 และ ค่า Chi-square/df=0.991 3. ทรัพยากรในงานและทรัพยากรในตัวบุคคลมีอิทธิพลทางตรง (DE = 0.269, 0.426 ตามลำดับ) และทางอ้อม (IE = 0.140, 0.231 ตามลำดับ) ผ่านการยึดมั่นผูกพันกับงานไปยังการคงอยู่ในงานอาชีพครู โดยมีอิทธิพลทางตรงสูงกว่าทางอ้อมผ่านการยึดมั่นผูกพันกับงาน และการยึดมั่นผูกพันกับงานมีอิทธิพลทางตรงต่อการคงอยู่ในงานอาชีพครู (DE = 0.233)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were : (1) to analyze and compare the work engagement level and teacher retention level of teachers with different teaching experiences; (2) to develop and validate a causal model of teacher retention with work engagement as the mediator; and (3) to analyze and study the patterns of the direct effect of job resources and personal resources on the teacher retention and the indirect effect on teacher retention via work engagement. The sample consisted of 753 teachers from OBEC schools in Bangkok. The research data were collected using questionnaires with reliability value by Cronbach’s alpha coefficient between 0.720-0.909 and square multiple correlation value between 0.210 - 0.918. The research data were then analyzed using descriptive statistics, One-way ANOVA, Pearson correlation, and the LISREL mediation model. The research findings were as follows : 1) The teachers had a high level of work engagement and teacher retention. The teachers who had 15 years teaching experience or longer had a higher level of work engagement than the teachers who had worked less than 5 years. Conversely, teachers who had different teaching experience had the same level of teacher retention. 2) A causal model of teacher retention with work engagement as mediator fitted the empirical data (Chi-square=22.790, df=23, p-value=0.47307, GFI=0.995, AGFI=0.982, RMSEA=0.000, and Chi-square/df=0.991). 3) Job resources and personal resources have direct and indirect effects on teacher retention mediated by work engagement. A direct effect is greater than a indirect effect. Furthermore, work engagement has a direct effect on teacher retention.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1205-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการธำรงรักษาพนักงานen_US
dc.subjectครู -- ความพอใจในการทำงานen_US
dc.subjectEmployee retentionen_US
dc.subjectTeachers -- Job satisfactionen_US
dc.titleการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการคงอยู่ในงานอาชีพครูผ่านการยึดมั่นผูกพันกับงานen_US
dc.title.alternativeDevelopment of a causal model of teacher retention with work engagement as mediatoren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorwsuwimon@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1205-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Usanee_ro.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.