Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3791
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปาริชาติ สถาปิตานนท์ สโรบล-
dc.contributor.authorจิราพร เนติธาดา, 2514--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.coverage.temporal2461-2535-
dc.date.accessioned2007-07-26T10:51:44Z-
dc.date.available2007-07-26T10:51:44Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743346856-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3791-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการถ่ายทอดธรรมะของหลวงพ่อชา สุภัทโท โดยนำทฤษฎีการเล่าเรื่องและทฤษฎีสัญญะวิทยามาใช้เป็นกรอบในการวิจัย ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์เนื้อหา และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกพระภิกษุซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดธรรมะจากหลวงพ่อชา สุภัทโท โดยตรงจำนวน 15 รูป ผลการวิจัยพบว่า 1. หลวงพ่อชา สุภัทโท มีวิธีการถ่ายทอดธรรมะโดยการพูดเรื่องธรรมะให้ลูกศิษย์ฟัง ปฏิบัติในสิ่งที่พูดให้ฟังไปแล้วให้ดูเป็นตัวอย่าง และให้ลูกศิษย์ทดลองปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเข้าใจด้วยตนเอง 2. การถ่ายทอดธรรมะของหลวงพ่อชา สุภัทโท โดยการพูดให้ฟังนั้น จะใช้วิธีการใช้คำพูดสั้นๆ ง่ายๆ ไม่ใช้คำศัพท์ภาษาบาลี สันสกฤต ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้จะมีคำอธิบายประกอบ 3. หลวงพ่อชา สุภัทโท ใช้การยกตัวอย่างเปรียบเทียบแบบอุปมา อุปไมย ในการอธิบายหัวข้อธรรมะซึ่งเป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมโดยสิ่งที่นำมาเปรียบเทียบนั้นเป็นธรรมชาติที่อยู่รอบๆ ตัวมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ส่วนใหญ่เคยมีประสบการณ์มาก่อน จึงสามารถสร้างมโนภาพตัวอย่างเปรียบเทียบ และเข้าใจธรรมะได้ง่ายขึ้น 4. การถ่ายทอดธรรมะโดยการปฏิบัติให้ดูและให้ปฏิบัติตามนี้เป็นการใช้สัญลักษณ์โดยผ่านอวัจนภาษาเพื่อสื่อความหมายของการปฏิบัติในบริบทของพระธรรม ซึ่งจะช่วยย้ำความมั่นใจให้กับผู้รับการถ่ายทอดด้วยการเห็นของจริงและได้รับรู้ถึงความรู้สึกจริงจากการปฏิบัติด้วยตนเองหลังจากที่ได้ฟังเรื่องธรรมะมาก่อนแล้ว 5. ในแง่มุมของการเล่าเรื่องนั้น หลวงพ่อชาจะเล่าเรื่องที่ใช้ในการยกไปเปรียบเทียบกับธรรมะซึ่งเรื่องที่เล่านั้นจะเป็นเรื่องสั้นๆ มีเหตุการณ์เพียง 2-3 เหตุการณ์ มีตัวละครเพียง 1-2 ตัว เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์กันแบบเป็นเหตุเป็นผลตามหลักธรรมชาติ โดยมีความคิดหลักคือ การใช้สติพิจารณาความไม่แน่นอนของสรรพสิ่งเพื่อนำไปสู่การปล่อยวาง การปฏิบัติสมาธิภาวนา และการปฏิบัติตามหนทางแห่งความดับทุกข์ 6. เรื่องเล่าของหลวงพ่อชา สุภัทโท เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ น่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับของลูกศิษย์เนื่องจากการปฏิบัติตนของท่านสอดคล้องกับสิ่งที่ท่านเล่าและเรื่องที่ท่านเล่านั้นมีความคงเส้นคงวาตลอดเรื่อง เป็นเรื่องจริงและมีคุณค่าในแง่ของศีลธรรมด้วยen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to study Dhamma preaching methods of Luangpor Cha Supatho (Buddhist Bhikku) under semiotic and narrative paradigm theories. Textual analysis and in depth interview--were used as the way to collect data. The results of this study are as follow: 1. Luangpor Cha Supatho delivers Dhamma to his disciples by talking and practicing what he preaches as a sample and having their disciples practice by themselves. 2. To preach by talking, he uses short and simple words and avoids using technical terms (if necessary, he will explain them). 3. Luangpor Cha Supatho uses metaphor in explaining Dhamma. He explains abstract words by using concrete words. The concrete words that he always mentions are nature surrounding human being. Since most people have experiences with nature by birth, they can imagine the picture of Luangpor Cha's samples in their minds and link them to Dhamma. This method helps them understand Dhamma more easily. 4. Preaching Dhamma by showing samples of behaviors to disciples (following up the Buddhist Regulations strictly) and having them practice by themselves is regarded as non-verbal communication. This method supports the beliefs of the disciples by seeing examples of real events, which can be related to Dhamma. 5. In narrative aspect, Luangpor Cha Supatho uses short stories to explain Dhamma. Normally they are stories consisting of a few events and a few characters. They have causal and effect relations. Themes are focused on uncertainty of things and letting go, meditation and following up "The way to enlightenment". 6. His narratives are reliable, possible and acceptable because they correspond to what he preaches his disciples. Besides, his narratives have consistency, true and value in moral aspecten
dc.format.extent11922615 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1999.354-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพระชา สุภัทโท, 2461-2535en
dc.subjectสัญศาสตร์en
dc.subjectวาทวิทยาen
dc.subjectพุทธศาสนา -- การศึกษาและการสอนen
dc.titleวิธีการถ่ายทอดธรรมะของหลวงพ่อชา สุภัทโทen
dc.title.alternativeDharma preaching methods of luangpor Cha Supatho (Buddhist Bhikku)en
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตรพัฒนาการen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorParichart.S@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1999.354-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jiraporn.pdf10.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.