Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3796
Title: | พฤติกรรมการรับสื่อโทรทัศน์ของเด็กในครอบครัวที่มีอาชีพประมง |
Other Titles: | Television exposure behavior of children of fisherman family |
Authors: | วัชรี ดำศรี, 2517- |
Advisors: | วิภา อุตมฉันท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Vipha.U@chula.ac.th |
Subjects: | โทรทัศน์กับเด็ก โทรทัศน์กับเยาวชน |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เพื่อศึกษาการใช้เวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ และพฤติกรรมการรับสื่อโทรทัศน์ของเด็กในครอบครัวที่มีอาชีพประมง 2 ประเภท ได้แก่ อาชีพประมงน้ำลึกหรือประมงทะเลและอาชีพประมงน้ำตื้น กลุ่มอายุ 6-12 ปี โดยศึกษาวิจัยในช่วงเวลาหลังจากเด็กกลับจากโรงเรียนจนถึงเข้านอน ตั้งแต่ 16.00-20.00 น. ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ใช้วิธีการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และใช้ทฤษฎีวิพากษ์ตามแนวคิดของ David Morley เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัย ผลการวิจัยพบว่า เด็กในครอบครัวประมงส่วนใหญ่มีอิสระในการทำกิจกรรมต่างๆ ตามความต้องการของตนเอง โดยเด็กใช้เวลาส่วนใหญ่ในการดูโทรทัศน์ประมาณวันละ 1 1/2 - 2 ชั่วโมง เล่นประมาณวันละ 1 - 1 1/2 ชั่วโมง และใช้เวลาที่เหลือในการทำกิจกรรมอื่นๆ ได้แก่ รับประทานอาหารเย็น ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ทำการบ้าน อ่านหนังสือ และปฏิบัติภารกิจส่วนตัว เด็กที่ใช้เวลาไปกับการเล่นมากจะใช้เวลาในการดูโทรทัศน์น้อยซึ่งพบมากในเด็กเล็กๆ ส่วนเด็กที่ใช้เวลาไปกับการเล่นน้อยจะใช้เวลาในการดูโทรทัศน์มาก เด็กๆ สามารถสร้างสรรค์จินตนาการการเล่นไปกับธรรมชาติ ตามสถานที่ เวลา และฤดูกาลที่เอื้ออำนวย รายการโทรทัศน์ที่เด็กในครอบครัวประมงเลือกเปิดรับมากที่สุดได้แก่ การ์ตูนและละคร สถานีที่เลือกรับชมรายการมากที่สุด คือ ช่อง 3 เพราะมีการผลิตรายการเกี่ยวกับเด็กเป็นรายการที่เด็กสนใจ อีกประการหนึ่งคือสามารถรับสัญญาณภาพและเสียงของช่อง 3 ได้ชัดเจนกว่าสถานีอื่น ความไม่ชัดเจนของสัญญาณโทรทัศน์ทำให้เด็กถูกปิดกั้นข่าวสาร ทั้งๆ ที่สถานีผลิตรายการที่เด็กสนใจเช่นกัน ในขณะที่ดูโทรทัศน์เด็กไม่ใช่จะนั่งดูนิ่งๆ เพียงอย่างเดียว แต่จะทำกิจกรรมอื่นไปพร้อมกัน กิจกรรมที่พบมากที่สุด คือ การรับประทานขนมขบเคี้ยวปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นขณะดูโทรทัศน์มีทั้งตอบรับและปฏิเสธ มีการวิพากษ์วิจารณ์รายการโทรทัศน์ที่กำลังดูอยู่เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ และเลียนแบบพฤติกรรมต่างๆ จากโทรทัศน์ เด็กในครอบครัวประมงน้ำตื้นส่วนใหญ่ พ่อแม่ไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่ เพราะมัวสาละวนอยู่กับการทำมาหาเลี้ยงครอบครัว ทำให้เด็กมีชีวิตที่อิสระมากในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ตนเองต้องการ แม้แต่การดูโทรทัศน์เด็กก็มีอิสระที่จะเลือกรับชมได้ทุกรายการทุกเวลา โดยเด็กจะขาดการชี้นำในการดูโทรทัศน์จากพ่อแม่ผู้ปกครอง ถึงแม้จะมีบุคคลอื่นดูโทรทัศน์กับเด็กด้วยก็ตาม แต่บุคคลเหล่านั้นก็ไม่ได้ให้ความสนใจชี้นำกับเด็กๆ เลย แม้แต่เด็กในครอบครัวประมงน้ำลึก ซึ่งเป็นครอบครัวที่ค่อนข้างอบอุ่นและมีรายได้ดีกว่า แม่มีโอกาสดูโทรทัศน์กับเด็กแต่แม่ก็ไม่ได้ชี้นำเด็กในการดูโทรทัศน์เช่นกัน กรณีเช่นนี้น่าจะมาจากระดับการศึกษาของพ่อแม่ของเด็กเองที่เป็นตัวแปรสำคัญในการคิด พิจารณา คอยชี้นำให้เด็กเลือกรับชมรายการโทรทัศน์ และแนะนำ สั่งสอนเด็กไปในทิศทางที่ถูกต้อง |
Other Abstract: | The purpose of research is to study "Television Exposure Behavior of Children of Fisheman Family" the both depth-fishery and shallow-fishery and children between 6-12 years old. By the critical Theory of David Morley, the methodologies are non-participate observation and in-depth interview. The studied period is from after school to bedtime. The research found that these children have freedom to select their favorite activity. Almost of them open their television around 1.5-2 hours and play around 1-1.5 hours per day. Their spend the rest of time to do the other activities like have dinner, help their parents do housework, do their homework, reading or take care themselves. Some children use the time to watching television more than playing. On the other hand, some children use the time to playing more than watching television. All of them have the imagination and creativity to play along with nature. Cartoon and drama are the most selective program for them. Their expected program and clearly signal are the reason that channel 3 is the most selection exposure while the other have only their expected program, but do not have clearly signal. And unclear signal is the important factor that can prohibit the flowing of information to them. Children of fisherman family always do some of activities while they are watching television. The most discovered activity is eating some snack. They have both positive and negative reaction with the program. They talk and discuss the program as same as the parents doing, and they imitate the acting from television program. Although the depth-fisherman family have the time to take care the children more than the shallow-fisherman family because they have better income, but all of them did not recommended how to exposure television through their children. One of the important factors should be the education level of their parents |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3796 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.312 |
ISBN: | 9741303491 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2000.312 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Watcharee.pdf | 1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.