Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3815
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นิพัทธิ์ กาญจนธนาเลิศ | - |
dc.contributor.advisor | สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย | - |
dc.contributor.author | พิสิฎฐ์ ชัยประเสริฐสุด, 2511- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2007-08-03T07:02:12Z | - |
dc.date.available | 2007-08-03T07:02:12Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.isbn | 9745324426 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3815 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกในช่วงเวลาที่ศึกษาของภาวะซึมเศร้าในสตรีวัยเปลี่ยนที่คลินิกวัยหมดประจำเดือน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้า จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 ราย ซึ่งมารับบริการในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกันยายน พ.ศ. 2548 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม (Social Support Scale) แบบประเมินเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต (Life Stress Event Scale) และแบบสอบถามประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยตนเอง HRSR (Health-Related Self Report) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และพิสัย ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่า Chi-Square test, t-test, Pearson's product moment correlation coefficient วิเคราะห์ multivariate analysis โดยใช้ Logistic regression analysis และ Stepwisemultiple regression analysis ผลการศึกษาพบว่า สตรีวัยเปลี่ยนมีความชุกในช่วงเวลาที่ศึกษาของภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 13 ในการวิเคราะห์ตัวแปรเชิงเดี่ยว ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศาสนา ความเพียงพอของรายได้สภาวะของประจำเดือน การสนับสนุนทางสังคม และเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต หลังจากวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Logistic Regression Analysis พบว่า ปัจจัยที่ยังคงมีความสัมพันธ์ต่อภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P < .05 และ .001 คือ การสนับสนุนทางสังคมต่ำ (adjusted OR = 63.54, 95% CI = 6.100-661.803) และความไม่เพียงพอของรายได้ (adjusted OR = 21.532, 95% CI = 2.009-230.783) ตามลำดับ และใช้ multiple Regression Analysis พบว่า ปัจจัยที่มีผลทำนายค่าคะแนนภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ p < .001 คือ ความไม่เพียงพอของรายได้ และการสนับสนุนทางสังคมต่ำ ตามลำดับ | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this cross-sectional descriptive study was to examine the point prevalence of depression and associated factors among 100 climacteric women at menopausal clinic in King Chulalongkorn Memorial Hospital during June to September, 2005. The instruments in this study were the self-reported questionnaire assessed for demographic data, Social Support Scale, Life Stress Event Scale and HRSR assessed for depression (Health Related-Self Report). The SPSS for Windows were used for descriptive and inferential statistical analysis. Descriptive statistics were presented as percentage, mean, standard deviation, range and inferential statistics were done for Chi-Square test, t-test, Pearson's product moment correlation coefficient, multivariate analysis was performed as Logistic regression analysis and Stepwise multiple regression analysis The results of this study revealed that point prevalence of depression was 13%. In univariate analysis, associated factors for depression were religion, income adequacy, menstrual pattern, social supports and life stress events. The factors associated to depression after performing Logistic Regression analysis were low social supports (adjusted OR = 63.54, 95% CI = 6.100-661.803) and inadequacy income (adjusted OR = 21.532, 95% CI = 2.009-230.783) at statistical significant level of p < .05 and .001 respectively. The predictive factors regarding to depressive scores after performing Multiple Regression Analysis were inadequacy income, and low social supports at statistical significant level of p < .001 | en |
dc.format.extent | 1312470 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1148 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ความซึมเศร้าในสตรี | en |
dc.subject | วัยหมดระดู | en |
dc.title | ภาวะซึมเศร้าของสตรีวัยเปลี่ยนที่มารับบริการที่คลินิกวัยหมดประจำเดือน ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ | en |
dc.title.alternative | Depression among women during the climacteric period at menopausal clinic in King Chulalongkorn Memorial Hospital | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | จิตเวชศาสตร์ | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2005.1148 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.