Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3825
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช | - |
dc.contributor.advisor | ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ | - |
dc.contributor.author | สุมาลี กาญจนชาตรี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2007-08-16T10:01:59Z | - |
dc.date.available | 2007-08-16T10:01:59Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9741306075 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3825 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en |
dc.description.abstract | พัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่ส่งเสริมคุณลักษณะ ของนักเรียนระดับประถมศึกษาในการสร้างความรู้ ตามแนวคอนสตรักติวิซึม และประเมินผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนที่ส่งเสริมคุณลักษณะ ของนักเรียนระดับประถมศึกษาในการสร้างความรู้ตามแนวคอนสตรักติซึม ดำเนินการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดย 1) สังเคราะห์คุณลักษณะของนักเรียนระดับประถมศึกษา ที่จำเป็น สำหรับการสร้างความรู้ตามแนวคอนสตรักติวิซึม 2) สังเคราะห์เงื่อนไขของการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณลักษณะ ของนักเรียนระดับประถมศึกษาในการสร้างความรู้ตามแนวคอนสตรักติวิซึม 3) สังเคราะห์กระบวนการเรียนการสอนตามเงื่อนไขของการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมคุณลักษณะของนักเรียนระดับประถมศึกษา ในการสร้างความรู้ตามแนวคอนสตรักติวิซึม กลุ่มตัวอย่างในการประเมินกระบวนการเรียนการสอน ที่พัฒนาขึ้นเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ จำนวน 37 คน วัดผลก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอน ที่พัฒนาขึ้นโดยทดลองสอนสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง เป็นเวลา 10 สัปดาห์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณลักษณะของนักเรียนระดับประถมศึกษาในการสร้างความรู้ ตามแนวคอนสตรักติวิซึมประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ คือ การกำกับตนเอง ทักษะทางสังคมและทักษะในการสืบสอบ 2. กระบวนการเรียนการสอนที่ส่งเสริมคุณลักษณะของนักเรียน ระดับประถมศึกษาในการสร้างความรู้ตามแนวคอนสตรักติวิซึมประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) เกิดความขัดแย้งทางปัญญา นักเรียนเกิดความขัดแย้งทางความคิดที่เป็นผลจากความรู้เดิม กับข้อมูลที่รับเข้ามาใหม่ไม่สอดคล้องกัน 2) แสวงหาคำตอบ นักเรียนจัดกลุ่มและดำเนินการค้นหาคำตอบ เพื่อลดความขัดแย้งทางปัญญาที่เกิดขึ้น 3) ตรวจสอบความเข้าใจ นักเรียนสร้างความรู้ของตนเองผ่านการเจรจาต่อรองทางสังคม 4) ใช้ความรู้ที่เรียนมา นักเรียนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว มาใช้ในบริบทอื่นๆ 3. นักเรียนมีพฤติกรรมการกำกับตนเองและพฤติกรรม ที่แสดงทักษะในการสืบสอบส่วนใหญ่อยู่ในระดับควรปรับปรุง ส่วนพฤติกรรมที่แสดงทักษะทางสังคมอยู่ในระดับพอใช้ ทั้งก่อนและหลังการเรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น 4. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการกำกับตนเองและพฤติกรรม ที่แสดงทักษะสังคมและทักษะในการสืบสอบสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | en |
dc.description.abstractalternative | To develop the instructional process which enhanced the characteristics of elementary school students to construct the knowledge based on constructivism and to evaluate the instructional process enhancing the characteristics of elementary school students to construct the knowledge based on constructivism. The instructional process was developed by :-1) synthesizing elementary school students' characteristics to construct the knowledge based on constructivism 2) synthesizing the learning conditions that enhanced the students' characteristics to construct the knowledge based on constructivism 3) synthesizing the instructional process pursuant to the learning conditions that enhanced the students' characteristics to construct the knowledge based on constructivism. The sample used for evaluating the developed instructional process was 37 grade four students at Thai-Niyom Song Krow School. The evaluation took place before and after implementing the developed process. The research findings were as follows:- 1. The elementary school students' characteristics to construct the knowledge based on constructivism consisted of self-regulation behaviors, social skills and inquiry skills. 2. There were four steps in the instructional process enhancing the characteristics of elementary school students to construct the knowledge based on constructivism, namely 1) the cognitive conflict which the students must create a conflict in their thinking resulting from the contradiction of their prior knowledge and the newly perceived information 2) the searching response which the students must organize in to groups to look for possible answers to reduce the cognitive conflict that might arise 3) the understanding check-up which the students must construct their own knowledge through the social negotiation 4) the knowledge application which the students must apply the acquired knowledge to some other contexts. 3. The self-regulation behaviors and inquiry skills of most students should be improved, however, their social skills were at the fair level. 4. After the treatment students possessed a higher scores in self-regulation behaviors, social skills and inquiry skills than before treatment at the 0.05 level of significance | en |
dc.format.extent | 1232553 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.451 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การเรียนรู้ | en |
dc.subject | ทฤษฎีสรรคนิยม | en |
dc.title | การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่ส่งเสริมคุณลักษะ ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ในการสร้างความรู้ตามแนวคอนสตรักติวิซึม | en |
dc.title.alternative | The development of instructional process enhancing elementary school students' characteristics in constructing knowledge based on constructivism | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en |
dc.degree.discipline | หลักสูตรและการสอน | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Chanpen.C@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2000.451 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sumalee.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.