Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38314
Title: การพัฒนาระบบรองรับการสะเทือนแบบควบคุมด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
Other Titles: Development of electromagnetic–controlled shock absorber system
Authors: ปรัชญ์ แจ่มแจ้ง
Advisors: ธารา ชลปราณี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Tara.C@chula.ac.th
Subjects: รถยนต์ -- สปริงและระบบกันสะเทือน -- การควบคุม
สนามแม่เหล็กไฟฟ้า
Automobiles -- Springs and suspension -- Control
Electromagnetic fields
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เมื่อยานพาหนะเคลื่อนที่ไปบนพื้นผิวย่อมมีการสั่นสะเทือนเกิดขึ้น ระบบรองรับการสะเทือนมีผลต่อประสิทธิภาพการขับเคลื่อน และประสิทธิภาพในการควบคุมของยานพาหนะ สำหรับระบบรองรับการสะเทือนที่พัฒนาขึ้นนี้ต้องการให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับยานพาหนะต่างๆ โดยมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการรองรับการสะเทือนของระบบ ความแม่นยำด้วยการควบคุมจากการประมวลผล และการสึกหรอจากส่วนเคลื่อนที่ทางกลที่น้อยกว่าระบบรองรับการสะเทือนที่ใช้ในปัจจุบัน วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการพัฒนาระบบรองรับการสะเทือนแบบควบคุมด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ทำการออกแบบและสร้างระบบรองรับการสะเทือนแบบควบคุมด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า จำลองขึ้นด้วยแนวคิดของรถไฟแม่เหล็ก เพื่อต้องการให้ระบบรองรับการสะเทือนที่พัฒนาขึ้นมาสามารถตอบสนองต่อการสั่นสะเทือนในรูปแบบต่าง ๆ ได้ ส่งผลให้การขับเคลื่อนและควบคุมของยานพาหนะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบดังกล่าวใช้การเคลื่อนที่ของแม่เหล็กถาวรภายในขดลวดไฟฟ้า โดยขดลวดไฟฟ้าจะมีการสั่งงานผ่านหน่วยประมวลผลไปยังวงจรขยายเพื่อกำหนดแรงดันที่เหมาะสม วงจรขยายทำหน้าที่รับสัญญาณแรงดันแอนะล็อกและทำการปรับเปลี่ยนแรงดันให้แก่ขดลวดไฟฟ้า เป็นผลทำให้ส่วนแม่เหล็กที่มีการเคลื่อนที่อยู่ภายในขดลวดไฟฟ้ามีแรงกระทำเปลี่ยนแปลงไปมาได้ ส่วนหน่วยประมวลผลจะรับสัญญาณขาเข้าจากระดับการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวที่จำลองขึ้นล่วงหน้า และสัญญาณค่าแรงกดที่แม่เหล็กกระทำกับโครงเครื่องหรือตัวถังนำมาคำนวณเพื่อปรับเปลี่ยนแรงที่ส่วนแม่เหล็กจะกระทำต่อตัวถังให้เหมาะสม และส่งสัญญาณออกไปยังส่วนวงจรแปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นแอนะล็อกซึ่งต่ออยู่กับวงจรขยายต่อไป ระบบรองรับการสะเทือนที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถกำหนดแรงที่แม่เหล็กกระทำกับตัวถังในตอนเริ่มต้นได้ด้วยการตั้งค่าที่หน่วยประมวลผล เป็นประโยชน์ในการปรับเปลี่ยนระดับสูงหรือต่ำของตัวถังได้ตามรูปแบบการใช้งานต่าง ๆ และผลการจำลองรูปแบบของพื้นผิวเรขาคณิตที่มีการเปลี่ยนความสูงและต่ำ สามารถยืนยันการทดสอบการตอบสนองของระบบรองรับการสะเทือนที่พัฒนาขึ้นด้วย
Other Abstract: When a vehicle moves on a surface, there is always some vibration. Suspension system affects the efficiency of vehicle driving and controlling. The development of electromagnetic - controlled suspension system is applicable to various kinds of vehicles with the flexibility of the adjustment of suspension styles. It is also accurate by using digital processing unit. In addition, it has less mechanical wear than conventional suspension systems. This thesis presents the design of shock absorber system controlled by electro-magnetic field similar to maglev. The purpose of this thesis is to develop a suspension system suitable for different types of vibration and having higher driving efficiency. The system makes use of permanent magnet movement in a solenoid. The solenoid sends signals to a digital processing unit. Then the processing unit sends signals to an amplifier through a digital-to-analog converter to set the required voltage. The amplifier receives analogue signal which is varied to feed the solenoid. As a result, a variable force is created by moving magnet inside the solenoid. The processing unit receives an input signal representing the variation of the surface model. The signal representing the force between magnet and vehicle chassis is calculated to provide the appropriate force between magnet and vehicle chassis. The output signal is sent to the digital-to-analog converter and fed to the amplifier. The designed suspension system can also set an initial force between magnet and vehicle chassis at the processing unit. It is very useful to be able to adjust the chassis’s height according to different driving situations. Results of surface models of different geometries with variable heights can confirm the response of this developed suspend system.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38314
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1085
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1085
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prach_ja.pdf5.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.