Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38330
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนันทวัฒน์ บรมานันท์-
dc.contributor.authorธีรัญชา สระทองอุ่น-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-01-18T13:03:48Z-
dc.date.available2014-01-18T13:03:48Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38330-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาถึงขอบเขตของศาลปกครองในการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของฝ่ายปกครอง ซึ่งพบว่าหลักเกณฑ์สำคัญที่ศาลปกครองใช้ในการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจดังกล่าว คือ การควบคุมและตรวจสอบให้ฝ่ายปกครองใช้ดุลพินิจภายในขอบเขตและวัตถุประสงค์ของกฎหมาย โดยในส่วนนี้หากพิจารณาบทบัญญัติในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 จะพบว่าได้มีการบัญญัติขอบเขตของศาลปกครองในการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของฝ่ายปกครองเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยบัญญัติให้อำนาจศาลปกครองในการควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการใช้ดุลพินิจของฝ่ายปกครองไว้ในฐานะที่เป็นเหตุประการหนึ่งที่ทำให้การกระทำทางปกครองไม่ชอบด้วยกฎหมาย จากการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่ศาลปกครองเปิดทำการคำพิพากษาและคำสั่งของศาลปกครองเป็นแหล่งที่สร้างหลักเกณฑ์ในการควบคุมและตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการใช้ดุลพินิจของฝ่ายปกครองได้อย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจนยิ่งขึ้นดังเช่นตัวอย่างที่ศึกษาพบจากคำพิพากษาและคำสั่งที่ยกเป็นตัวอย่างในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ คือ 1) หลักเกณฑ์ในการควบคุมให้ฝ่ายปกครองใช้ดุลพินิจให้อยู่ในขอบเขตและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย 2) การควบคุมให้ฝ่ายปกครองใช้ดุลพินิจให้เป็นไปตามรูปแบบขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด 3) การควบคุมให้ฝ่ายปกครองใช้ดุลพินิจโดยพิจารณาองค์ประกอบของกฎหมายให้ครบถ้วน 4) การควบคุมให้ฝ่ายปกครองใช้ดุลพินิจอย่างแท้จริง และ 5) การควบคุมให้ฝ่ายปกครองใช้ดุลพินิจ โดยพิจารณาความเหมาะสม ความชอบด้วยเหตุผล และหลักความได้สัดส่วน และ นอกจากนี้ยังพบว่ากรณีมีทั้งการเข้าไปตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของฝ่ายปกครองอย่างเต็มรูปแบบ โดยรับคำฟ้องไว้พิจารณาและวินิจฉัยถึงความชอบด้วยกฎหมายของการใช้ดุลพินิจของฝ่ายปกครอง และในส่วนที่ศาลจำกัดอำนาจในการควบคุมตรวจสอบ โดยมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความโดยใช้เหตุตามกฎหมายว่ากรณีเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 หรือเป็นคดีที่ไม่เข้าเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองด้วยเหตุต่างๆ โดยยังคงมีปัญหาในส่วนของความชัดเจนของขอบเขตของศาลปกครองและการปรับใช้หลักเกณฑ์ในการควบคุมตรวจสอบที่ปรากฏอยู่ในการให้เหตุผลในคำพิพากษาหรือคำสั่ง ดังนั้น เพื่อให้เขอบเขตของการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของฝ่ายปกครองมีความชัดเจนขึ้น จึงเห็นควรเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ในมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) โดยให้แยกกรณีเหตุที่ทำให้การกระทำทางปกครองไม่ชอบด้วยกฎหมายต่างๆ ให้อยู่ในอีกมาตราหนึ่ง ซึ่งบัญญัติขอบเขตของศาลในการตรวจสอบการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายปกครองไว้โดยเฉพาะ และอาจมีการนำหลักเกณฑ์ที่ศาลใช้ในการตรวจสอบจนเกิดเป็นแนวบรรทัดฐานแล้วบัญญัติลงไปด้วย โดยเฉพาะหลักเกณฑ์การควบคุมให้ฝ่ายปกครองใช้ดุลพินิจภายในขอบเขตและวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ส่วนกรณีที่ศาลจำกัดอำนาจในการตรวจสอบควรต้องให้เหตุผลที่ชัดแจ้งมากกว่าการไม่รับคำฟ้อง เพราะเป็นอำนาจดุลพินิจของฝ่ายปกครองเพียงอย่างเดียวen_US
dc.description.abstractalternativeThe aim of this thesis is to study the ambit of power of the administrative court in reviewing administrative discretion, or in other words, the power thereof to control the administrative authorities in the exercise of their discretion within the scope and purpose of law as prescribed in Section 9 paragraph one (1) of the Act on Establishment of Administrative Courts and Administrative Court Procedure, B.E. 2542 (1999). As manifested by the study, there is no doubt that the judgements and orders pronounced by the administrative court have tangibly and clearly set significant precedents in the review of legality of the administrative discretion since its inception in 2001. Such the precedents demonstrate the controls the administrative court imposes on the administrative authorities while exercising their discretionary power, which consist mainly of (1) the criteria in controlling the administrative authorities in the exercise of their discretionary power within the scope and in accordance with the purpose of law; (2) the control of administrative discretion to be consistent with the form or procedure as required by law; (3) the control of administrative authorities to complete all the factors required by law; (4) the control of fettering discretion of administrative authorities; and (5) the control of administrative discretion to be in accordance with the principles of suitability, reasonableness, and proportionality. However, in order to make the grounds for review more clearly, it has been suggested that the amendment shoudl be made to Section 9 paragraph one (1) of the Act on Establishment of Administrative Courts and Administrative Court Procedure, B.E. 2542 (1999) by categorizing the causes giving rise to the illegality of administrative acts into a separated section of the Act. Furthermore, and precedents set by the administrative court, especially, in connection with the controls over the administrative authorities on exercising their discretionary power within the scope and in accordance with the purpose of law should also be provided in the Act. In addition, the author is of the opinion that in the case where the administrative court rejects any plaint filed, the reasoning in such rejection should also be given, rather than only stating that the matter falls under the administrative discretionary power.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.357-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectวิธีพิจารณาคดีปกครองen_US
dc.subjectศาลปกครองen_US
dc.subjectการพิจารณาทบทวนโดยศาลen_US
dc.subjectพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542en_US
dc.subjectAdministrative procedureen_US
dc.subjectAdministrative courtsen_US
dc.subjectJudicial reviewen_US
dc.subjectAdministrative Courts and Administrative Court Procedure, B.E. 2542en_US
dc.titleขอบเขตในการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของฝ่ายปกครองโดยศาลปกครองen_US
dc.title.alternativeThe power of the Administrative Court in the review of administrative discretionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.357-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Teeruncha_sa.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.