Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38337
Title: บทบาททางการเมืองของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนในช่วงวิกฤติการณ์ทางการเมืองปี พ.ศ.2549-พ.ศ.2550
Other Titles: Political role of the midnight university’s website during the political critical time in 2006-2007
Authors: ธิดา แย้มบุปผา
Advisors: พิรงรอง รามสูต รณะนันทน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Pirongrong.R@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสารทางการเมือง
เว็บไซต์
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
Communication in politics
Web sites
Midnight University
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่องบทบาททางการเมืองของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนในช่วงวิกฤติการณ์ ทางการเมืองปีพ.ศ. 2549 – พ.ศ. 2550 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ตอบคำถามวิจัยคือ เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนมีบทบาททางการเมืองในช่วงวิกฤติการณ์ทางการเมืองปีพ.ศ. 2549 – พ.ศ. 2550 อย่างไร ปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อบทบาทดังกล่าว และต่อเนื้อหา ในรูปแบบต่างๆ ที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์ในช่วงบริบททางการเมือง การวิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In- Depth Interview) ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้แสดงออกถึงมิติของ สื่อภาคประชาชน ด้านการวิเคราะห์วิจารณ์แนวโน้มของเหตุการณ์ทางการเมืองได้อย่างเด่นชัดที่สุด และด้านการกล้าขุดคุ้ยความไม่ดีงามมาตีแผ่น้อยที่สุด ส่วนในบทบาทของการเป็นพื้นที่สาธารณะ จากการวิเคราะห์เนื้อหาที่นำเสนอบนเว็บบอร์ดพบว่า มิติด้านพื้นที่สาธารณะที่สะท้อนออกมาสูงสุดคือ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และต่ำที่สุดคือ การหาข้อสรุป ปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาททางการเมืองของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ได้แก่ อุดมการณ์ทวนกระแสของผู้จัดทำเว็บไซต์ ทุนดำเนินงานที่จำกัด โครงสร้างการบริหารจัดการซึ่งเป็นไปในลักษณะของเครือข่ายความร่วมมือแบบไม่เป็นทางการ และปัจจัยทางเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการสื่อสารที่เป็นประชาธิปไตย ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อเนื้อหาที่นำเสนอ ผ่านเว็บไซต์ในช่วงวิกฤติการณ์ดังกล่าว ได้แก่ จุดยืนทางการเมืองของบุคลากรของเว็บไซต์ และ การกำกับดูแลเนื้อหาสื่ออินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบอีกว่า ถึงแม้อินเทอร์เน็ตจะมีข้อดีหลายประการสำหรับการเป็นพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เช่น การสื่อสารสองทาง ความรวดเร็ว ลักษณะ อันไร้พรมแดน และลักษณะนิรนามของผู้ใช้ แต่ก็มีข้อจำกัดในการแพร่กระจายคือ จำกัดเฉพาะใน ชนชั้นกลาง อีกทั้งการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะบนกระดานข่าวนั้นพบว่า ส่วนใหญ่เป็น การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเท่านั้น จึงไม่สามารถนำไปสู่ข้อสรุป หรือแนวทางในการแก้ไขหรือ หาทางออกของปัญหาทางการเมืองได้
Other Abstract: This study is a qualitative and quantitative research. The research has the following objectives 1) to study political role of the midnight university’s website during the political crisis in 2006 – 2007; 2) to study factors that may influence upon the political role; 3) to study factors that may influence upon the content of the website. The research uses the following methodologies : content analysis and in-depth interviews. The study finds that the midnight university’s website plays a role as civic media. Its civic role is mostly reflected in the analysis and criticism of political situation. Meanwhile, the webboard plays a role as a public sphere in which opinion exchange is reflected at the highest level but reaching conclusion is found to be the lowest. Factors that influence upon the political role are counter ideology of the content producers of the website, limited budget, loosely organized management structure, technological attributes that enhances democratic communication. Factors that influence upon the content during the political crisis are attitude of midnight university team and Internet regulation. The study also finds that although the Internet has many positive attributes for civic networking such as two - way communication, speed, borderlessness, and user anonymity, its rate of diffusion in Thailand is limited to only the middle – class and elites. Besides, the type of communication prevalent in webboards is opinion exchanges that do not lead to conclusive action or resolution for a problem, hence amounting to only a pseudo – public sphere.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วารสารสนเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38337
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1429
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1429
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thida_ya.pdf22.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.