Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3836
Title: | การเปรียบเทียบอัตราการตอบกลับและความจริงใจในการตอบกลับแบบสอบถามทางอินเตอร์เน็ต ที่มีวิธีการส่งเทคนิคการติดตาม และเนื้อหาที่แตกต่างกัน |
Other Titles: | A comparision of response rates and sincerity in questionnaire responses on the internet with different sending approaches, follow up techniques and contents |
Authors: | ชยการ คีรีรัตน์, 2507- |
Advisors: | พวงแก้ว ปุณยกนก |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Puangkaew.P@chula.ac.th |
Subjects: | แบบสอบถาม -- อัตราการตอบกลับ ความจริงใจ |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เปรียบเทียบอัตราการตอบกลับและความจริงใจในการตอบกลับแบบสอบถามทางอินเตอร์เน็ตที่มีวิธีการส่ง เทคนิคการติดตาม เนื้อหาที่แตกต่างกัน โดยศึกษากับนิสิตระดับปริญญาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2542 และเป็นผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจริงจำนวน 162 คน การวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยความจริงใจในการตอบกลับแบบสอบถาม ใช้สถิติทดสอบ t-test ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. กลุ่มที่ได้รับแบบสอบถามที่ส่งด้วย WWW มีอัตราการตอบกลับ (50.0%) สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับแบบสอบถามที่ส่งด้วย E-mail (15.0%) 2. กลุ่มที่ได้รับแบบสอบถามที่มีเนื้อหาทั่วไป เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีอัตราการตอบกลับ (17.1%) สูงกว่า กลุ่มที่ได้รับแบบสอบถามที่มีเนื้อหากำลังเป็นที่สนใจ เรื่องการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่ (14.6%) 3. กลุ่มที่ติดตามด้วย E-mail มีอัตราการตอบกลับ (8.7%) สูงกว่ากลุ่มที่ติดตามด้วย Chat (0%) 4. กลุ่มที่ได้รับแบบสอบถามที่ส่งด้วย E-mail เนื้อหาทั่วไป ติดตามด้วย E-mail มีอัตราการตอบกลับสูงที่สุด (11.8%) กลุ่มที่ได้แบบสอบถามที่ส่งด้วย E-mail เนื้อหากำลังเป็นที่สนใจ ติดตามด้วย E-mail มีอัตราการตอบกลับรองลงมา (5.7%) และกลุ่มที่ได้รับการติดตามด้วย Chat (0%) 5. กลุ่มที่ได้รับแบบสอบถามที่ส่งด้วย WWW เนื้อหาทั่วไปมีอัตราการตอบกลับสูงสุด (100.0%) กลุ่มที่ได้รับแบบสอบถามที่ส่งด้วย WWW เนื้อหาที่กำลังเป็นที่สนใจ มีอัตราการตอบกลับต่ำสุด (0.0%) ในขณะที่ กลุ่มที่ได้รับแบบสอบถามที่ส่งด้วย E-mail เนื้อหาทั่วไป และกลุ่มที่ได้รับแบบสอบถามที่ส่งด้วย E-mail เนื้อหากำลังเป็นที่สนใจ มีอัตราการตอบกลับเท่ากัน (15.0%) 6. กลุ่มที่ได้รับแบบสอบถามที่ส่งด้วย WWW และกลุ่มที่ได้รับแบบสอบถามทาง E-mail มีคะแนนเฉลี่ยความจริงใจในการตอบกลับแบบสอบถาม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 7. กลุ่มที่ตอบแบบสอบถามประเภทเนื้อหาทั่วไป และกลุ่มที่ตอบแบบสอบถามประเภทเนื้อหากำลังเป็นที่สนใจ มีคะแนนเฉลี่ยความจริงใจในการตอบกลับแบบสอบถาม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 8. กลุ่มที่ตอบแบบสอบถามที่ส่งด้วย E-mail เนื้อหาทั่วไป ติดตามด้วย E-mail และกลุ่มที่ตอบแบบสอบถามที่ส่งด้วย E-mail เนื้อหากำลังเป็นที่สนใจ ติดตามด้วย E-mail มีคะแนนเฉลี่ยความจริงใจในการตอบกลับแบบสอบถามไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 9. กลุ่มที่ตอบแบบสอบถามที่ส่งด้วย WWW เนื้อหาทั่วไป กลุ่มที่ส่งด้วย E-mail เนื้อหาทั่วไป และกลุ่มที่ส่งด้วย E-mail เนื้อหากำลังเป็นที่น่าสนใจ มีคะแนนเฉลี่ยความจริงใจในการตอบกลับแบบสอบถามไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ |
Other Abstract: | Compares the response rate and sincerity in questionnaire responses to internet questionnaires based on different approaches, follow-up techniques and questionnaire content. The study was conducted on undergraduate students who use the internet. The sample groups consisted of 162 Chulalongkorn University undergraduate students. The t-test statistic was applied at .05 level of significance to determine differences in the sincerity of questionnaire responses. The results were as follows: 1. The group which approached the questionnaires through WWW had an overall higher response rate (50.0%) than the groups which received a questionnaire through E-mail (15.0%), 2. There was an overall higher response rate (17.1%) to the general content questionnaire than the interesting content questionnaire (14.6%). 3. The groups which followed up through E-mail had a higher response rate (8.7%) than those which followed up through chat (0%). 4. The group which received the general content questionnaire through E-mail and followed up through E-mail had the highest response rate (11.8%). The group which received the interesting content questionnaire through E-mail, and followed up through E-mail had the second highest response rate (5.7%), while the groups which followed up by chat on either questionnaire had the lowest response rate (0%). 5. The group which approached the questionnaire through WWW had the greatest response rate to the general content questionnaire (100.0%) and the lowest response rate to the interesting content questionnaire (0%). The groups which received the general content or interesting content questionnaires through E-mail both the same response rate to their respective questionnaires (15.0%). 6. The difference between the level of sincerity in questionnaire responses from the group which approached the questionnaires through WWW and the groups which received a questionnaire through E-mail was not statistically significant. 7. The difference between the level of sincerity in questionnaire responses from thegroup which respoded to the general content questionnaire and the group which responded the intersting content questionnaire was not statistically significant. 8. The difference between the level of sincerity in questionnair from the group which received the general content questionnaire through E-mail and followed up through E-mail and the group which received the interesting content questionnaire through E-mail and followed up through E-mail was not statistically significant. 9. The differences among the levels of sincerity in questionnaire responses from the group which approached the general content questionnaire through WWW. The group which received the general content questionnaire through E-mail and the group which received the interesting questionnaire through E-mail were not statistically significant |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3836 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.447 |
ISBN: | 9743468439 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2000.447 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chayakan.pdf | 3.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.