Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3850
Title: | การสื่อความหมายในเพลงปลุกใจสี่เหล่าทัพ |
Other Titles: | Communicative meaning in the patriotic songs of the four armies |
Authors: | วรรณลดา พิรุณสาร, 2518- |
Advisors: | อวยพร พานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Uayporn.P@chula.ac.th |
Subjects: | เพลงปลุกใจ ไทย -- กองทัพ |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ตัวบท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของเพลงปลุกใจสี่เหล่าทัพ และการสื่อความหมายในเพลงปลุกใจ ตลอดทั้งวิเคราะห์วัจนกรรม แรงจูงใจ และอารมณ์ที่ใช้ในการสื่อความหมาย โดยผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละกองทัพทำการคัดเลือกเพลงปลุกใจของกองทัพเพื่อนำมาเป็นกรณีศึกษาจำนวน 8 เพลง จากจำนวนเพลงปลุกใจทั้งหมด 223 เพลง ผลการศึกษาพบว่าเพลงปลุกใจของกองทัพปรากฏขึ้นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2452) และได้เริ่มปรากฏอย่างเด่นชัดในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2456) ต่อมาเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2475 กองทัพจึงเริ่มผลิตเพลงปลุกใจออกมามากขึ้น กระทั่งเข้าสู่ช่วงสมัยของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เพลงปลุกใจของกองทัพในยุคนี้จึงมีความเจริญสูงสุด เหตุผลประการหนึ่งมาจากการเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง และรัฐบาลต้องการจะปลุกเร้าจิตใจของทหารในกองทัพให้เกิดสำนึกแห่งการรักชาติ ต่อมาเมื่อ จอมพลสฤษดิ์ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อมาเพลงปลุกใจของกองทัพกลับไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร จวบจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตย 14 ตุลาคม 2516-2519 เพลงปลุกใจของกองทัพจึงได้กลับมามีบทบาทอีกครั้ง สำหรับผลการสื่อความหมายในเพลงปลุกใจสี่เหล่าทัพกรณีศึกษาจำนวน 8 เพลงนั้น พบว่า มีการสื่อความหมายโดยใช้ถ้อยคำสร้างจินตภาพคิดเป็น 97.53% และไม่ใช้ถ้อยคำสร้างจินตภาพ คิดเป็น 2.47% โดยมีการนำอนุนามนัยมาใช้มากที่สุด รองลงมาคืออธิพจน์ และนามนัยตามลำดับ นอกจากนั้นพบว่ามีการใช้คำเพื่อสร้างอารมณ์ภาคภูมิใจในการเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ของกองทัพมากที่สุด รองลงมาคือการใช้คำเพื่อสร้างอารมณ์ให้เกิดความฮึกเหิมพร้อมที่จะเสียสละชีวิตเพื่อชาติ ซึ่งมีจำนวนเท่ากับการสร้างอารมณ์ร่วมของความเป็นพวกพ้องเดียวกัน นอกจากนั้นกลวิธีที่ผู้ประพันธ์นำมาใช้ในการตอกย้ำอารมณ์ คือ การสร้างคำสัมผัสสระอักษรโดยนำรูปสระ และรูปพยัญชนะที่สัมผัสกันมาใช้ในการประพันธ์บทเพลง ขณะเดียวกันพบว่าในทุกเพลงมีการสร้างอารมณ์โดยใช้ดนตรีเป็นสื่อ ด้วยการใช้จังหวะมาร์ชแบบเร็วประกอบกับท่องทำนองที่หนักแน่นจึงทำให้เกิดอารมณ์คึกคัก สนุกสนาน สอดคล้องไปกับการสื่อความหมายของคำร้องได้เป็นอย่างดี ส่วนผลการวิเคราะห์วัจนกรรม และแรงจูงใจ พบว่า ผู้ประพันธ์นำวัจนกรรมประเภทการบอกกล่าวหรือการบรรยายมาใช้มากที่สุด รองลงมา การประกาศ และ การแสดงความรู้สึก โดยผู้ประพันธ์มีเจตนาหรือวัตถุประสงค์ในการสื่อความหมาย 3 อันดับแรกดังนี้ เพื่อปลุกใจให้เกิดความเสียสละ เพื่อปลุกใจให้เกิดความกล้าหาญ และเพื่อสร้างสำนึกของหน้าที่และความรับผิดชอบ นอกจากนั้นแรงจูงใจที่ผู้ประพันธ์นำมาใช้มากที่สุด 3 อันดับแรกคือ ความต้องการด้านความมั่นคงปลอดภัย รองลงมาคือความต้องการเป็นที่ยอมรับนับถือยกย่องในวงสังคม และการอุทิศตัวเพื่อประเทศชาติตามลำดับ |
Other Abstract: | This research objectives were to study the history of patriotic songs of the four armies and their communicative meaning, the motivations, emotional meaning and speech act analysis. Eight patriotic songs of the four armies, from total 223, were selected to study in this research. The results showed as : the first patriotic song were found in the era of King Rama V (2452 B.C.) and were prosperous in the era of King Rama VI (2456 B.C.). After the democratization in (2475 B.C.), the armies composed more patriotic songs and it was in the era of Marshall Pibhulsongkram that the patriotic songs reached their peak as at that time, during the World War II, the government wanted to encourage soldiers patriotic spirit. Nevertheless, the patriotic songs were not that popular in Marshall Sarit Tanaruch era, it was until the democratic seeking movement during 14 October 2516-2519 (B.C.) that the patriotic songs became popular again. The research found that the patriotic songs communicated with figure of speech 97.53% and non figure of speech 2.47%, by using synecdoche, hyperbole and metonymy, respectively. The words mostly used in the patriotic songs lyrics were to make soldiers proud of being military. The words that inspire vigorous spirit, making soldiers voluntarily sacrifice themselves, and the words that psychologically enthused plain folks. The methods in emphasizing the patriotic feeling was the repetitive use of rhymed vowels and consonants that go along with the song. The research also found that every patriotic song used rhythm to arouse the emotion. Quick March and heavy rhythm were used to help communicating both verbal and nonverbal meaning. For the speech act analysis and motivation, the composer applied the representative, declarations and expressives, respectively. The composers objectives were to motivate devotion, courage and sense of responsibility. The three major motivation factors were the safety need, esteem need, and devotion |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วาทวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3850 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.297 |
ISBN: | 9743466541 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2000.297 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wanlada.pdf | 4.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.