Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39077
Title: Detection of genetic variation in populations of black tiger prawn Penaeus monodon by dna fingerprinting
Other Titles: การตรวจหาความแปรผันทางพันธุกรรมในประชากรกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon โดยการตรวจลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
Authors: Siriporn Pongsomboon
Advisors: Anchalee Tassanakajon
Vichien Rimphanitchayakit
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Advisor's Email: anchalee.k@chula.ac.th
rvichein@chula.ac.th
Subjects: Penaeus monodon
DNA fingerprinting
กุ้งกุลาดำ
ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
Issue Date: 1996
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Randomly amplified polymorphic DNA analysis (RAPD) was used to examine genetic variation of four geographically separated wild populations of Penaeus monodon from two regions: the Andaman Sea and the Gulf of Thailand Samples from the Andaman Sea were collected from Satun-Trang and Medan (Indonesia) and samples from the Gulf of Thailand were collected from Chonburi (Angsila district) and Trad. A total of 75 individuals were tested, which included 17, 28, 15 and 15 from Satun-Trang, Trad, Angsila and Medan respectively. A screen of 300 random decaoligonucleotide primers identified 7 primers, which were selected for the analysis of black tiger prawn DNA. A total of 80 reproducible RAPD fragments ranging in size from 200-2000 bp were scored and 62 fragments (77.5%) were polymorphic The percentages of polymorphic bands were 57.7, 52.2, 45.6 and 53.4% for samples from Satun-Trang Trad, Angsila and Medan respectively. The index of similarity within and between populations and genetic distances were performed based on the RAPD data. The values of genetic distance were used to construct dendrograms using arithmetic mean (UPGMA). The results of similarity index within population illustrated that the Angsila sample was the most similar among themselves. The results of similarity index between pouolations and UPGMA dendrograms showed that the Medan sample was significantly different from the 3 samples of Thai P. monodon. The results show that primer 428 detected a RAPD marker that was found only in samples from the Andaman Sea; Satun-Trang and Medan suggesting the use of this marker as a region-specific marker. RAPD patterns among the 4 samples gave 214 genotypes. One hundred and sixty of these were population-specific genotypes and 10 were region-specific genotypes. Ninety-seven of these genotypes were represented by a single individual. In chi-square analysis of the genotypes show that Thai and Indonesian P. monodon were significant different for all primers (P<0.0001) and Thai P. monodon from the Andaman Sea and the Gulf of Thailand were also different for primers 101, 268, 428, 457 and 459 (P=0.0049, <0.001, <0.0001, 0.0014 and 0.0156 respectively).
Other Abstract: ในการตรวจสอบความแปรผันทางพันธุกรรม ของกลุ่มตัวอย่างกุ้งกุลาดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ ด้วยเทคนิค RAPD-PCR ได้ทำการตรวจสอบระหว่างกลุ่มตัวอย่างจากทะเลอันดามันและอ่าวไทย กลุ่มตัวอย่างจากทะเลอันดามัน ทำการเก็บจากจังหวัด สตูล, ตรัง และ เมดาน (ประเทศอินโดนีเซีย) กลุ่มตัวอย่างจากอ่าวไทยทำการเก็บจากจังหวัดชลบุรี (ต. อ่างศิลา) และ ตราด จากการคัดเลือกไพรเมอร์ซึ่งมีขนาด 10 นิวคลีโอไทต์ จำนวน 300 ไพรเมอร์ได้คัดเลือกไพรเมอร์ 7 ตัว นำไปใช้ในการตรวจสอบความแปรผันของดีเอ็นเอ จากตัวอย่างกุ้งกุลาดำทั้งสิ้น 75 ตัว แบ่งเป็นกุ้งจากสตูล-ตรัง 17 ตัว, ตราด 28 ตัว, อ่างศิลา 15 ตัว และ เมตาน 15 ตัว พบว่ามีจำนวนแถบดีเอ็นเอที่เกิดจากไพรเมอร์ ทั้ง 7 ตัว รวม 80 แถบ ซึ่งมีขนาดอยู่ในช่วง 200-2000 คู่เบส เมื่อคำนวณเปอร์เซ็นต์ความหลากหลายของแถบดีเอ็นเอ พบว่าเป็น 57.7, 52.2, 45.6 และ 53.4% ตามลำดับ นอกจากนี้ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณค่าทางสถิติ ได้แก่ similarity index ภายในและระหว่างกลุ่มประชากร, genetic distance และ การทดสอบไคสแคว์ นอกจากนี้นำค่า genetic distance มาสร้าง dendrogram จากค่า similarity index ภายในกลุ่มประชากร และ เปอร์เซ็นต์ความหลากหลายของแถบดีเอ็นเอ แสดงให้เห็นว่า จากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่ม กลุ่มตัวอย่างจากอ่างศิลา มีความแปรผันทางพันธุกรรมน้อยสุด ค่า similarity index ระหว่างกลุ่มประชากร และ dendrogram แสดงให้เห็นว่า ตัวอย่างกุ้งกุลดำจากเมตาน มีลักษณะทางพันธุกรรมแตกต่างจากตัวอย่างกุ้งจากประเทศไทย ง 3 กลุ่ม นอกจากนี้ยังพบว่า ไพรเมอร์ 428 ให้แถบดีเอ็นเอที่มีขนาดประมาณ 950 คู่เบส ที่พบเฉพาะในกุ้งที่มาจากทะเลอันดามัน คือ จาก สตูล-ตรัง และเมตาน ซึ่งแถบดีเอ็นเอนี้น่าจะนำมาใช้เป็น marker ในการจำแนกกลุ่มประชากรจากฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทยได้ ลายพิมพ์ดีเอ็นเอจากตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่ม มีทั้งสิ้น 214 แบบ ซึ่งพบลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่มีความจำเพาะกับกลุ่มตัวอย่าง มีจำนวน 160 แบบ มีความจำเพาะกับแหล่งน้ำ จำนวน 10 แบบ จากลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่มีความจำเพาะกับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า 97 แบบ ปรากฏในตัวอย่างกุ้งเพียง 1 ตัว เท่านั้น เมื่อนำลายพิมพ์ดีเอ็นเอ มาวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้โคสแคว์ พบว่าเมื่อทำการเปรียบเทียบระหว่ากลุ่มตัวอย่างจาก เมตานกันกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มของประเทศไทย ลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่เพิ่มขยายด้วยทุก ๆ ไพรเมอร์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.0001) เมื่อทำการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่างของประเทศไทยด้วยกัน พบว่าลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่เพิ่มขยายด้วยไพรเมอร์ 101, 268, 428, 457, และ 459 มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างจากทะเลอันดามันกับอ่าวไทย (P=0.0049, P<0.0001, P<0.0001, P=0.0014, และ P=0.0156) เมื่อนำลายพิมพ์ดีเอ็นเอมาวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้โคสแคว์ สามารถแยกกลุ่มตัวอย่างจากสตูล-ตรัง ออกจาก ตราด และ อ่างศิลาได้แสดงถึงกลุ่มตัวอย่างในประเทศไทยมีความแตกต่างกัน
Description: Thesis (M.Sc.)-- Chulalongkorn University, 1996
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Biotechnology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39077
ISBN: 9746367633
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriporn_Po_front.pdf776.81 kBAdobe PDFView/Open
Siriporn_Po_ch1.pdf893.19 kBAdobe PDFView/Open
Siriporn_Po_ch2.pdf742.15 kBAdobe PDFView/Open
Siriporn_Po_ch3.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_Po_ch4.pdf769.27 kBAdobe PDFView/Open
Siriporn_Po_ch5.pdf681.06 kBAdobe PDFView/Open
Siriporn_Po_back.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.