Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/390
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อมรชัย ตันติเมธ | - |
dc.contributor.author | ณพปาลี อินทุสุต, 2516- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-06-20T02:22:44Z | - |
dc.date.available | 2006-06-20T02:22:44Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.isbn | 9741756976 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/390 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม. )--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย, 2546 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานโรงเรียนอนุบาลที่จัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กออทิสติก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน 64 คน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียน 64 คน และครู 192 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ โดยการแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. งานวิชาการ บริหารงานโดย โรงเรียนมีการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะดำเนินการจัดการเรียนร่วม โดยมีรูปแบบการจัด คือ เรียนร่วมในชั้นเรียนปกติ หลักสูตรที่ใช้คือ หลักสูตรก่อนประถมศึกษา พุทธศักราช 2540 2. งานบุคลากร บริหารงานโดย เกณฑ์พิจารณาครูที่จะเข้าสอนในชั้นเรียนร่วม คือ ครูเคยได้รับการอบรม/สัมมนาเกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กออทิสติก และประสบการณ์ในการทำงาน มีการบำรุงขวัญด้วยการจัดทัศนศึกษาและจัดงานสังสรรค์ มีการส่งบุคลากรเข้ารับการอบรม 3. งานกิจการนักเรียน บริหารงานโดย มีการจัดเด็กออทิสติก 1 คน ต่อ 1 ชั้นเรียน ส่วนจำนวนนักเรียนในชั้นเรียนร่วม คือ 11-15 คน ต่อ ครู 1 คน 4. งานธุรการ การเงิน และพัสดุ บริหารงานโดย มีการนำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาช่วย มีการจัดเก็บเอกสารเป็นระบบ มีทะเบียนรับ-ส่งหนังสือถูกต้อง มีการจัดสรรสัดส่วนพัสดุที่ใช้ประกอบการสอนเป็นพิเศษสำหรับการจัดการเรียนร่วม 5. งานอาคารสถานที่ บริหารงานโดย มีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนร่วม โดยเก็บสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายให้พ้นจากการคว้า/หยิบ มีแสงสว่างเพียงพอ มีขนาดเหมาะสมกับจำนวนนักเรียนและกิจกรรม 6. งานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน บริหารงานโดย จัดให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน ด้วยการเชิญเข้ามาเป็นวิทยากร ส่วนการเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชน มีการนำนักเรียนและส่งตัวแทนครูเข้าร่วมกิจกรรม ปัญหาที่พบ ได้แก่ ครูขาดความรู้ในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ประเมินพัฒนาการเด็กออทิสติก, ขาดแคลนครูผู้สอนด้านการศึกษาพิเศษ, เด็กออทิสติกขาดความพร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรม, ไม่มีการจัดระบบข้อมูลของเด็กออทิสติก, ผู้บริหารขาดประสบการณ์ในการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กออทิสติก และผู้ปกครองเด็กออทิสติกขาดความรู้ความสามารถในการช่วยเหลือด้านการเรียนของเด็กที่บ้าน | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to study the state and problems of the administration of joint learning for autistic child kindergartens under the Office of Private of Education Commission in Bangkok Metropolis. Population were 64 school administrators, 64 assistant administrators and 192 teachers. The research tool was questionnaire. Data were analyzed by using frequencies and percentage. The findings were as follows: 1. According to the academic administration, the schools provided preparations before joint learning, the form is joint learning in ordinary classes, using the Curriculum for Early Childhood Education B.E.2540. 2. According to the personnel administration, the criteria for teacher to be considered is a need to have working experience and to attend training/seminar in joint learning class arrangement for autistic child. In addition, outing trips, parties and training class. 3. According to the student personnel administration, in a class, there is one autistic student and a teacher and 11-15 students among. 4. According to the business and finance administration, computers were used and documents were well organized. A special area was provided to store the teaching aids for joint learning. 5. According to the school plant administration, the classrooms were remodeled for joint learning, with the appropriate lighting and size for number of students and activities, and the appropriate arrangement of storing learning kids for safety and order. 6. According to the school-community relation administration, the community was invited to join the activities. For example, they were invited to be guest speakers. The students and teachers were join the communityʼs activities. The problems were 1. The teachers had insufficient knowledge to create test and evaluation instruments for the development of autistic student. 2. There were insufficient teachers for special education. 3. The autistic students were not ready to join the activities. 4. There were no autistic studentsʼ information systems. 5. The administrators did not have enough experience in arranging autistic joint learning. 6. The autistic students parents had insufficient experience to assist their kids in learning at home. | en |
dc.format.extent | 2506350 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.426 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | โรงเรียนอนุบาล | en |
dc.subject | เด็กออทิสติก--การศึกษา | en |
dc.subject | การเรียนร่วมของเด็กพิเศษ | en |
dc.title | การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานโรงเรียนอนุบาลที่จัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กออทิสติก ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | A study of state and problems of the administration of joint learning for autistic child kindergartens under the Office of Private Education Commission in Bangkok Metropolis | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Amornchai.T@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2003.426 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Noppalee.pdf | 2.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.