Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3924
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีระพงษ์ ตัณทวิเชียร-
dc.contributor.advisorสุทธิชัย จิตะพันธ์กุล-
dc.contributor.authorวิสุทธิ์ เตชะวิบูลย์ศักดิ์, 2507--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-08-29T07:48:30Z-
dc.date.available2007-08-29T07:48:30Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743343504-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3924-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractการให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบให้ก่อนสัมผัสโรคในบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง แนะนำให้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 3 เข็ม ในวันที่ 0, 7 และ 28 ในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีโรคพิษสุนัขบ้า บุคคลทั่วไปโดยเฉพาะเด็กก็มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะสัมผัสโรค การให้วัคซีนวิธีนี้ยังมีข้อจำกัดเนื่องจากวัคซีนมีราคาแพง การนำวัคซีนมาผสมกันอาจจะเป็นวิธีที่ได้ผลและประหยัด ทำให้มีโอกาสได้รับวัคซีนเพิ่มมากขึ้น การทำวิจัยนี้เพื่อศึกษาถึงการตอบสนองของแอนติบอดี ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าต่อการฉีดวัคซีนผสมระหว่างวัคซีนป้องกันบาดทะยักที่มีอลูมิเนียมและวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าชนิดเซลล์เพาะเลี้ยงในการฉีดวัคซีนแบบให้ก่อนสัมผัสโรคชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 2 เข็ม (เฉพาะเข็มแรกเท่านั้นที่เป็นวัคซีนผสม) นิสิตคณะสัตวแพทย์จำนวน 27 คน ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าชนิดเซลล์เพาะเลี้ยง (purified vero rabies vaccine : PVRV) เข้ากล้ามเนื้อต้นแขนในวันที่ 0 และ 28 โดยเข็มแรกผสม PVRV ละลายใน aluminium hydroxide-adsorbed tetanus toxoid. การตรวจเลือดหา rabies nentralizing antibody (Nab) titers ด้วยวิธี rapid fluorescent focus inhibition test ทำในวันที่ 0, 28 และ 42 จากการตรวจระดับแอนติบอดีของนิสิตทุกคนในวันที่ 28 และ 42 พบว่ามีค่าสูงเพียงพอในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (Nab>0.5 IU/ml) ทุกคน และค่าเฉลี่ยของระดับแอนติบอดีในวันที่ 42 (เท่ากับ 17.49 IU/ml) มีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของระดับแอนติบอดีที่ใช้ในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ไม่พบอาการข้างเคียงที่เป็นรุนแรงหลังได้รับวัคซีน จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าชนิดเซลล์เพาะเลี้ยง (PVRV) เข้ากล้ามเนื้อในวันที่ 0 และ 28 โดยเข็มแรกผสม PVRV ละลายใน aluminium bydroxide-adsosbed tetanus toxoid เป็นวิธีที่ปลอดภัยและประหยัดวิธีหนึ่งสำหรับการให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า แบบให้ก่อนสัมผัสโรคในประเทศที่กำลังพัฒนาen
dc.description.abstractalternativeThe three-dose pre-exposure rabies vaccination (on days 0, 7 and 28) is recommended primarily for adults at professional risk of contracting the disease. In developing countries, which are endemic area of rabies, the residents especially children are at high risk of rabies through animal bites. Although pre-exposure vaccination has some benefits, it is limited by the high cost of the vaccines. The creation of new vaccine combinations may prove an economically acceptable mean by which to facilitate the acceptability of pre-exposure prophylaxis in developing countries. The purpose of this study is to determine the rabies neutralizing antibody reponse of combined aluminium-adjuvanted tetanus and cell-culture rabies vaccine for two-dose pre-exposure rabies vaccination (only the first dose of vaccine was the combined vaccine). Twenty-seven veterinarian students received two doses of 0.5 ml purified vero rabies vaccine (PVRV) intramuscularly into the deltoid on day 0 and 28 with dissolving the first dose of PVRVin aluminium hydroxide-adsorbed tetanus toxoid. Rabies neutralizing antibody (Nab) titers were determined by the rapid fluorescent focus inhibition test on day 0, 28 and 42. All students developed protective antibody concentration (Nab>0.5 IU/ml) against rabies on day 28 and 42. The geometric mean (GMT) of Nab titers on day 42 (17.49 IU/ml) were statistically significantly higher than protective antibody concentration (p<0.05). No serious adverse effects or systemic reactions were reported. In conclusion, a two-dose regimen of PVRV intramuscularly on day 0 and 28 with aluminium hydroxide-adsorbed tetanus toxoid as the solvent for the first dose of vaccine is a safe and economical method for pre-exposure rabies vaccination in developing countries.en
dc.format.extent5128928 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโรคกลัวน้ำ -- การฉีดวัคซีนen
dc.subjectแอนติบอดีย์en
dc.titleการตอบสนองของแอนติบอดีป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ต่อการฉีดวัคซีนผสมระหว่างวัคซีนป้องกันบาดทะยักที่มีอลูมิเนียมและวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าชนิดเซลล์เพาะเลี้ยงในการให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบให้ก่อนสัมผัสโรคen
dc.title.alternativeRabies neutralizing antibody response of combined aluminium-adjuvanted tetanus and cell-culture rabies vaccine for pre-exposure rabies vaccinationen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wisute.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.