Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3946
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรมณี สงวนดีกุล-
dc.contributor.authorเลิศเกียรติ พูลผล, 2515--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-08-30T10:12:27Z-
dc.date.available2007-08-30T10:12:27Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743342052-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3946-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพของวัตถุดิบ การเตรียมวัตถุดิบ และกระบวนการผลิตหอยแมลงภู่แช่เยือกแข็ง ในขั้นตอนแรกศึกษาคุณภาพของวัตถุดิบเริ่มต้น พบว่าหอยแมลงภู่มีองค์ประกอบทางเคมีเป็นความชื้น 81.88% โปรตีน 9.82% ไขมัน 1.17% เถ้า 2.25% และมีโลหะหนักประเภทตะกั่ว แคดเมียมในปริมาณต่ำ และตรวจพบปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดในเนื้อหอยแมลงภู่สด เท่ากับ 2.1x10x10x10 cfu/g โดยพบ Faecal coliforms เท่ากับ 43 MPN/g Escherichia coli เท่ากับ 15.7 MPN/g ขั้นตอนต่อมาศึกษาหาวิธีการ และเวลาที่เหมาะสมในการลวกหอยแมลงภู่ แปรวิธีการลวกเป็น 2 วิธี คือ ลวกด้วยน้ำเดือด และไอน้ำ และแปรเวลาในการลวกเป็น 2, 4, 6, 8 และ 10 นาที พบว่าเวลาในการลวกที่ 4 นาที เป็นระยะเวลาที่เหมาะสมในการแยก เนื้อหอยแมลงภู่ออกจากเปลือก และสามารถทำลายเชื้อ Faecal coliforms ได้หมด จากนั้นศึกษาหาอุณหภูมิที่เหมาะสมในการแช่เยือกแข็งด้วยไอไนโตรเจนเหลว โดยแปรอุณหภูมิในการแช่เยือกแข็งเป็น 4ระดับคือ -70, -80, -90 และ -100 ํC พบว่าใช้เวลาในการแช่เยือกแข็งจนอุณหภูมิกึ่งกลางผลิตภัณฑ์เท่ากับ -18 ํC คือ 4 นาที, 2 นาที 30 วินาที, 2 นาที และ 1 นาที 30 วินาที ตามลำดับ โดยหอยแมลงภู่ที่ผ่านการแช่เยือกแข็งที่อุณหภูมิ -80 ํC ได้รับคะแนนทดสอบทางประสาทสัมผัสสูงสุด จากนั้นศึกษาหาความเข้มข้น และเวลาที่เหมาะสมในการแช่สารละลาย Sodium Tripolyphosphate (STP) หอยแมลงภู่ โดยแปรความเข้มข้นของ STP เป็น 3 ระดับ คือ 5, 6 และ 7% และแปรเวลาในการแช่เป็น 3 ระดับคือ 30, 60 และ 90 วินาที พบว่าที่ความเข้มช้น 7% เวลาที่ใช้ในการแช่ 60 วินาทีให้ค่า %weight gain สูง และให้ค่า %thawing loss ต่ำ รวมทั้งได้รับคะแนนทดสอบทางประสาทสัมผัสไม่แตกต่างจากการแช่ที่ 90 วินาที ขั้นตอนต่อมาศึกษาวิธีการแช่เยือกแข็ง ร่วมกับวิธีการละลายน้ำแข็ง พบว่า วิธีการแช่เยือกแข็งแบบ Air Blast และ Cryogenic ร่วมกับ การละลายน้ำแข็งที่อุณหภูมิตู้เย็น และละลายในน้ำที่อุณหภูมิห้องไม่มีผลต่อ %Thawing loss และค่า Cutting force แต่พบว่าวิธีการแช่เยือกแข็ง มีผลต่อ %Freezing loss โดยการแช่เยือกแข็งแบบ Air Blast จะให้ค่า %Freezing loss สูงกว่า จากนั้นศึกษาวิธีการแช่เยือกแข็ง ร่วมกับ ระยะเวลาในการเก็บรักษา พบว่าระยะเวลาในการเก็บรักษาที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่า %Thawing loss และปริมาณ TBA เพิ่มขึ้น ส่วนการแช่หอยแมลงภู่ในสารละลาย STP และการเคลือบด้วยน้ำหลังการแช่เยือกแข็ง สามารถลด %Thawing loss และปริมาณ TBA ที่เกิดขึ้นในระหว่างการเก็บรักษาได้ และพบว่าวิธีการแช่เยือกแข็งแบบ Cryogenic ตัวอย่าง จะมีปริมาณ TBA และ ค่า %Thawing loss ต่ำกว่าวิธีการแช่เยือกแข็งแบบ Air Blasten
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research was to develop the production of frozen green-lipped mussel (Perna viridis Lin.) by air blast and cryogenic freezing. Proximate composition of raw mussel was 81.88% moisture content, 9.82% protein, 1.17% fat, 2.25% ash and very low level of heavy metal. Total viable count, faecal coliforms and Escherichia coli were 2.1x10x10x10 cfu/g, 43 MPN/g and 15.7 MPN/g respectively. Blanching with either hot water or steam for 4 minutes was the suitable condition for completely destroy faecal coliforms and separate the meat from the mantle. The cryogenic freezing with liquid nitrogen was done at -70, -80, -90 and -100 ํC. Time to decrease the core temperature of the mussel to -18 ํC was 4 min, 2 min 30 sec, 2 min and 1 min 30 sec respectively. Freezing at -80 ํC was selected for further study because of least freezing loss, drip loss and high score in sensory evaluation. Concentration (5, 6, 7%) and dipping time in sodium tripolyphosphate (STP) was studied. It was found that 7% STP and dipping time of 60 sec gave the highest % weight gain and lowest % weight loss. Combination of freezing and thawing method were studied. The results revealed that freezing and thawing method had no effect on thawing loss and cutting core but % freezing loss depended on freezing method i.e. air blast gave higher % freezing loss. The shelf life storage of air blast and cryogenic freezing products were studied. It was found that % thawing loss and TBA. value increased as storage time increased while mussels which were treated with STP and glazing had less % thawing loss and TBA value. The cryogenic products and less TBA and % thawing loss than the air blast products.en
dc.format.extent7944340 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectหอยแมลงภู่en
dc.subjectการแช่แข็งen
dc.subjectโซเดียมไตรโพลิฟอสเฟตen
dc.titleการผลิตหอยแมลงภู่ (Perna viridis Lin.) แช่เยือกแข็งแบบลมเย็น และแบบไครโอจินิคen
dc.title.alternativeProduction of frozen green-lipped mussel (Perna viridis Lin.) by air blast and cryogenic freezingen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีทางอาหารen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorromanee@sc.chula.ac.th, Romanee.S@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
lertkiat.pdf5.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.