Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39530
Title: บทบาทของความเชื่อประสิทธิภาพรวมกลุ่ม และในตนที่เป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับความผูกพันต่อองค์การของครู:การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ
Other Titles: The roles of collective and self-efficacy as mediating variables between transformational leadership and organizational commitment of teachers: an analysis of multi – level structural equation model
Authors: เสาวรส ยิ่งวรรณะ
Advisors: อวยพร เรืองตระกูล
สุวิมล ว่องวาณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Auyporn.Ru@Chula.ac.th
Suwimon.W@Chula.ac.th
Subjects: ครู -- ความพอใจในการทำงาน
ความสามารถในตนเอง
ความผูกพันต่อองค์การ
Teachers -- Job satisfaction
Self-efficacy
Organizational commitment
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับความผูกพันต่อองค์การของครูที่มีการวัดตัวแปรความเชื่อประสิทธิภาพรวมกลุ่มแบบอิงตน(2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับความผูกพันต่อองค์การของครูที่มีการวัดตัวแปรความเชื่อประสิทธิภาพรวมกลุ่มแบบอิงกลุ่ม(3) เพื่อเปรียบเทียบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับความผูกพันต่อองค์การของครูระหว่างโมเดลที่มีการวัดตัวแปรความเชื่อประสิทธิภาพรวมกลุ่มแบบอิงตนและโมเดลที่มีการวัดตัวแปรความเชื่อประสิทธิภาพรวมกลุ่มแบบอิงกลุ่ม (4) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของตัวแปรระดับบุคคลและระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ในโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับความผูกพันต่อองค์การของครูและ (5) เพื่อศึกษาบทบาทการส่งผ่านของตัวแปรความเชื่อประสิทธิภาพในตน และตัวแปรความเชื่อประสิทธิภาพรวมกลุ่มในโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับความผูกพันต่อองค์การของครูตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ประกอบด้วยครูจำนวน 1,481 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้จำนวน 180 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่จำนวน 45โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างและการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS, LISREL, Mplusตามลำดับ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับความผูกพันต่อองค์การของครูที่มีการวัดตัวแปรความเชื่อประสิทธิภาพรวมกลุ่มแบบอิงตนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์(X²=118.054 ,df=95, p=0.055, CFI = 0.997, TLI = 0.996, RMSEA = 0.013, SRMRw= 0.011, SRMRB = 0.086) (2) โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับความผูกพันต่อองค์การของครูที่มีการวัดตัวแปรความเชื่อประสิทธิภาพรวมกลุ่มแบบอิงกลุ่มมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X²=125.416 ,df=103, p=0.066, CFI = 0.997, TLI = 0.996, RMSEA = 0.012, SRMRw= 0.004, SRMRB = 0.139) (3) โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับความผูกพันต่อองค์การของครูที่มีการวัดตัวแปรความเชื่อประสิทธิภาพรวมกลุ่มแบบอิงกลุ่มมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มากกว่าโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับความผูกพันต่อองค์การของครูที่มีการวัดตัวแปรความเชื่อประสิทธิภาพรวมกลุ่มแบบอิงตน โดยปัจจัยระดับบุคคลอธิบายความผูกพันต่อองค์การได้ร้อยละ 79.9 และปัจจัยระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้อธิบายความผูกพันต่อองค์การของครูได้ร้อยละ 95.1 (4) อิทธิพลของตัวแปรทำนายในโมเดลการวิจัยระดับบุคคล พบว่า ความพึงพอใจในงานมีอิทธิพลรวมสูงสุดเท่ากับ 0.787 เป็นอิทธิพลที่เกิดจากอิทธิพลทางตรงเท่านั้น และอิทธิพลของตัวแปรทำนายในโมเดลการวิจัยระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า ความเชื่อประสิทธิภาพรวมกลุ่มมีอิทธิพลรวมสูงสุดเท่ากับ 0.759 เป็นอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.626 และมีขนาดอิทธิพลทางอ้อมผ่านความพึงพอใจในงานเท่ากับ 0.133 และ (5)ตัวแปรความเชื่อประสิทธิภาพรวมกลุ่มเป็นตัวแปรส่งผ่านและมีบทบาทการส่งผ่านแบบสมบูรณ์ระหว่างจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงไปยังความผูกพันต่อองค์การของครูแต่ไม่พบบทบาทการส่งผ่านของตัวแปรความเชื่อประสิทธิภาพในตนระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับความผูกพันต่อองค์การของครู
Other Abstract: The purposes of the research were 1) to develop and validate a multilevel structural equation model of organizational commitment of teachers with a self-referential measure of collective teacher efficacy, 2) to develop and validate a multilevel structural equation model of organizational commitment of teachers with a group-referential measure of collective teacher efficacy, 3) to compare models of organizational commitment of teachers between a self-referential measure of collective teacher efficacy and a group-referential measure of collective teacher efficacy, 4) to estimate direct effect and indirect effect of variables at individual and subject areas level in a multilevel structural equation model of organizational commitment of teachers and 5) to analyze the mediating roles of teacher self-efficacy and collective teacher efficacy in a multilevel structural equation model of organizational commitment of teachers. Sample consisted of 1,481 secondary teachers and 180 head teachers in 45 secondary schools. The data analysis employed descriptive statistics, an analysis of variance, construct validity, and multilevel structural equation modeling (MSEM)by SPSS, LISREL, and Mplus, respectively. The findings revealed that: 1) The multilevel structural equation model of organizational commitment of teachers with a self-referential measure of collective teacher efficacy fitted the data well (X² =118.054, df=95, p=0.055, CFI = 0.997, TLI = 0.996, RMSEA = 0.013, SRMRw= 0.011, SRMRB = 0.086). 2) The multilevel structural equation model of organizational commitment of teachers with a group-referential measure of collective teacher efficacy fitted the data well (X² =125.416, df=103, p=0.066, CFI = 0.997, TLI = 0.996, RMSEA = 0.012, SRMRw= 0.004, SRMRB = 0.139). 3) The multilevel structural equation model of organizational commitment of teachers with a group-referential measure of collective teacher efficacy fitted model-data better than the multilevel structural equation model of organizational commitment of teachers with a self-referential measure of collective teacher efficacy. The percentages of the variance explained by indidual and subject areas level variables were 79.9 and 95.1 respectively. 4) At the individual level, job satisfactionhad the highest direct effect (.787) on organizational commitment of teachers, while at the subject areas level, the collective teacher efficacy had the highest total effect (.759) on organizational commitment of teachers, on composing of .626 direct effect and .133 indirect effect via job satisfaction. And 5) the collective teacher efficacy was a full mediator between transformational leadership and organizational commitment of teachers. Whereas the mediating role of the teacher self-efficacy was not found between transformational leadership and organizational commitment of teachers.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39530
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1184
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1184
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
saowaros_yi.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.