Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39747
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวราพรรณ ด่านอุตรา-
dc.contributor.authorพรพิมล กองทิพย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2014-02-25T14:30:18Z-
dc.date.available2014-02-25T14:30:18Z-
dc.date.issued2525-
dc.identifier.isbn9745606731-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39747-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en_US
dc.description.abstractรายงานนี้เสนอผลการศึกษาการวิเคราะห์มอร์ฟีนและอนุพันธ์มอร์ฟีนในน้ำนม เมล็ดฝิ่นและข้าวสาร ด้วยวิธีราดิโออิมมิวโนแอสเสย์และวิธีแกสโครมาโตกราฟฟี การวิเคราะห์อนุพันธุ์มอร์ฟีนในน้ำนม ศึกษาเฉพาะวิธีราดิโออิมมิวโนแอสเสย์ โดยใช้คลอโรฟอร์มสกัดน้ำนมที่ pH ประมาณ 9 แล้วกำจัดสารเจือปนโดยใช้คอลัมน์เซฟาเดกซ์ LH-20 โดยใช้สารละลายผสมของคลอโรฟอร์ม นอร์มอลเอพเทน เมทิลแอลกอฮอล์ น้ำ ในอัตราส่วน 500:500:75:3 โดยปริมาตรเป็นตัวซะ และนำไปปริมาณ โดยใช้น้ำยาสำเร็จรูปจากบริษัท Roche Diagnostics ซึ่งตัดทอนปริมาณแอนติบดีและสารติดฉลาดเป็น ¼ ของปริมาณที่บริษัทแนะนำ แอนติบอดีที่ใช้มีความจำเพาะอยู่ในระดับสูง และให้ปฏิกิริยาข้ามชนิดสูงสุดกับโคเคอีน การวิเคราะห์นี้มีความไว 60 พิโครกรัมต่อหลอดทดลอง หรือ 300 พิโครกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตรของน้ำนม สัมประสิทธิ์ความแปรปรวนทั้งภายในการทดลองเดียวกัน และระหว่างการทดลองมีค่าน้อยกว่า 8% ในขณะที่ความถูกต้องของการวิเคราะห์มอร์ฟีนมาตรฐาน 10-25 นาโนกรัม ที่เติมลงในน้ำนมีค่ามากกว่าร้อยละ 95 ผลการวิเคราะห์อนุพันธ์มอร์ฟีนในน้ำนมสตรีชาวไทยภูเขาที่ติดฝิ่น 4 ราย และสตรีติดเฮโรอีน 1 ราย พบว่าความเข้มข้นของอนุพันธ์มอร์ฟีนในน้ำนมสตรีที่ติดฝิ่นมีค่าระหว่าง 0-250 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ส่วนความเข้มข้นของอนุพันธ์มอร์ฟีนในน้ำนมสตรีติดเฮโรอีน มีค่าสูงต่ำสลับกันระหว่างการรักษา กล่าวคือมีพิสัยอยู่ระหว่าง 6-900 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ความเข้มข้นในปัสสาวะแปรตามกันกับความเข้มข้นในน้ำนม แต่มีค่าพิสัยอยู่ระหว่าง 1,100-263,000 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร เมื่อวิเคราะห์มอร์ฟีนและอนุพันธ์มอร์ฟีนในเมล็ดฝิ่นและข้าวสารโดยวิธีแกสโครมาโตกราฟฟีและวิธีราดิโออิมมิวโนแอสเสย์ พบว่า เมื่อใช้วิธีแกสโครมาโตกราฟฟี คอลัมน์ที่บรรจุด้วย 3% ES-30 บน Gas Chrom Z (100-120 mesh) ขนาด 2 มม. x 2ม. แยกอนุพันธ์ 2 ชนิด ของมอร์ฟีน และโคเคอีนที่ได้จากอะเซทิลเลชั่นด้วยอะซิติกแอนไฮไดรด์ และซิลิเลชั่นด้วย N,O บิส (ไตรเมทิลซิลิล) อะเซตาไมค์ ได้อย่างสมบูรณ์ที่อุณหภูมิ 210-220 องศาเซลเซียส การวิเคราะห์ด้วยคอลัมน์ที่บรรจุด้วย 5% OV-101 บน Chromosorp GHP (100-120 mesh) ขนาด 2 มม. x 0.5 ม. ที่อุณหภูมิ 200-210 องศาเซลเซียส ให้ผลไม่แตกต่างกัน เมื่อสกัดมอร์ฟีนและอนุพันธ์จากเมล็ดฝิ่นและข้าวสารด้วยน้ำและคลอโรฟอร์ม และทำให้บริสุทธิ์ขึ้นโดยวิธีทินเลเยอร์โครมาโตกราฟฟี โดยใช้ซิลิกาเจล GF254 และใช้สารละลายผสมของ เบนซีนไดออกเซน เอทิลแอลกอฮอล์ แอมโมเนีย ในอัตราส่วน 50:40:5:5 โดยปริมาตร หรือวิธี back extraction โดยสกัดด้วยกรดเกลือ 0.1 โมลต่อลิตร แล้วสกัดอีกครั้งหนึ่งด้วยคลอโรฟอร์มแล้วเตรียมอนุพันธ์ และวิเคราะห์ด้วยวิธีแกสโครมาโตกราฟฟี ใช้ดีเทคเตอร์ 2 ชนิด คือ Flame Ionization Detector และ Thermionic Specific Detector ปรากฏว่าวิธีทิเนเลเยอร์โครมาโตกราฟฟีกำจัดสิ่งเจือปนได้ดีกว่าวิธี back extraction เมื่อวิเคราะห์เมล็ดฝิ่น 4 ตัวอย่าง พบว่าเมล็ดฝิ่นมีโคเคอีนมากกว่ามอร์ฟีน และในเมล็ดฝิ่น 1 กรัม มีมอร์ฟีนรวมกับโคเคอีน มากกว่า 1,200 นาโนกรัม ส่วนวิธีราดิโออิมมิวโนแอสเสย์ พบอนุพันธ์มอร์ฟีนระหว่าง 2,000-6,200 นาโนกร้มต่อเมล็ดฝิ่น 1 กรัม ผลการวิเคราะห์ข้าวสารปกติและข้าวสารจากชาวเขา 4 ตัวอย่าง ด้วยวิธีแกสโครมาโตกราฟฟีไม่พบมอร์ฟีนและโคเคอีน ส่วนวิธีราดิโออิมมิวโนแอสเสย์ พบอนุพันธ์มอร์ฟีนเพียงเล็กน้อยประมาณ 0.4-2.5 นาโนกรัมต่อข้าวสาร 1 กรัม-
dc.description.abstractalternativeThis thesis described the determination of morphine like substances in human milk, substances in human milk, poppy seed and rice by radioimmunoassay (RIA) and gas chromatography (GC). The first technique was implemented for human milk using chloroform extracts which was purified by sephadex LH-20 column with a mixture of chloroform : n-heptane : methyl alcohol : H2O 500:500:75:3 √/√ as the eluate. The purified dried extract was assayed for morphine like substances with a modified protocol of Abruscreen from ROCHE DIAGNOSTICS. The quantity of both the antibody and the radioligand were decreased to one fourth of the recommended quantities. Among the various drugs tested, only codeine was found to have cross reaction with the antibody used and the method gave a sensitivity of 60 pg/tube or 300 gp/cm3. The coefficient of variation for both within and between assays were less than 8% whereas the percentage recover of 10-20 ng/cm3 of standard morphine hydro chloride added into human milk was higher than 95% Study in 4 hill tribe opium addicted women showed that the concentration of morphine like substances in their milk ranged from 0-250 ng/cm3. Fluctuating values, 6-900 ng/cm3, were found in one heroin addicted woman during treatment period with methadone. Urine specimen from the latter case gave similar pattern with a range from 1,100-263,000 ng/cm3. Poppy seed and rice were investigated by both GC and RIA. With the former technique, two types of detectors, Flame Ionization Detector and Thermionic Specific Detector were exercises for the separation of morphine and codeine after derivative formation by acetic anhydride and N,O-bis (trimethylsilyl) acetamide. The derivatives of morphine and codeine were completely separated on either 2 mm. x 2 m. of 3% SE-30 on gas chrom Z at 210-220℃ or 2 mm. x 0.5 m. of 5% OV-101 on chromosorp GHP at 200-210℃ Purification of chloroform extracts of poppy seed and rice prior to the derivative formation for gas chromatographic analysis showed that thin-layer chromatography using GF254 and a mixture of benzene: Dioxane:ethylalcohol: ammonia 50:40:5:5 was more effective than the back-extraction method with 0.1 mol/l hydrochloric acid. Poppy seed from four different sources were investigated for morphine and codeine. Over 1,200 ng of the compounds were detected in one gram of all the specimen studied and codeine was present in higher concentration. Determination with RIA gave a range of 2,000-6,200 ng in one gram of the seeds. No detectable amount of morphine or codeine was found with GC in either 4 samples of rice obtained from hill tribe villages or in one sample of low land land rice whereas 0.4-2.5 ng/g were detected with RIA.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleเทคนิคการวิเคราะห์สารประเภทฝิ่นในสารตัวอย่างจากร่างกาย และผลิตภัณฑ์จากพืชen_US
dc.title.alternativeTechniques for assesment of opiates in body fluid and plant productsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineชีวเคมีen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornpimol_ko_front.pdf3.3 MBAdobe PDFView/Open
Pornpimol_ko_ch1.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open
Pornpimol_ko_ch2.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Pornpimol_ko_ch3.pdf4.94 MBAdobe PDFView/Open
Pornpimol_ko_ch4.pdf6.89 MBAdobe PDFView/Open
Pornpimol_ko_ch5.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open
Pornpimol_ko_back.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.